สนับสนุนโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม Supported by Office of Contemporary Art And Culture ,Ministry Of Culture

หน้าแรก
ข่าว
วิจารณ์
สัมภาษณ์
บทความพิเศษ
รายงานหนังไทยในเทศกาลหนังต่างๆ
รายชื่อหนังสือและบทความเกี่ยวกับหนังไทย
รายชื่อ ที่อยู่ หน่วยงาน
 
รายชื่อหนังเก่า
 
 
 
 

   
คนไททิ้งแผ่นดิน
 

LINK : เรื่องย่อและโปสเตอร์

   
 

 

อยากให้“พี่ต๊ะ” เล่าให้ถึงเหตุผลที่หยิบบทประพันธ์เรื่องนี้มาสร้างเป็นภาพยนตร์หน่อย
“ผมได้อ่านบทประพันธ์ของคุณสัญญา ผลประสิทธิ มาหลายปีแล้ว และทางกันตนาก็เลือกมาเพราะแนวคิดของหนังสือเล่มนี้เป็นแนวคิดที่ต้องการให้คนไทยรักและสามัคคีกัน แล้วก็ต่อสู้เพื่อหวงแหนดินแดนที่เป็นประเทศของเรา ซึ่งสมัยก่อนที่เริ่มก่อร่างสร้างประเทศไทย ณ ปัจจุบันขึ้นมา ตอนนั้นคนยังไม่มีประเทศของตัวเอง ซึ่งก็ถูกดูถูกว่าชนชาติไทเป็นคนเถื่อน เป็นคนที่ไม่มีชาติ และก็ขับไล่  ตั้งแต่สมัยมองโกล มาทางฮั่น ซึ่งตรงนั้นเป็นการปกครองเดิมผู้ที่มีอำนาจ ซึ่งเป็นประเทศจีนดูแล

พออ่านแล้วรู้สึกว่าถ้าหยิบภาพยนตร์เรื่องนี้ขึ้นมาก็จะได้ทำให้คนไทยในยุคปัจจุบัน ยังได้รู้สึกถึงความยาก ลำบาก กว่าที่คนไทยจะรวมเป็นปึกแผ่นเป็นชาติได้นั้นยากเย็นแค่ไหน และถ้าหากไม่หวงแหนชาติตัวเอง เหมือนเฉกเช่นปัจจุบันนี้ คนในชาติและสภาพความเป็นอยู่จะเป็นเช่นไร

จึงทำให้ย้อนกลับไปในสมัยอดีตว่าหากแต่ก่อนไม่ขาดความสามัคคีแบบในเรื่องนี้ ก็จะเป็นมหาอำนาจเมืองหนึ่ง ได้ไม่ยากเย็นเหมือนเมื่อ 200-300 ปีที่แล้ว เพราะฉะนั้นตรงนี้เป็นสิ่งที่กันตนาอยากให้คนไทยได้ระลึกถึงแผ่นดินที่เคยอยู่สมัยก่อนเป็นมหาอำนาจ

“พี่ต๊ะ” มองว่าภาพยนตร์เรื่องนี้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันพอดี
“ตอนนั้นกับตอนนี้เหมือนมีความรู้สึกว่า เอ๊ะ...ถ้าเมื่อก่อนประเทศโดนแบบนั้น คนที่ใหญ่กว่าจะแก้ไขสถานการณ์อย่างไร แล้วคนในประเทศยังแตกขาดความสามัคคีกันเองอีก คนไทยจะไปอยู่ที่ไหนล่ะ เพราะตอนนี้ใครๆ ก็มองว่า ไทยก็อยู่ปลายสุดแหลมทองแล้ว จะผลัดถิ่นฐานลงไปอีกก็ตกน้ำหมดแล้ว มันไม่มีทางจะไปไหนได้อีกแล้ว ฉะนั้นทีมผู้สร้างเลยมีความรู้สึก หากภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกสร้างขึ้นแล้วให้คนไทยได้เห็นในหลายๆ อย่าง อะไรบ้างที่ทำให้คนไทในอดีตต้องแตกความสามัคคีทั้งมีโลภเรื่องยศถาบรรดาศักดิ์ มักมากในเงินทอง หรือต้องการมีความสุขเห็นแก่ส่วนตัว จะมันทำให้คนกลุ่มใหญ่ไม่มีบ้านเรือนจะอาศัยอยู่ ไม่มีที่ทำกินฉะนั้นเลยเลือกมาว่า หากสร้างภาพยนตร์เพื่อแผ่นดินสักครั้งหนึ่งแล้วก็ระดมทีมงานกัน เสร็จแล้วก็วิเคราะห์ต่อไปอีกว่า จะมีหนังสือหรือพงศาวดารไหนมั้ยที่จะนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ดีๆ สักเรื่อง

