สนับสนุนโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม Supported by Office of Contemporary Art And Culture ,Ministry Of Culture

หน้าแรก
ข่าว
วิจารณ์
สัมภาษณ์
บทความพิเศษ
รายงานหนังไทยในเทศกาลหนังต่างๆ
รายชื่อหนังสือและบทความเกี่ยวกับหนังไทย
รายชื่อ ที่อยู่ หน่วยงาน
 
รายชื่อหนังเก่า
 
 
 
 

   
เจ้านกกระจอก ในปูซาน
  25 ตุลาคม 2552
   
 

Q & A รอบแรกที่ฉาย พิธีกรเป็นหนึ่งในโปรแกรมเมอร์ โชเป็น ดร. เรียนจบปริญญาเอกทางภาพยนตร์


เจ้านกกระจอก หรือ Mundane History เป็นหนังที่ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานในเทศกาลหนังปูซานอย่างคึกคัก   และถึงแม้จะพลาดได้รางวัลใด ๆ แต่หนังก็มีหลายอย่างที่ควรจะนำมารายงานให้ฟัง

อโนชา สุวิชากรณ์พงศ์ ขนทีมงานไปร่วมงานอย่างเต็มที่  ไม่ว่าจะเป็นดารานำ ภาคภูมิ สุรพงษ์อนุรักษ์ ผู้ี่รับบทเป็นลูกชายของเรื่อง  หรือโปรดิวเซอร์ โสฬส สุขุม   มือตัดต่อ ลี ชาตะเมธีกุล ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของหนังเรื่องนี้  และลีทำงานในเรื่องนี้ดีกว่ารางวัลเอเชียแปซิฟิกที่เขาได้รางวัลจากหนังเรื่อง แสงศตวรรษ อีก  

อโนชา กล่าวกับคนดูว่า ที่ใชืชื่อหนังว่า Mundane History เพราะคำว่า Mundane มันมีความหมายว่าบางสิ่งบางอย่างที่เป็นธรรมดา เช่นเดียวกับคำว่า กระจอก ในชื่อไทยที่ว่า เจ้านกกระจอก เมื่อมารวมกับคำว่า history หรือ ประวัติศาสตร์ ก็จะถ่ายทอดความหมายนัยของเรื่องได้ดี  นั่นก็คือ เรื่องราวที่ดูมันแสนจะธรรมดาที่เกิดขึ้นในบ้านหลังหนึ่ง  บ้านที่มีวิถีชีวิตกิน นอน ตามปรกติ   แต่มันเป็นบ้านที่ไม่มีชีวิต  ความจริงแล้วมันไม่ใช่เรื่องเล็ก แต่เป็นเรื่องใหญ่ในสังคมโดยตัวของมันเอง

ถึงตอนนี้ โช พิธีกรกล่าวว่า ชื่อในภาษาเกาหลีมีความหมายว่า history of the universe  




ทีมงานมาครบครัน จากซ้าย อัคริศเฉลิม กัลยาณมิตร คุมเสียง, มือตัดต่อ ลี ชาตะเมธีกุล, โปรดิวเซอร์ โสฬส สุขุม, ผู้กำกับ และภาคภูมิ นักแสดงน

 

อโนชากล่าวว่า ตอนแรก ๆ หนังตัดต่อจะดำเนินเรื่องเป็นเส้นตรงมาก  เรื่่องจะเล่าเรียงตามลำดับ  แต่หลังจากได้คุยกับมือตัดต่อ คือ ลี ชาตะเมธีกุล ก็เลยได้ความคิดใหม่   ซึ่งไม่แน่ใจว่าใครเป็นคนต้นคิดก่อน  ว่าจะทำหนังออกมาให้เป็นหนังทดลอง   โดยการนำหนังมาแยกย่อย  สร้างโครงสร้างใหม่ออกมาทั้งหมด  แล้วนำมาจัดเรียงสลับกัน  ทั้งหมดออกมาเป็น 7 ตอน  แต่ละตอนจะถ่ายทอดความคิดในเรื่องของจักรวาลและกำเนิดของชีวิต  โดยมีธีมเรื่องใหญ่ที่เกิดขึ้นในบ้านหลังหนึ่ง  ที่ดูเหมือนจะมีอะไรพร้อม   สมบูรณ์  แต่ขาดความรักและชีวิต

