สนับสนุนโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม Supported by Office of Contemporary Art And Culture ,Ministry Of Culture

หน้าแรก
ข่าว
วิจารณ์
สัมภาษณ์
บทความพิเศษ
รายงานหนังไทยในเทศกาลหนังต่างๆ
รายชื่อหนังสือและบทความเกี่ยวกับหนังไทย
รายชื่อ ที่อยู่ หน่วยงาน
 
รายชื่อหนังเก่า
 
 
 
 

   

10 หนังไทยฉลอง 10 ปีเทศกาลหนังพูซาน

  6 กันยายน 2548 23.39
   
 

เด็กโต๋ จะฉายโชว์ในส่วนของงานอินดี้ที่ชื่อ Wide Angle ซึ่งจะมีผลงานอินดี้เรื่อง มะหมี่ เข้าฉายด้วยเช่นกัน มะหมี่เป็นสารคดีชีวิตของนางเอกชื่อดังมะหมี่ ขณะเดินทางไปทะเลทางภาคใต้ของประเทศไทย เป็นผลงานร่วมของผู้กำกับ 3 คน คือ มล. มิ่งมงคล โสณกุล อาทิตย์ อัสสรัตน์ และภฺูมินทร์ ชินนะฤดี โครงการภาพยนตร์ของอาิทิตย์ก็เคยได้รับรางวัลในสาย PPP เมื่อปี 2546 เช่นเดียวกัน

            ไม่มีผลงานเรื่องใดสามารถเข้าถึงสายประกวด New Current ในปีนี้ แม้ว่าผลงานใหม่ทั้งหกเรื่องเข้าเกณฑ์การประกวดได้ทั้งสิ้น  กล่าวคือเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกหรือเรื่องที่สองของผู้กำกับหน้าใหม่  และถือเป็นสายประกวดของหนังนานาชาติเพียงสายเดียว แต่จะได้รับการพิจารณาจากกรรมการ 3 กลุ่ม คือ กรรมการสายหลัก ซึ่งปีนี้มีอับบาส เคียรอสตามิเป็นหัวหน้าคณะกรรมการ  กลุ่มที่สองเป็นคณะกรรมการสายนักวิจารณ์นานาชาติ ซึ่งผู้เขียนเคยไปเป็นกรรมการในสายนี้เมื่อสี่ปีก่อน   โดยตอนนั้นประกาศให้รางวัลกับผู้กำกับเกาหลี Song Il-Gon  คนที่ทำหนังสั้นเรื่อง Magician (s) ร่วมกับเจ้ย ...อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล เรื่อง Worldly Desires นั้นล่ะค่ะ  ส่วนกรรมการกลุ่มสุดท้ายจะพิจารณาหนังจากกลุ่ม Netpac for the Promotion of Asian Cinema

            
ก่อนหน้านี้นั้นมีผลงานไทยเพียง 4 เรื่องที่เคยเข้าประกวดในสายนี้ ได้แก่ ฝัน บ้า คาราโอเกะ (เป็นเอก รัตนเรือง)  ท้าฟ้าลิขิต (อ๊อกไซต์ ปัง)  รักออกแบบไม่ได้ (ภิญโญ รู้ธรรม)  โดยในห้าปีหลังที่เทศกาลหนังพูซานก้าวเข้าสู่ความเป็นเลิศในเอเชียนั้น มีเพียงผลงาน คืนไร้เงา ของพิมพกา โตวิระ เท่านั้นที่ได้เข้าสายประกวดเมื่อปี 2546

            ก็ไม่ทราบว่าเขาใช้อะไรเป็นเกณฑ์  แต่จากที่เคยดูหนังในสายประกวดนี้ในปีหลัง ๆ มา  พอจะกล่าวได้ว่า หนังส่วนใหญ่คงเป็นหนังที่มีเนื้อเรื่อง   ไม่ใช่หนังสารคดี   และมีการทดลองทางศิลปะค่อนข้างสูง  อย่างหนังของอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล  แต่เผอิญหนังของเจ้ยเป็นผลงานเรื่องที่สามหรือสี่แล้ว  ก็เลยไม่ตรงคุณสมบัติไป  