พอทีมงานไปค้นคว้ามาเจอว่าหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่คว้ารางวัลจากมูลนิธิ John F.kenedy ประเทศไทยเมื่อปี 1916 ซึ่งเป็นอีกงานเขียนที่ถูกการันตีว่ามันเป็นเรื่องที่ดี แต่ปัญหาคือว่า เมื่ออ่านหนังสือจบแล้ว ถ้าหากสร้างอาจจะต้องสร้างเป็นไตรภาคเลย เพราะมีเรื่องราวที่น่าสนใจที่น่านำมาเสนอและยาวมาก ตัวหนังสือเล่าตั้งแต่การโยกถิ่นฐานมาจากสมัยมองโกล คนไทถูกตีหน้าว่าเป็นคนเถื่อน แล้วพอต้องการต้องการอิสรภาพ ต้องการเสรี ก็หาว่าเราไม่สู้ กระด้างกระเดื่อง ถูกตามรังแก จนเกือบสูญเผ่าพันธุ์ในสมัยนั้น ตรงนี้ถ้าตีแผ่เรื่องราวเหล่านี้มาในรูปแบบภาพยนตร์ ถ้าคนไทยไม่ต้องการที่จะเจอปัญหาแบบนี้อีก เป็นบทเรียนครั้งสำคัญที่ประวัติศาสตร์ต้องบันทึกไว้แน่นอน ก็จะไม่เสียชาติ ตรงนี้ก็เป็นสิ่งที่ตั้งใจอยากนำเสนอมากๆ “

ย้อนถามนิดหนึ่งพอได้อ่านหนังสือและนำมาสร้างเป็นบทภาพยนตร์ แก่นของเรื่องที่อยากนำเสนอล่ะ
“แก่นของเรื่องในหนังสือเล่มนี้คือ ผู้เขียนต้องการบอกว่า อย่าแตกคอกัน ความสามัคคีเท่านั้นที่จะทำให้บ้านเมืองอยู่รอดปลอดภัย ซึ่งคนไทยในปัจจุบันจะมีอยู่สิ่งหนึ่งที่คิดถึงคือ เมื่อภายในบ้านเมืองสงบก็จะหาเรื่องกันเอง และพอมีเรื่องกับคนรอบนอก จะจับมือกันรบและไล่คนอื่นไป เช่นกัน หาก 1 แคว้นที่แตกแยกก็อาจกลับมาทำลายคนในแคว้นเดียวกันอีก ถ้าเป็นเช่นนั้นก็จะสูญเสียชาติ ศาสนา และความเป็นอิสระ ฉะนั้นแก่นมันคือ ผู้เขียนอยากให้คนไทยรู้จักสามัคคีให้มากขึ้น ไม่งั้นประวัติศาสตร์ที่เคยสูญเสียคงจะลับมาในอีกไม่ช้าแน่นอน”

การพัฒนาโครงเรื่องเริ่มต้นอย่างไร
“ตอนที่หยิบหนังสือมาอ่านก็วิเคราะห์จากเรื่องราวจริงๆ แล้วแตกประเด็นที่อยากจะเล่า เพราะแต่ละประเด็นมีเยอะมาก เพราะเนื้อหาเริ่มเล่าตั้งแต่ยังไม่มีประเทศไทย ยังโดนตราหน้าว่าเป็นคนเถื่อนอยู่เลย  ฉะนั้นสิ่งที่เป็นปัญหากับคนคิดมากสุด ตอนแรกว่าจะสร้างเป็นไตรภาคดีมั้ย จะยาวเกินไปหรือเปล่า และงบประมาณสูงไปมั้ย ฉะนั้นเลยวิเคราะห์ว่าน่าจะแค่ที่ไตรภาคสุดท้าย ไตรภาคที่หนีไม่ได้ และไตรภาคที่ต้องสู้สุดใจ  ที่จะต้องสร้างแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นให้เป็นไทยให้ได้ ตอนนั้นก็เลยใช้วิธีเล่าเรื่องตอนต้น เริ่มเล่าจากที่ว่าเป็นใครมาจากไหน ทำไมถึงได้มาอยู่ที่นี่ แล้วทำไมถึงโดนรังแก แล้วก็สรุปเป็นเรื่องเดียวจบ”