เธอได้พูดคุยกับโปรดิวเซอร์ว่าจะทำหนังพังค์  แรก ๆ เพลงจะไม่มีบทบาทชัดเจน  แต่ทำไมทำมา  เพลงจะมีความหมายสำคัญรองจากภาพ  เพลงอาจจะไม่ได้เป็นเรื่องราวอะไรมากนัก  และดนตรีที่ใช้ตอนหนึ่งก็นำมาจากวงมาเลเซียที่ชื่อ Furniture ซึ่งเพลงก็ให้ความหมายของการเกิดและตายเช่นเดียวกัน

 

ภาคภูมิ สุรพงษ์อนุรักษ์ นักแสดงนำของเรื่อง ทราบมาว่าเคยทำหนังสั้นมาเช่นกัน

 

ภาคภูมิ สุรพงษ์อนุรักษ์ หรือ ผู้รับบทเป็นเอก กล่าวว่า เขาเคยเล่นละครเวทีมาก่อน  ตอนมาเล่นเรื่องนี้ก็เลยไม่มีปัญหามากนัก  โดยเขายึดหลักที่ว่า เล่นมาจากข้างใน  เพราะตัวละครกับเขามีอะไรบางอย่างร่วมกันอยู่  "เราก็เคยคิดแบบนั้น  เหมือนกับเราเป็นตัวละครเอง  แล้วก็แสดงออกมา"

แต่เขายอมรับว่า เพราะความเป็นนักแสดงหน้าใหม่ บางครั้งก็เลยทำให้เครียดเหมือนกัน   "เราไม่สามารถสร้างอารมณ์ได้อย่างรวดเร็วหรือตลอดเวลา  เราก็เลยใช้เวลาเก็บอารมณ์อย่างนั้นไว้ทั้งวัน  ทำให้เครียดมาก เป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้องนัก"

พิธีกรถามว่า ในฉากที่เขาต้องเปลือยกายและโชว์ทุกอย่างในร่างกายทั้งหมดนั้น  เล่นยากไหม และฉากนี้มีความจำเป็นหรือ

อโนชา กล่าวว่า ฉากนี้ถือได้ว่าเป็นฉากสำคัญมาก  หลายคนคิดว่าผู้กำกับต้องการจะช็อคคนดู  ซึ่งจริง ๆ ตัวเองไม่ได้ตั้งใจให้เป็นแบบนั้น  ฉากดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญที่จะแสดงอารมณ์ความรู้สึกของเอก  ตัวละครที่เป็นอัมพาต  ทุกอย่างเขาอาจจะได้รับการดูแลและช่วยเหลือ แต่ถ้าเป็นเรื่องอารมณ์ทางเพศล่ะ

 ภาคภูมิ นักแสดงของเรื่อง ให้ความคิดว่า ก่อนที่จะถ่าย เขาได้ไปพูดคุยกับนักกายภาพบำบัด และไปสังเกตุคนที่เป็นอัมพาตจริง ๆ   ก็เลยพอรู้ว่า คนพิการเหล่านี้ต้องทำอะไรบ้าง   เราก็เลยจินตนาการต่อว่า "ถ้าพวกเขาต้องช่วยตัวเอง  จะต้องทำอย่างไร  ก็เลยเล่นไม่ค่อยยาก  ผู้กำกับจะให้เหลือคนในห้องที่ถ่ายทำน้อยที่สุด "

  


ถ่ายรูปในงานแนะนำผู้เข้าประกวดสาย New Currents ทั้งหมด

 

หลังจากช่วง Q & A แล้ว  ก็มีช่วงแถลงข่าวอีก  ซึ่งเราจะนำมาเสนอในรูปแบบวิดิโีอต่อไป  โปรดติดตามเร็ว ๆ นี้


กับไดเร็คเตอร์ของเทศกาล คิมดงโฮ

 


ให้สื่อสัมภาษณ์


 

เจ้านกกระจอก กระแสแรง
  16 ตุลาคม 2552
   
 

อโนชา สุวิชากรพงษ์ และ ภาคูมิ สุรพงษ์อนุรักษ์ นักแสดงนำของเรื่อง

 

ผ่านไปแล้วจนเทศกาลใกล้ปิดม่่าน  ซึ่ง เจ้านกกระจอก ได้เข้าชิงรางวัล New Currents และเท่าที่ผ่านมา หนังเป็นที่กล่าวขวัญค่อนข้างมาก

