สนับสนุนโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม Supported by Office of Contemporary Art And Culture ,Ministry Of Culture

หน้าแรก
ข่าว
วิจารณ์
สัมภาษณ์
บทความพิเศษ
รายงานหนังไทยในเทศกาลหนังต่างๆ
รายชื่อหนังสือและบทความเกี่ยวกับหนังไทย
รายชื่อ ที่อยู่ หน่วยงาน
 
รายชื่อหนังเก่า
 
 
 
 

 
หนังประกวด
  อัญชลี ชัยวรพร / 14 พฤษภาคม 2558
  LINK : เมนูเทศกาลหนังเมืองคานส์
 
Share |
Print   
 

 

Day 2 / 14 พฤษภาคม 2558

Son of Saul หลุมพรางของการคิดใหม่

 

 

มาอีกแล้ว หนังที่พยายามใช้เฟรมหนังที่แตกต่างจากแนวสี่เหลี่ยมผืนผ้าอันเป็นที่คุ้นเคยของเรามาแต่ไหนแต่ไร แต่เลือกเฟรมแนวตั้งบ้างอย่างที่เห็นในหนังเรื่อง Mommy ของ Xavier Dolan จนได้รับรางวัลจูรี่ไพรซ์ไปตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยก่อนหน้านั้นก็มีหนังญี่ปุ่นเรื่องหนึ่งที่่ได้ใช้เฟรมดังกล่าวมาแล้วครั้งหนึ่ง Son of Saul แตกต่างจากเรื่องอื่น ๆ บ้างตรงที่ขนาดเฟรมที่เขาใช้เป็นแนวสี่เหลี่ยมจัตุรัสอย่างชัดเจน

หนังเล่าเรื่องของ Saul Ausländerเชลยฮังการีในค่ายกักกันนาซี เขาต้องทำตามคำสั่งของนาซีทุกอย่าง เฉกเช่นเดียวกับเพื่อนเชลยคนอื่น แต่เขาอยู่ในกลุ่มคอมมานโดซอนเดอร์ที่ต้องการก่อกบฎจากเหล่านาซี แถมเรื่องราวมันเกิดขึ้นเมื่อซาอุลไปเจอศพเด็กชายคนหนึ่ง เขารู้สึกผูกพันกับเด็กผู้นั้นอย่างบอกไม่ถูก จนแอบอ้างกับคนอื่น ๆ ว่าเด็กคนนั้นเป็นลูกชายของเขา และเขาต้องการทำพิธีฝังศพเด็กคนนี้อย่างถูกต้องตามประเพณี

หนังมีวิธีการเล่าเรื่องที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย ตั้งแต่ฉากแรกที่เริ่มขึ้นมา กล้องตั้งอยู่กับที่โดยโฟกัสที่ซาอุลซึ่งกำลังเดินเข้ามาทางกล้อง คนอื่นเบลอหมดอยู่นอกโฟกัส จากนั้นหนังก็เคลื่อนตามซาอุลคนเดียวในระยะ middle-shot ทำให้ไม่ค่อยมีโอกาสที่จะเห็นตัวละครคนอื่น ๆ มากนัก ถ้าเขาไม่มีบทพูดหรือถูกโฟกัสอย่างชัดเจน

น่าสนใจในระดับหนึ่ง ถ้าเพียงแต่ว่าการดำเนินเรื่องและบทยังคงเดินตามรอยซ้ำอยู่อย่างนั้น ตลอดทั้งเรื่อง เราจะเห็นแต่การดำเนินในชีวิตประจำวันของซาอุลที่ต้องทำงานภายใต้การถูกบังคับของนาซี ความพยายามที่จะเอาตัวรอดเมื่อเพื่อนเชลยพยายามหนี และความพยายามของเขาที่จะฝังศพเด็กชายผู้ที่ถูกอ้างเป็นลูก หนังอาจจะมีจุดที่น่าสนใจอยู่บ้างตรงที่เขากับเชลยคนอื่น ๆ พยายามเดินตามแผนลับอย่างหนึ่ง


แต่เพราะจังหวะของหนังที่เดินหน้าที่ซ้ำซาก โดยไม่พยายามสร้างความแปลกใหม่ บทอยู่กับที่ ดู ๆ ไปแล้วมีลักษณะผสมผสานตามแนวทางของด็อกม่าภายใต้การทดลองเฟรมแบบใหม่ ซึ่งกลายเป็นข้อเสียไป เพราะการที่กล้องสั่นไปสั่นมาภายใต้เฟรมจำกัดนั้น ดูยาก น่าเวียนหัวเป็นอย่างยิ่ง

ผู้กำกับคนนี้เพิ่งทำหนังเป็นเรื่องแรกก็ได้เข้าประกวดในคานส์ ก็เลยไม่แปลกใจที่จะใช้วิธีทดลองเช่นนี้ โดยลืมสร้างความกระชับระหว่างทาง หนหน้าคงดีกว่านี้ล่ะ


   

Everything you want to know about Thai film, Thai cinema
edited by Anchalee Chaiworaporn อัญชลี ชัยวรพร   designed by Nat  
COPYRIGHT 2004 http://www.thaicinema.org. All Rights Reserved. contact: ancha999 at gmail.com
By accessing and browsing the Site, you accept, without limitation or qualification, these copyrights.
If you do not agree to these copyrights, please do not use the Site.