เมื่อเหตุการณ์เกิด 1,000 กว่าปีแล้วนี่ “พี่ต๊ะ” ใช้วางแผนอย่างไรบ้าง เพื่อตีความสู่จอเงิน“ต้องค้นคว้าเยอะมาก  เลยต้องตั้งทีมขึ้นมาสำหรับค้นคว้า  เชิญอาจารย์ที่ชำนาญทางมาช่วย และการไปดูจุดที่มันเกิดเหตุ พร้อมวิเคราะห์จุดตรงนี้อยู่ตรงไหน หลายจุดมากแถมยังต้องบินไปดูวัฒนธรรมช่วงปลายของฮานด้วย  แล้วก็ไปศึกษาหาข้อมูลประเทศเพื่อนบ้าน ไปดูว่าในช่วงนั้นเป็นอย่างไร และก็ศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่หอสมุดแต่ละประเทศ แล้วนำมาวิเคราะห์นำประวัติศาสตร์หลาย จุดมาหาข้อสรุปและพัฒนาบทจนเป็นภาพยนตร์ที่ได้ชมกัน”

การเตรียมงานด้านทีมโปรดักชั่นสักหน่อย
“ในส่วนนั้นผมใช้เวลาประมาณ 1 ปี เริ่มตั้งแต่ค้นหาหลักฐานที่ส่วนมากก็จะหลงเหลือป็นแค่รูปภาพที่อ้างอิงจากพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ก็ไปดูหลายพิพิธภัณฑ์ หลายที่มาแล้วก็ให้ทีมงานวิเคราะห์หาข้อสรุป”

พอสำรวจโลเกชั่นแล้วสุดท้ายเลือกที่ไหน
“ตอนแรกคิดไว้แห่งมากทั้งประเทศเพื่อนบ้านใกล้ๆ กันเพื่อให้ได้กลิ่นไอของการต่อสู้ตามเนื้อหามากที่สุด และสุดท้ายสรุปในความลงตัวเรื่องของความพร้อมและอุปกรณ์ที่จะขนย้าย และคิวนักแสดงช่วงนั้นที่แต่ละคนแน่นมากๆ และพอมาประชุมกันแล้ว ถ้าทุ่นเวลาการเดินทางและหลายๆ ปัจจัยเลยมาลงตัวที่ Movie Town

ซึ่งจากมีการคุยกันหลายๆ ฝ่ายหากสร้างขึ้นเองทั้งหมดก็เหมือนเนรมิตได้ ต้องการฉากแบบไหน สถานที่แนวใดก็ทำได้ เลยระดมพลฝ่ายศิลปกรรม เริ่มปลูกสร้างกันขึ้นมา ผสมผสานกับเทคโนโลยี ทุกอย่างจะง่ายกว่าที่ทำงานต่างบ้านต่างเมือง  เมื่อเราเอาคน 100 คน มาบวกกับคนอีก 300-400 คนเป็นความโกลาหลมโหฬาร เป็นความหนักใจของทีมงานมากๆ เพราะต้องให้เข้ากับฉาก การแต่งตัว บลูสกรีนหรือเรื่องอาหาทุกอย่างมันจะโกลาหลไปหมด พอเลือกโรงถ่ายที่มีอยู่แล้วไม่ผิดหวังจริงๆ เพราะทุกสิ่งใดที่ต้องการที่นี่สะดวกที่สุด และก็ง่ายที่สุด จากนั้นการตัดสินใจขั้นตอนสุดท้ายว่าคุยกับช่างภาพ อาร์ตไดเร็กเตอร์ ว่าที่เหลือคือหน้าที่ของทุกคนที่ต้องช่วยกันพยุงให้ภาพยนตร์เดินหน้าต่อไปได้”  

