สนับสนุนโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม Supported by Office of Contemporary Art And Culture ,Ministry Of Culture

หน้าแรก
ข่าว
วิจารณ์
สัมภาษณ์
บทความพิเศษ
รายงานหนังไทยในเทศกาลหนังต่างๆ
รายชื่อหนังสือและบทความเกี่ยวกับหนังไทย
รายชื่อ ที่อยู่ หน่วยงาน
 
รายชื่อหนังเก่า
 
 
 
 

   

ไปทัวร์พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย กันเถิด

  อัญชลี ชัยวรพร ถ่ายภาพและพาทัวร์
  scroll down for English
 
ตึกสีจัดจ้านนี้ ยืมชื่อบริษัทหนัง "ภาพยนตร์เสียง ศรีกรุง" มาใช้ตั้งชื่อ  มีรูปปั้นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัยลวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ต้นราชสกุล “ทองแถม” ซึ่งทรงอยู่ในฐานะเป็นพระบิดาแห่งภาพยนตร์สยาม เพราะทรงเป็นคนไทยนักถ่ายภาพยนตร์คนแรกในแผ่นดินสยาม
The front of Thai Film Museum which was named after
the Sri Krung Sound Film


 

ความรักหนังไทยในตัวบุรุษผู้นี้  โดม สุขวงศ์  ดูเหมือนจะไม่มีที่สิ้นสุด  นอกจากเป็นบุคคลแรก (และอาจจะเป็นคนเดียว) ที่ลงทุนไปเปิดหน้าหนังสือพิมพ์เก่าที่ขาดวิ่น  ทีละฉบับ  ทีละหน้า  เพียงเพื่อหาข้อมูลอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับหนังไทย  จนสามารถเขียนตำราหนังสือจนเป็นเรื่องเป็นราว 

ในวัยห้าสิบกว่า  ที่จวนจะเกษียณในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า  โดม สุขวงศ์ รู้ว่า ยังมีงานอีกมากมายที่เขาต้องรีบทำ  ก่อนที่จะไม่มีอำนาจหน้าที่ในราชการอีก  เพราะฉะนั้น  หนึ่งในโครงการที่เขาริเริ่มอย่างเงียบ ๆ มาหลายปี  ก็เป็นรูปเป็นร่าง  และเปิดเผยโฉมออกมาในที่สุด

พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย  อยู่ในบริเวณเดียวกับหอภาพยนตร์แห่งชาติ จังหวัดนครปฐม  แม้จะเป็นอาคารเล็ก ๆ  สูงเพียงชั้นครึ่ง  และคงจะใช้เวลาชมให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาไม่เกินหนึ่งชั่วโมง  แต่สำหรับคนรักหนังไทยแล้ว  การที่ได้มานั่งชม  มองเห็นรูปปั้นของผู้กำกับคนสำคัญ  ของที่เคยใช้ในฉากหนังเรื่องต่าง ๆ  ล้วนทำให้คนรักหนังไทยหลายคน  อดอมยิ้มไม่ได้

พิพิธภัณฑ์เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง  เสร็จสิ้นมาหลายปีแล้ว  และเคยใช้เป็นฉากสัมภาษณ์ของคนทำหนังสารคดีที่ถ่ายทำโดยชาวต่างประเทศหลายคน  แต่ก็ยังไม่เคยเปิดสู่สาธารณชนสักที

จนกระทั่งในขณะนี้  พิพิธภัณฑ์ได้ทดลองเปิดให้คนมาเยี่ยมชมแล้ว  อย่างไม่เป็นทางการ  และเฉพาะในวันเสาร์เท่านั้น  เหตุผลที่ยังไม่สามารถเปิดให้เข้าชมทุกวัน  ก็เพราะว่ายังไม่มีห้องน้ำบริการ  เพราะฉะนั้นจึงยังไม่เปิดรับคนจำนวนมากนัก

โดยการเที่ยวชมนั้น  จะเปิดให้ครั้งละไม่เกิน  10 คน  โดยมีเจ้าหน้าที่คอยแนะนำและติดตาม  เพื่อดูแลสิ่งของด้วย  เนื่องจากเป็นการเปิดให้เข้าชมโดยไม่มีสิ่งกีดขวาง 

สำหรับท่านที่ต้องการไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์นั้น  ให้ไปที่หอภาพยนตร์แห่งชาติ  ตั้งอยู่ที่พุทธมณฑลสาย 5 ศาลายา  นครปฐม  แม้จะไกล  แต่การเดินทางค่อนข้างสะดวก  ผู้ที่ขับรถมา  ให้มาทาง ถ.ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี  เมื่อผ่านพุทธมณฑลแล้ว ให้มองทางขวามือ  จนเห็นโชว์รูม Toyota ให้ขับต่อไป  จนเจอสะพานกลับรถ  เมื่อมาถึงปากทางโชว์รูปโตโยต้าแล้ว ให้ขับต่อไป  จนเห็นอู่รถแอร์  และสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม หอภาพยนตร์อยู่ในบริเวณนี้ค่ะ