เจ้านกกระจอก เริ่มฉายไปตั้งแต่วันเสาร์ที่แล้ว  โดยผู้กำกับหญิงอโนชา สุวิชากรพงษ์ ได้ร่วมถาม - ตอบ กับคนดูด้วย ซึ่งเราจะนำมาเปิดเผยให้ทราบต่อไป

หลังจากฉายรอบแรกไปแล้ว  กระแสยังไม่ค่อยเห็นเท่าไรนัก  แต่เมื่อหนังฉายอีกครั้งเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา   ซึ่งคุณต้อม เป็นเอก และคณะกรรมการได้ดูในรอบนี้   บวกกับรอบพิเศษสำหรับสื่อในวันรุ่งขึ้น  ทำให้เริิ่มเห็นกระแสของหนังเรื่องนี้มากขึ้น

หลายคน ไม่ว่าจะเป็นจาคอบ นีลห์ ไดเร็คเตอร์์เทศกาลหนังโคเปนเฮแก้น  นักวิจารณ์จากอิตาลี เดินเข้ามาหาผู้เขียน และบอกว่า หนังกระแสดีนะ  มีคนบอกให้เขาไปดู

ต่อมาผู้เขียนได้เจอ โสฬส สุขุม โปรดิวเซอร์ของหนัง ถามว่ารู้ผลหรือยัง (ผลจะแจ้งกับผู้กำกับก่อน เพื่อให้พวกเขาอยู่ต่อจนงานปิด)   โสฬสบอกว่ายังไม่ทราบข่าว  ได้ยินแต่กระแสมา

เจ้านกกระจอก เป็นเรื่องราวของพ่อกับลูก อย่างที่คุณได้อ่านใน เรื่องย่อ  แต่หนังมันหลายชั้น   จนทำให้ผู้เขียนต้องชะลอการเขียนวิจารณ์ไว้ชั่วขณะ  เพราะชั้นบางอย่างในหนังเป็นสิ่งที่ผู้เขียนรอคอยมานาน แต่ถ้าพูดออกไป  มันจะส่งผลกระทบต่อหนังโดยตรง

ดิฉันบอกคำเดียวได้ว่า  นักวิจารณ์หลายคนไม่กล้าเขียนถึงรากของหนังโดยตรง  เพราะกลัวจะส่งผลกระทบหลาย ๆ ประการ

ขอบอกไว้แค่นี้ก่อนค่ะสำหรับ เจ้านกกระจอก เอาไว้อ่านละเอียดอีกทีในบทวิจารณ์

นอกจาก เจ้านกกระจอก หนังอีกเรื่องที่กล่าวขวัญกันมาก ก็คือ Paju หนังของปาร์กชานอ็อก ผู้กำกับหญิงเหมือนกัน ซึ่งเคยชนะรางวัลมาครั้งหนึ่งเมื่อปี 2002 และเคยคว้ารางวัลไทเกอร์อวอร์ดจากร็อตเตอดัมด้วย จากหนังเรื่อง Jealousy Is My Middle Name หนังพูดถึงผู้ชายคนหนึ่งกับผู้่หญิง 3 คนในชีวิตเขา

รัสเซล เอ็ดเวิรด์ส นักวิจารณ์วาไรตี้ ก็ชอบหนังเรื่องนี้  แต่ได้ข่าวว่า ไม่ได้เป็นที่กล่าวถึงกันมากนัักในหมู่กรรมการ

อีกเรื่องหนึ่งที่แม็กกี้ ลี นักวิจารณ์จากฮอลลีวู้ดรีพอร์เตอร์กล่าวถึง  คือ Lost Paradise In Tokyo เธอบอกว่าชอบ แต่ไม่ค่อยเห็นกระแสนัก

ก็ลองมาลุ้นกันต่อไปนะคะ

 

 

Everything you want to know about Thai film, Thai cinema
edited by Anchalee Chaiworaporn อัญชลี ชัยวรพร   designed by Nat  
COPYRIGHT 2004 http://www.thaicinema.org. All Rights Reserved. contact: ancha999 at gmail.com
By accessing and browsing the Site, you accept, without limitation or qualification, these copyrights.
If you do not agree to these copyrights, please do not use the Site.