 “อย่างที่บอก คือ บางอย่างต้องสร้างจากที่สิ่งที่ไปค้นคว้าและปัจจุบันไม่มีอะไรหลงเหลืออยู่แล้ว ฉะนั้นถ้าจะออกไปถ่ายข้างนอก ยังไงซะก็ไม่เต็มฝันอยู่ดี ฉะนั้นสถานที่นี่เองที่จะทำให้เต็มฝัน ทั้งกำหนดพื้นที่ กำหนดแสง กำหนดฉาก ที่จะสร้างสิ่งที่เหนือจินตนาการเข้ามา ผมบอกได้เลยว่าทีมงานเก่งมากรวมคนเก่งในทุกๆ ด้านมารวมตัวกันที่นี่เพราะสามารถรองรับจินตนาการของผมได้ และในความฝันของผม เมื่อสมบูรณ์ออกมาเป็นภาพยนตร์แล้วจะมากเกินฝันผมอีก และถ้าต่อยอดให้ได้คิดว่า คนดูจะต้องอึ้งๆและสุดๆ ไปกับความคิดด้วยอาจต้องร้องอุทานว่านี่คือ ฝีมือคนไทยใช่หรือเปล่า  ในการฝันแบบนี้ด้วยงบขนาดนี้ หรือมากเทียบเท่าฮอลลีวู้ดก็ทำได้ แต่ด้วยการสร้างภาพยนตร์ในเมืองไทยถ้าจะเทียบงบกับเมืองนอกคงจะไม่ได้อยู่แล้ว ฉะนั้นด้วยงบที่มีอยู่จะบริหารงานอย่างไรให้บรรลุถึงการทำงานไปได้ด้วยดี

 

 

ในฐานะคนที่ต้องถ่ายทอดจินตนาการจากตัวหนังสือมาสู่แผ่นฟิล์ม อยากทราบถึงมุมมองหน่อย
“ความใกล้เคียงจากหนังสือประมาณ 90% เพียงแต่หน้าที่ของผมจะจินตนาเรื่องราวจากในหนังสือให้มันออกมาเป็นภาพที่ดีที่สุดสุดได้แค่ไหน ซึ่งอย่างตอนแรกที่เคยเกริ่นไว้แล้ว หากต้องทำถึงไตรภาคคงจะเล่าไม่จบหมดแน่ๆ แต่ตอนนี้หน้าที่ของผมคือ จับคนที่คาแรคเตอร์ใกล้เคียงกัน เช่น คนหนึ่งบ้าอำนาจ แทนที่จะมี 5 คนบ้าอำนาจ ก็ให้บ้าอำนาจแค่คนเดียว และก็จับทุกอย่างใส่ลงไปในคนๆ นั้น จะเรียกว่าย่อสัดส่วนก็ได้ ซึ่งถามว่ามันจะดัดแปลงจากความเป็นจริงมากมั้ยมันก็ไม่ได้มากหรอก เพียงแต่ว่าจะทำให้คนดูไม่สับสนมากขึ้นเท่านั้นเอง”

ถามถึงด้านการถ่ายทำ...ทำไมบางฉากถึงมีการถ่ายทำแบบต่อเนื่องโดยที่ไม่มีการตัดต่อ อย่างฉากต่อสู้กันระหว่างฮานกับคนไท
“พื้นฐานของผมเป็นคนที่ทำละครมาพอสมควร ฉะนั้นการทำละครให้เป็นฉากต่อเนื่อง อยากให้ได้ความรู้สึกของและอารมณ์ที่ต่อเนื่องกัน ทั้งเสียงแสงและภาพ เหล่านี้ต้องต่อเนื่องเพื่อให้ได้ภาพที่สวยเกิดขึ้น
เพราะจริงๆ นักแสดงก็เล่นต่อเนื่องอยู่แล้ว เพียงแต่เวลาแสดงภาพยนตร์มีกล้อง 1 ตัวไม่เหมือนละคร ผมเลยมองแทนนักแสดงว่า หากใช้กล้อง 1 ตัวถ่ายภาพยนร์แล้วเกิดแสดงไม่ต่อเนื่องสะดุดแล้วจะส่งผลถึงคนดูมั้ยที่ดูแล้วรู้สึกอารมณ์ติดๆ ขัดๆ ไม่พลิ้วไหวไปตามเนื้อเรื่อง เลยอยากให้ได้ภาพที่ต่อเนื่องไปเลยดีกว่า”