            นอกจากผลงานเรื่อง เด็กโต๋ และ มะหมี่แล้ว ผลงานที่เข้าข่ายสามารถประกวดได้ยังรวมถึง  หมานคร (เรื่องที่สองของวิสิษฎ์ ศาสนเที่ยง)  มหาลัย ...เหมืองแร่ (เรื่องที่สองของจิระ มะลิกุล)  เฉิ่ม (เรื่องที่สองของคงเดช จาตุรนต์รัศมี) และ กั๊กกะกาวน์ (หนังเรื่องแรก)  แต่หนังสามเรื่องแรกเข้าในสายฉายโชว์ชื่อ A Window on Asian Cinema ขณะที่ กั๊กกะกาวน์ เข้าในสายเอเปค สายที่จัดขึ้นเป็นพิเศษในปีนี้เพื่อเฉลิมฉลองความสำคัญของการประชุมสุดยอดเอเปค ซึ่งกำลังจะจัดขึ้นที่พูซานในเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยคัดเลือกผลงาน 20 เรื่องภายใต้ธีมของงานว่า "การสนทนา" เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในความหลากหลายทางวัฒนธรรม

            นอกจากนี้ ยังมีผลงานสี่เรื่องของคุณรัตน์ เปสตันยี ได้รับการคัดเลือกเข้าฉายในสายพิเศษเพื่อฉลองครบรอบสิบปีของเทศกาลในหัวข้อที่ชื่อ "Re-mapping of Asian Auteur Cinema" (ร่างภาพยนตร์แนวออเทอร์เอเชียแนวใหม่)  ผลงานทั้งสี่เรื่องได้แก่ น้ำตาลไม่หวาน (2508)  แพรดำ (2504)  โรงแรมนรก (2500) และ สวรรค์มืด (2501)   นับเป็นการเปิดงานคุณรัตน์สู่สายตาโลกอีกครั้งหลังจากที่เคยไปฉายโชว์ที่สิงคโปร์เมื่อสองปีก่อน  เพราะผลงานทั้งหมดไม่ค่อยได้ฉายโชว์ในต่างประเทศ  ยกเว้นเรื่อง แพรดำ ที่เคยเข้าสายประกวดที่เบอร์ลินเมื่อปี 2504

หนังไทยอีกเรื่องที่ได้รับการคัดเลือก คือ เอ๋อเหรอ แต่ไม่รู้ว่าเข้าสายไหน เพราะไม่มีข้อมูลเลย ไม่มีแม้แต่เรื่องย่อ ผู้กำกับ และเครดิตหนังอะไรเลย จนตอนนี้เริ่มสงสัยว่าเป็นหนังไทยหรือเปล่า เพราะสิ่งเดียวที่บอกว่าอาจจะเป็นหนังบ้านเราก็คือชื่อภาษาอังกฤษที่ว่า Beautiful, Wonderful, Perfect

            หนังไทยได้ฉายเรื่องละ 2 รอบ ยกเว้นหมานครที่ได้ฉาย 3 รอบ เข้าใจว่าเพราะหนังมันดังทั้งชื่อผู้กำกับและข่าวยูโรป้าคอร์ปรับจัดจำหน่ายด้วย อีกอย่างหมานครเปิดฉายที่ปูซานเป็นประเทศแรกในเอเชียหลังจากประเทศไทย) หนังสารคดีเรื่อง มะหมี่ และ เด็กโต๋ ไม่ได้ระบุชื่อในตารางการฉาย แต่กล่าวรวมว่า Asian Documentary เพราะฉะนั้นควรเช็ค



สงวนลิขสิทธิ์

เด็กโต๋ ผลงานของป๊อบ อาริยา และนิสา คงศรี


มะหมี่ ผลงานของอาทิตย์ อัสสรัตน์  ภูมินทร์ ชินนะฤดี  มล.มิ่งมงคล โสณกุล


 

Everything you want to know about Thai film, Thai cinema
edited by Anchalee Chaiworaporn อัญชลี ชัยวรพร   designed by Nat  
COPYRIGHT 2004 http://www.thaicinema.org. All Rights Reserved. contact: ancha999 at gmail.com
By accessing and browsing the Site, you accept, without limitation or qualification, these copyrights.
If you do not agree to these copyrights, please do not use the Site.