สนับสนุนโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม Supported by Office of Contemporary Art And Culture ,Ministry Of Culture

ไทย / English
หน้าแรก
ข่าว
วิจารณ์
สัมภาษณ์
บทความพิเศษ
รายงานหนังไทยในเทศกาลหนังต่างๆ
รายชื่อหนังสือและบทความเกี่ยวกับหนังไทย
รายชื่อ ที่อยู่ หน่วยงาน
 
รายชื่อหนังเก่า
 
 
 
 

   
Lost and Found ...หนังสั้นที่สั้นไป
 

25 ตุลาคม 2551 / อัญชลี ชัยวพร

  ©thaicinema.org
  ข้อมูลหนังเรื่อง Lost and Found
   
 

หนังจะฉายวันพุธที่ 29 ตุลาคม เวลา 12.00 น. พร้อมกับหนังสั้น ทาง ของเชอรี่ เข็มอัปสร พบกับผู้กำกับณต ทองศรีพงษ์ และเชอรี่ซึ่งจะมาร่วมพูดคุยกับคนดูด้วย  อ่านเรื่อง ทาง งานกำกับเรื่องแรกของเชอรี่ได้ที่นี่ และอ่านบทวิจารณ์ Lost and Found ได้จากข้างล่างนี้


 

Lost and Found น่าจะเป็นหนังสั้นที่คอหนังเฝ้าจับตามองมากที่สุด  ส่วนหนึ่งก็มาจากสโลแกนของหนังที่โปรยไว้ว่า นี่เป็นหนังอินดี้ที่เกิดจากความร่วมมือของกลุ่มคนทำหนังมืออาชีพ  ไม่ว่าจะเป็น โปรดิวเซอร์ศักดิ์ศิริ จันทรังษี  ช่างภาพธนนท์ สัตตะรุจาวงษ์  มือตัดต่อ ม.ร.ว. ปัทมนัดดา ยุคล  รวมทั้งนักแสดงอย่างเข็มอัปสร สิริสุขขะ  อาภาสิริ นิติพล  เกรียงไกร อุณหะนันท์  และอรรถพร ธีมากร   โดยผู้กำกับหน้าใหม่ ณฐ ทองศรีพงษ์  แต่ี่คุ้นเคยกันในแวดวงโฆษณา 

และเพราะหนังผ่านมืออาชีพมาแล้วทั้งหมด  จึงทำให้ ณฐ ทองศรีพงษ์ สอบผ่านคุณสมบัติพื้นฐานของหนังคุณภาพทั้งหมด  ไม่ว่าจะเป็นโปรดักชั่น  มุมกล้อง  การตัดต่อ  การถ่ายภาพ  การแสดง ทั้งหมด  ….เพียงแต่ว่า Lost and Found ยังติดขัดอะไรอยู่ ที่อาจจะจะทำให้การเดินทางไปในสนามอินเตอร์สะดุดอยู่บ้าง 

หนังไม่เหมาะที่จะทำเป็นหนังที่มีควมยาวขนาดกลาง  กึ่งยาวกึ่งสั้นอย่างที่เป็นอยู่  หนังเล่าเรื่องของพี่น้องต่างมารดาสองคน  ที่มาอยู่ร่วมกัน  หลังจากผ่านการสูญเสียในชีวิต  คนหนึ่งสูญเสียมารดา  อีกคนมีอันต้องเลิกราจากแฟน  เป็นหนังที่ต้องเน้นอารมณ์ความรู้สึก และการคุมโทนของหนังให้เป็นไปในทางนี้

ความรู้สึกแรก  หลังจากที่ดิฉันดูหนังเรื่องนี้จบ  ก็คือ มันไม่พอ  ยังอยากดูอีก  ดิฉันยอมรับว่าหนังมีประเด็นน่าสนใจ  และหนังมีวิธีการเล่าเรื่องที่ดึงเราเข้าไปร่วมกับหนังได้อย่างไม่หลุด  ว่ากันง่าย ๆ ก็คือ Lost and Found เป็นหนังที่ดูแล้วไม่น่าเบื่อ  ชวนให้เราติดตามได้  ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมองค์ประกอบของหนังทุกอย่าง  บทสนทนา  การแสดง  มุมกล้อง  การลำดับภาพ  การออกแบบฉาก 