ด้านการงาน ก็จะมีการทำการบ้านซ้อม-เวิร์คชอป เหมือนการถ่ายละครที่ซ้อมเป็นเดือนอ่ะ ซ้อมๆๆๆ จนนักแสดงเข้าใจ เขาทำการบ้านมากี่ครั้งก็สามารถเล่นเหมือนกับที่ต้องการได้ เพราะฉะนั้นการที่ซ้อมจนหนัก จนรู้สึกว่าตอนนี้ตัวเขาคือ ตัวละครตัวนี้แล้ว มันทำให้กำหนดเรื่องเวลา แสงและมุมกล้องได้ ฉะนั้นการนำนักแสดงมาซ้อมให้ช่างภาพดู คนกำกับภาพและแสงมาซักซ้อมก็จะทำงานง่าย ฉะนั้นที่ต้องการคือ จะทำยังไงให้ฉากนี้มันพอดีในเรื่องอารมณ์ เรื่องแอ็คชั่น ให้ทุกอย่างจังหวะมันได้เหมือนกันหมด จึงต้องมีการซ้อมก่อน พอซ้อมเสร็จลองภาพด้วยการถ่ายภาพเป็นวิดีโอมาเช็ค หาข้อยุติหากพบว่าถ้าถ่ายภาพต่อเนื่อง  มันจะได้อารมณ์มากกว่าถ่ายทีละคัท แต่ในเรื่องนี้มีครบ 4 จำพวกที่ผู้กำกับไทยบอกว่าเฮี้ยนๆมากๆ ทั้ง สัตว์-เด็ก-เอฟเฟคท์-สลิงครบเซ็ท   ฉะนั้นยอมรับว่าเป็นเรื่องยากที่จะไม่ทำให้ภาพโดด

ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้เวลาถ่ายทำทั้งกว่า 4 เดือน การจัดการทุกอย่างให้ลงตัวเป็นช่วงเวลาที่จำกัดมากๆ
“เพราะทีมงานที่ดี มีประสบการณ์กันทุกคน ทำให้งานที่วางไว้ผ่านไปลุล่วง แถมการเจอปัญหามาเยอะๆ ของแต่ละคน พอมารวมตัวกันทำให้การแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามันเกิดขึ้นและแก้ไขผ่านพ้นไปได้จาก 30 ปีที่ผมอยู่ตรงนี้ นำมาช่วยให้งานผ่านไปได้ด้วยพี่เชื่ออยู่อย่างหนึ่งว่า การจัดการที่ดีก็จะทำให้งานลุล่วงไปได้ ต้องขอบคุณทีมงานที่ในที่ประชุมเราจบกันบนโต๊ะหมด คือทุกอย่างประชุมจนละเอียดยิบหมดแล้ว วันนี้จะถ่ายอะไร พรุ่งนี้จะถ่ายอะไร ตรงไหนคิวกลางวัน มีคิวกลางคืนเท่าไร  นักแสดงมาเวลากี่ชม. จะประชุมกันหนัก เตรียมงานทั้งหมดประมาณ 1 ปี

แต่ถ่ายทำจริงๆ ใช้เวลาประมาณ 4 เดือน สิ่งที่ผมได้คือได้ความร่วมมือจากทีมงาน ได้ความร่วมมือจากนักแสดง คือทุกคนมืออาชีพหมด เพราะฉะนั้นตรงนี้ เราจะต่อสู้กับอย่างเดียวคือ ธรรมชาติ ที่สร้างปัญหาให้ทำงานได้ล่าช้า แทบจะมีลุ้นทุกวันว่าวันไหนฝนจะตก ลมจะมา จะเรียกว่าธรรมชาติกำลังให้ทดสอบบทหนักกับพวกเราอยู่  ว่าจะผ่านพ้นไปได้มั้ย