สำหรับท่านที่ไม่มีรถ   ให้นั่งรถแอร์สาย  515 จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ   จนถึงอู่หมดระยะที่ศาลายา   ซึ่งจะอยู่ติดกับสำนักงานช่างสิบหมู่

หรือไม่ก็นั่งรถแอร์ 547 ซึ่งจะวิ่งมาทางสีลม  ผ่านเจริญกรุง  แต่เส้นทางนี้ค่อนข้างจะอ้อม  และหาแผนการเดินรถไม่ได้  เพราะเป็นรถร่วมบริการ  กรุณาสอบถาม ขสมก ได้ที่ 184

สำหรับท่านที่จะเข้าชมพิพิธภัณฑ์  ควรสอบถามรายละเอียดกับ หอภาพยนตร์แห่งชาติ ได้ที่นี่ 02 4410263-4

The first and only Thai film museum has been limitedly opened to the public and only on Saturday. Each permission will accept no more than 10 visitors, as each visit needs to be guided by the museum staff. The tour will take around one hour.

It is located at the same area of National Film Archive, Phuttamonthon, Salaya, Nakorn Prathom, but under the name of Samnak Chang Sip Moo, Arts Department, Culture Ministry. To get there by car, drive along Pinklao-Nakorn Chaisri Road, until you pass The biggest Phuttamonthon Buddha Statue Garden on your left hand side. Drive furthur until you turn at the car-crossing skyover. Drive back until you see the Toyota Showroom. Turn left and now you are on Phutthamonthon 5 Road. Drive further until you see Bus no.515 parking. The Samnak Chang Sip Moo is situated next to the parking.

But maybe it is better to leave your car at home and then take the bus no.515 from Victory Monument, until you reach the final stop of Bus no.515. Samnak Chang Sip Moo is next to the Bus no 515 parking.

For more information, please call 02 4410263-4. By the way, please be warned that restroom is not ready for service yet.

 


เมื่อก้าวพ้นประตูเข้าไป จะได้เจอสิ่งนี่จ๊ะ (Thai Film Museum)
Right after passing the front door, you will see it.


อีกไม่กี่ก้าวถัดมา คุณจะได้เจอมุมหนังผี  ซึ่งโดม สุขวงศ์ กล่าวว่า มีกระดูกหน้าผากแม่นาค ที่ใช้ในหนัง นางนาก ของ นนทรีย์ นิมิบุตร ด้วย
Horror Setting where Nang Nak's chin's bone was kept.


ในบริเวณห้องโถงใหญ่ คุณจะได้เจอฉากนี้  จำกันได้ไหมเอ่ย  
A familiar set from Rattana Pestonji's Hell Hotel


ฉากเดียวกัน ถ่ายจากมุมบน  คงจะจำกันได้แล้วนะคะ ว่าจากเรื่องโรงแรมนรก
With his wax figure Rattana Pestonji


เดินมาอีกไม่กี่ก้าว คุณก็จะได้เจอมุมนี้ เสือแบบนี้ไม่ใช่ใครที่ไหน นอกจาก สัตว์ประหลาด ของอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล
Clothes and several other objects used in Apichatpong's Blissfully Yours
and Tropical Malady




เสื้อผ้าในหนังเรื่อง สุดเสน่หา ของ อภิชาติพงศ์ อีกเช่นกัน

Blissfully Yours' costume

อุปกรณ์ที่อภิชาติพงศ์ ใช้ถ่ายทำหนังเรื่อง สุดเสน่หา และสัตว์ประหลาด (ถ่ายจากมุมสูง)
Bird-eyeview shot.


ใครจำกางเกงตัวนี้ได้บ้าง จากหนังเรื่อง สุดเสน่หา นั่นเอง


ห้อง คุณาวุฒิ อีกบรมครูจาก ลูกอีสาน
Vijit Kunavut Room (Mountain People; Son of the Northeast)


โต๊ะทำงานคุณาวุฒิ
His writing desk


ฝ่ายเครื่องแต่งกาย
Costume Department


ฉากหนึ่งจากหนังเรื่อง สวรรค์มืด
Dark Heaven setting


 
แผนกบท Script Department


ภาพครั้งเมื่อคุณรัตน์ เปสตันยี รับรางวัลหนังสั้นจาก ฮิทช์ค็อค
The picture of Rattana Pestonji receiving a short film award from Hitchcock

แผ่นเสียงมาเกี่ยวข้องกับหนังไทยได้อย่างไร ต้องไปเยี่ยมชมและถามคุณโดมเท่านั้น





 
 
   

Everything you want to know about Thai film, Thai cinema
edited by Anchalee Chaiworaporn อัญชลี ชัยวรพร   designed by Nat  
COPYRIGHT 2004 http://www.thaicinema.org. All Rights Reserved. contact: ancha999 at gmail.com
By accessing and browsing the Site, you accept, without limitation or qualification, these copyrights.
If you do not agree to these copyrights, please do not use the Site.