แต่พอดูจบแล้ว  มันไม่จุใจ  มันไม่ลึกขนาดจะทำให้เราอิน ....มีอารมณ์ร่วมกับหนังได้ทั้งหมด     ไม่ได้เก็บเอากลับบ้านไปคิด  อย่างที่เรารู้สึกกับหนังแนวเน้นอารมณ์เช่นนี้ 

ณฐสามารถคุมองค์ประกอบหนังอย่างที่เขาต้องการไว้ได้  เพียงแต่ว่าการควบคุมองค์ประกอบต่าง ๆ มันซ้ำ  ดูหนังไป  เราก็จะเห็นว่า มีการใช้ภาพ two-shots เยอะมาก  กล่าวคือ นักแสดงสองคนร่วมกันในหนึ่งเฟรม  ออกมาใน ขวา – ซ้าย   บน – ล่าง แบบนี้ (อย่างที่เห็นในภาพซ้ายนี้) ไม่ก็ให้นักแสดงอยู่ชิดเฟรม มองไปในทางทิศใดทิศหนึ่ง (สองภาพบน)  หรือไม่ก็การเคลื่อนกล้องที่เน้นการใช้ดอลลี่หรือแพนกล้องในจังหวะช้า ๆ

ไดอะล็อกฟังดูกินใจนั้น  และนักแสดงทั้งสองก็สอบผ่านในการถ่ายทอดออกมา  ปัญหาก็คือบางครั้ง  บทสนทนานั้นมันฟังดูเหมือนจงใจเกินไปหน่อย   อดรู้สึกไม่ได้ว่า  คนที่เพิ่งจะเห็นหน้าค่าตากัน  เขาจะพูดกันลึกซึ้งขนาดนี้กันบ่อย ๆ หรือ

มีฉากดี ๆ ให้เห็นอยู่หลายฉาก  ไม่ว่าจะเป็นการตัดพ้อของหญิงสาว  หรือการแพนภาพที่แสดงให้เห็นความรู้สึกของคนที่สูญเสียพ่อให้กับแม่ของคนอื่น

ดิฉันคิดว่า ณต ทองศรีพงษ์ จงใจเซ็ตหนังให้อย่างที่เขาเป็นมากเกินไป  โดยเฉพาะกับหนังแนวนี้   ณตน่าจะคิดรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น  หรือบางทีอาจจะต้องนำอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดจากการ improvise ตรงหน้าฉากเข้ามาช่วย  ใครจะไปรู้ว่า อารมณ์ความรู้สึกที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างบังเอิญขณะถ่ายหนัง  หรือลำดับภาพ  มันอาจจะมีประโยชน์อย่างคาดไม่ถึงก็ได้  หนังแบบเน้นอารมณ์ความรู้สึกแบบนี้จะเซ็ตให้เป็นรูปแบบเดียวก็จะดูลำบาก

มือฉมังที่ไปอาศัยอารมณ์หน้าฉากมาช่วย  จนเป็นที่รู้กันว่า ถ่ายหนังโดยไม่มีบทหนังแบบเบ็ดเสร็จ  ก็คือ หว่องกาไว 

ก็หวังว่า เราจะได้เห็นแนวทางที่หลากหลายขึ้นกับผลงานชิ้นต่อไปของณต ทองศรีพงษ์ ในเร็ว ๆ นี้  

   
   

Everything you want to know about Thai film, Thai cinema
edited by Anchalee Chaiworaporn อัญชลี ชัยวรพร   designed by Nat  
COPYRIGHT 2004 http://www.thaicinema.org. All Rights Reserved. contact: ancha999 at gmail.com
By accessing and browsing the Site, you accept, without limitation or qualification, these copyrights.
If you do not agree to these copyrights, please do not use the Site.