กำกับยากมั้ยเมื่อบางช็อตโลเกชั่นไม่มี ต้องใช้เทคนิคพิเศษล้วนๆ
“จริงๆ ผมว่างานกำกับผมว่าไม่ค่อยยากแต่ ผมจินตนาการซะเยอะ ฉะนั้นต้องถ่ายทอดเป็นภาษาของผมให้กับทีมงานทั้งหมด แปลภาษาผมให้ได้ก่อน พอเค้าแปลภาษาผมได้ ก็จะพูดภาษาเดียวกันได้ ก็ต้องสร้างมุมมองให้ทุกคนรับภาพในหัวของผมตรงกัน แล้วก็ซ้อมโดยใช้ทีมงานเป็นตัวแสดงแทนก่อน บล็อกกิ้งจะเป็นแบบนี้นะ คนที่ทำเรื่องเกี่ยวกับฉาก  ใส่กราฟฟิคถ่ายภาพ ต้องมานั่งดูก่อน ว่าทำเสร็จเรียบร้อยแล้วถ่ายจริง กับนักแสดงจะเป็นอย่างไง และให้นักแสดงมาเล่นให้ตามที่เราเซ็ทไว้ เราเลยทำงานพร้อมกันไปหมด ทั้งการกำกับ การแสดง-แสง -ภาพ แล้วภาพพิเศษต่างๆ มันก็เลยทำให้นักแสดงรู้ถึงจินตนาการภาษาเดียวกับผม”

พอวันที่ถ่ายทำจริงๆ ทุกคนเริ่มงานได้เลย เพราะซ้อมจริงหมดแล้ว ซ้อมทั้งเรื่องนะไม่ได้เฉพาะฉาก กำหนดเวลาหมดเหมือนเล่นละครเวที แล้วก็ซ้อมจากฉากจริงสถานที่จริง  เพราะงั้นสิ่งตรงนี้ทำให้คนทำงานค่อนข้างเร็ว

รู้หน้าที่ตัวเองว่า ว่าจะเจออะไรหน้ากองถ่ายบ้าง ส่วนเวลาทำงานผมก็จะมีทีมแบ่งแยกเลยว่า กองนี้จะทำหน้าที่อะไร  หรือใครกำกับแอ็คชั่น ซีนอารมณ์หนักๆ คือ จะแยกตามความถนัดของผู้กำกับ อย่างกำกับเกี่ยวกับภาพเลิฟซีน ผมก็มีคุณบี๋-ธีรพงศ์ เหลียวรักวงษ์ พี่มาช่วยทำงานกัน คือฟิวส์แบบไหน ก็คุยกันก่อน ที่เหลือคือหน้าที่ของพี่เขาแหละ ที่ผมให้อิสระในการทำงานเต็มที่
ส่วนการกำกับเรื่องอารมณ์ เกี่ยวกับคนร้ายๆ หรือตลก ก็บอกกับคุณหมู-กลศ ว่าต้องการภาพแบบนี้ ต้องการคาแรคเตอร์แบบนี้ คุณต้องสร้างมิติแอ็คติ้งโค้ชให้ได้ในเรื่องของความร้าย ผมคุยกับคุณต้น-อธิวัฒน์ บอกว่า ผมต้องการหวาน ใสน่ารัก อารมณ์ร้องไห้ เคียดแค้น ผมก็จะคุยกับคุณต้น แล้วคุณต้นก็ไปดำเนินการต่อ ผมต้องการเรื่องที่จะทำแอ็คชั่น เรื่องบู๊เลือดสาดก็จะคุยกับคุณเป้า-ปรปักษ์ คุณเป้าก็นำจินตนาการผมไปต่อยอด ซึ่งเมื่อแต่ละคนที่เก่งกาจกันคนละด้าน พอมารวมตัวกันก็ลงล็อคแบบที่เห็น

ขอถามเรื่องนักแสดงหน่อยที่เลือกแต่ละคนมา
“ตอนแรกเมื่อฟิคเวลาแล้ว ทำตารางการถ่ายทำแล้ว พอรู้จะถ่ายแบบไหน คราวนี้นักแสดงที่ต้องตามมาคือ อันดับแรกเลย รักที่จะทำงานนี้ก่อน สนุกกับงานนี้แน่ๆ จากนั้นดูความเหมาะสมของคาแรคเตอร์  ต่อมาคิวถ้าเขาได้ในสิ่งที่ต้องการ 100% หรือ 95% เขาลอยลำมาแล้ว ที่เหลือคือ เรื่องของฝีมือ ถ้าฝีมือผ่านจากทีมเทสต์ในส่วนของผู้กำกับและแอ็คติ้งโค้ช อารมณ์ต่างๆ ก็ดีกำหนดให้เขาแล้ว สิ่งที่พวกนี้ได้ทำก็ได้ผ่านขั้นตอนตรงนี้มา เขาก็ทำงานได้ดีจริงๆ งานที่ออกมาสำเร็จ ก็ต้องชมว่าเขาตั้งใจกันจริงๆ”

ถามถึงนักแสดงคนอื่นๆ อย่าง “ติ๊-ลลิสา สนธิรอด” ฐานะเขาไม่มีประสบการณ์การแสดง แต่ได้ผ่านการเคี่ยวเข็ญให้เล่นจนสามารถเล่นซีนอารมณ์ได้ดี ก็ถือว่าพอใจสำหรับตัวเอง ตอนแรกมองคนนี้ คือ มองจากนางเอกหลายคน ที่ประกอบกับความสามารถเฉพาะด้านรอบตัว

เรื่องคิว ความตั้งใจที่จะให้เราก่อนถ่ายทำกี่เดือน แล้วก็เรื่องความสามารถพิเศษ เรื่องการสู้แอ็คชั่น สลิง สตั้นท์ เรื่องการขี่ม้า ดำน้ำ มันต้องประกอบกันหมด เสร็จแล้วก็มาคิดว่าอะไรที่เขาไม่มี ต้องเติมหรือจะเติมแต่ละคน ถ้าเติมให้คนที่ 1 60% ให้คนที่ 2 80% ให้คนที่ 3 20% คิดว่าเลือกคนที่ 3 ก่อน เพราะเติมง่ายกว่า แล้วเวลาที่เขาให้ทีมงานทุกน เต็มๆ มานั่งเรียนรู้กัน นั่งเวิร์คช๊อฟ ว่าขาดอะไรบ้างจากนั้นก็ซ้อมๆๆๆ จนโอเคได้แล้วถึงจะถ่าย

เหตุผลที่เลือกแสดงรุ่นเก่าๆ มีเหตุอะไรบ้าง
ที่ทำงานร่วมกับนักแสดงเก่าๆ เพราะว่าความคุ้นเคย ผมเคยลำบากมาด้วยกัน เคยถ่ายทำด้วยกันหลายประเทศ แทบจะทั่วเอเชีย ต้องเดินทางไปถ่ายทำมาด้วยกัน เหมือนกับมีเครื่องแปลภาษาที่เป็นภาษาเดียวกันแล้ว สำหรับคนกลุ่มเก่าๆ 100% กับใจ 100% ที่เขาทุ่มเทในการทำงานให้

 

 

ด้านการแสดงไม่ต้องห่วงเลย ทำหน้าที่ของตัวเองได้ดี ยิ่งความสามารถพิเศษที่เลือก แต่ละคนต้องแอ็คชั่น ฟันดาบ ยิงธนู ขี่ม้า ปล่อยมือขี่ม้า ตีลังกาลงจากม้า ถือว่าทำให้ภาพยนตร์ดูมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

อันดับต่อมาคือ การที่จะมาเป็นทีมงาน ตรงนี้ผมมีความรู้สึก  ผมยิงปืนนัดเดียว ผมได้นก 2 ตัว ที่ทำไมถึงนำนักแสดงมาทำงานในกองถ่ายด้วย ทั้งแสดงและแอ็คติ้งโค้ช คนรุ่นใหม่ๆ จะได้รู้ว่ากว่าจะโด่งเป็นพลุแตกจะต้องเจอะไรบ้าง กว่าที่ทุกคนจะออกมาสวยหล่อโด่งดังเนี่ย มันมีอะไรที่หนักหนาสาหัสบ้าง หลังจบเรื่องนี้ทุกคนก็จะเป็นมืออาชีพหมด ใช้ความรู้สึกของทีมงานไปบอกต่อกับนักแสดงรุ่นใหม่ที่จะเกิดขึ้นมาในอนาคตให้ได้รับรู้ว่า ทีมงานโดนอะไรมาบ้าง มันหนักหนาสาหัสอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะดันพวกคนรุ่นใหม่ให้ดังเพียงข้ามวัน ฉะนั้นอยากให้พวกกลุ่มคนรุ่นเก่าได้ บอกเล่าผ่านตัวเองสู่พวกกลุ่มคนรุ่นใหม่ว่า คุณเป็นนักแสดงนะ คุณไม่ใช่เทพ คุณไม่ใช่เทวดา

คุณไม่ใช่บุคคลที่สูงกว่าคนอื่น หรือว่ามีเกรดกว่าคนอื่น มันไม่ใช่ทุกคนเท่าเทียมกันหมด เพียงแต่ว่าโดนจับอยู่คนละสถานที่เท่านั้น ฉะนั้นตรงนี้ค่อนข้างได้ผลเยอะ แล้วนักแสดงหลักๆ ที่มาช่วยก็จะออกไปขยายในวงการได้เยอะว่า คนรุ่นใหม่ต้องเคารพคนรุ่นเก่าด้วย แล้วคนรุ่นใหม่ต้องมองคนรุ่นเก่าด้วยว่า ก่อนที่เขาาจะดังเขาทำแบบกันมา”

ทำไมถึงมาร่วมงานกับพี่แอ๊ด คาราบาว
“ส่วนตัวผมศรัทธาพี่แอ๊ดอยู่แล้ว ผมได้ทำงานกับแกมาตั้งแต่กษัตริยา แล้วก็ได้ทำเพลงก้านกล้วย ทำอะไรต่ออะไรพวกมามาก ทำให้ผมมีความรู้ว่าพี่แอ๊ดเป็นศิลปินที่สามารถทำได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการร้องเพลง การแต่งเพลง แสดงภาพยนตร์หรือละคร ค่อนข้างครบเครื่อง เมื่อคุยกับเขาแล้วจะได้เห็นภาพลักษณ์ของเขา

เหมือนเป็นต้นตระกูลมองโกล เพราะฉะนั้นความรู้สึกทุกอย่างมันลงตัวเลยเลยเชิญพี่แอ๊ดมาแสดงเรื่องนี้ และเมื่อออกมาแล้ว ถ้าคนดูเห็นภาพยนตร์เรื่อง จะเห็นเลยว่าพี่แอ๊ดไม่ได้ร้องเพลงได้อย่างเดียวนะ แสดงซีนอารมณ์ก็ได้ด้วย แล้วดีด้วย ผมเชื่อว่าฉากที่พี่แอ๊ดเล่นทุกคนต้องร้องไห้ในการแสดงที่พี่เขาถ่ายทอดออกมาแน่ๆ “  

ถามถึง“พี่ต๊ะ”หน่อยที่ต้องมารับ 2 บาทบาททั้งแสดงและกำกับล่ะ
“จริงๆ ถ้าถามส่วนตัวชอบที่จะกำกับมากกว่า แล้วดูภาพรวมว่าออกมาตามจินตนาการมั้ย ในแง่การแสดงจริงๆ ผมไม่ได้ชอบหรอก ซึ่งพอออกมาแล้วถูกใจทีมงานก็คือว่าผมรอดตัวไป ไม่ต้องโดนเอาฟิล์มไปโยนทิ้ง (หัวเราะ)  แต่ผมก็คิดว่าผมทำดีที่สุดแล้ว ในเมื่อทุกคนวางใจให้ให้แสดง ก็ต้องตั้งใจทำให้สำเร็จ
วันนั้นผมก็ทำการบ้านเป็นนักแสดงเหมือนกับคนอื่นที่เป็นนักแสดงแล้วต้องมาทำการบ้าน ผมได้ทำงาน 2 อย่างเหมือนกันทุกคน”

สุดท้ายอยากให้พูดถึงภาพยนตร์เรื่องนี้หน่อย
“อยากจะฝากว่า ถ้าคนไทยรักและต้องการให้ประเทศชาติอยู่รอด้วยความสามัคดี แล้วไม่ต้องการให้คนแตกแยก ไม่ต้องการให้เผ่าพันธุ์ของคนไทยสูญหายไป ต้องการให้เชื้อเครือคนไทยอยู่ด้วยกันไปตลอดบนแผ่นดินก็อยากให้คนที่รักแผ่นดิน รักชาติ รักความเป็นไทยคงจะได้เกร็ดความรู้และสิ่งละอันพันละน้อยที่สอดแทรกในภาพยนตร์เรื่องนี้บ้างไม่มากก็น้อย”

   

Everything you want to know about Thai film, Thai cinema
edited by Anchalee Chaiworaporn อัญชลี ชัยวรพร   designed by Nat  
COPYRIGHT 2004 http://www.thaicinema.org. All Rights Reserved. contact: ancha999 at gmail.com
By accessing and browsing the Site, you accept, without limitation or qualification, these copyrights.
If you do not agree to these copyrights, please do not use the Site.