
กลุ่มแฟนพันธุ์แท้รอบ Q & A ผู้กำกับ
กลางดึกคืนหนึ่งในเดือนพฤษภาคมปี 2553 เปโดร อัลโมโดว่าร์ ผู้กำกับชาวสเปนชื่อดังเดินทอดน่องไปตามถนนหน้าหาดริเวียร่า เมืองคานส์ อย่างสบายอารมณ์ ผู้คนในเทศกาลหนังยักษ์ของโลกเริ่มบางตาลงอย่างเห็นได้ชัด น้อยจนบอดี้การ์ดตัวโตเดินตามคนดังของโลกอยู่ห่าง ๆ คงไม่มีใครจะมาทำร้ายอัลโมโดว่าร์ในยามดึกเช่นนี้
โดยไม่มีใครคาดคิด บุรุษผิวสองสีเรือนร่างสูงโปร่งโผล่มาจากไหนไม่ทราบ รุกเข้าหาอัลโมโดว่าร์อย่างกระชั้นชิด เอื้อนเอ่ยภาษาสเปนดังฟังชัดว่า เปโดร ผมจะไม่ขอลายเซ็นคุณ หรือขอถ่ายรูปกับคน แต่ผมเพียงอยากขอบคุณที่ทำหนังดีให้ผมเสมอมา
ทุกอย่างหยุด บอดี้การ์ดขยับตัวด้วยความไม่เข้าใจภาษา รอดูสถานการณ์ เตรียมพร้อมอย่างเต็มที่
เหตุการณ์ต่อมาเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว อัลโมโดว่าร์เดินเข้าไปกอดชายร่างสูงโปร่งคนนั้นแนบอก ตบหลังเบา ๆ แทนคำกล่าวใด ๆ ทั้งหมด
บุรุษผิวสองสีผู้นั้นชื่อแมกซ์ เป็นผู้เล่าเรื่องนี้ให้ผู้เขียนฟัง เป็นหนุ่มอิตาเลียนที่ทำงานให้กับเทศกาลหนังหลายแห่ง ในตำแหน่งหน้าที่ของ hospitality หรือฝ่ายต้อนรับ เขาไม่ใช่คอหนังแบบนักวิจารณ์ เป็นคนดูหนังทั่วไป เมื่อเล่าจบ ดิฉันเข้าไปกอดเขาอีกที ขอบคุณที่เขาทำให้อัลโมโดว่าร์รู้สึกดีี ๆ
ดิฉันไม่เคยหวังว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นในสังคมไทย เพราะบ้านเราไม่ได้คลั่งไคล้ผู้กำกับหรือหนังเรื่องใดเรื่องหนึ่งแบบนี้ เรามีแต่่แฟนคลับดารา อาการแบบนี้อาจจะมีบ้างก็อยู่ในกลุ่มคนรักหนังกับกลุ่มผู้กำกับหนังอาร์ต ที่ไม่ใช่ผู้กำกับหนังทำเงิน |
 |
แต่แล้วความคิดของดิฉันก็ต้องเปลี่ยนไป เมื่อเห็นภาพนี้ในวันจัดงานแฟนพันธุ์พิเศษคู่กรรม M 39 ...วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม ที่เอสพลานาด รัชดา เรียวไม่ใช่ณเดชน์ เรียวเป็นเพียงผู้กำกับหนังที่มีผลงานหลายระดับผสมผสานกัน แต่นี่คือปฏิกิริยาของคนรักหนังธรรมดา ๆ คนหนึ่งเช่นเดียวกับแมกซ์

เรียวกับการพบปะที่รอคอยของแฟนคลับหนัง
แล้วดิฉันก็พบว่าปฏิกิริยาดังกล่าวมันมีให้เห็นจริง ๆ ในสังคมไทย แต่ขับเคลื่อนเป็นเพียงพลังเล็ก ๆ ที่แตกกระเซ็นกระสายไปในตอนแรก ไม่่มีที่ทางของตนเองในที่สาธารณะอย่างห้องเฉลิมไทย เพราะกระแสการต่อต้านหนังจนลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานในการแสดงออกของพวกเขา เป็นเพียงคนชายขอบ จนกระทั่งหนังแทบจะหลุดจากโปรแกรมนั่นแหล่ะ กฏหมู่ถึงยอมปล่อยที่ทางให้กับคนกลุ่มนี้ สามารถรวมตัวกันได้ ขอให้ทาง M39 จัดงานพบปะ Q & A พบผู้กำกับเหมือนกับที่เราเห็นตามเทศกาลหนังต่าง ๆ
การจัดรอบ Q & A ผู้กำกับพบกับคนดูนั้น ส่วนใหญ่จะเห็นตามเทศกาลหนังต่าง ๆ ส่วนการจัดนอกเทศกาลนั้นจะเกิดกับหนังอาร์ตหรือหนังอินดี้ไทย ตัวเองได้เจอตอนไปเรียนหนังที่อังกฤษ ตอนนั้นโรงหนังอาร์ตเฮ้าส์ประจำเมืองได้จัดฉายหนังของเคน ลอช พร้อมเชิญผู้กำกัีบมาจากลอนดอน ให้อาจารย์ที่สอนในมหาวิทยาลัยของดิฉันเป็นพิธีกร แต่เราก็ต้องจ่ายเงินซื้อทั้งตั๋วและร่วมฟัง รู้สึกว่าราคาสูงมาก 7-8 ปอนด์เมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว
 |
แต่คู่กรรมรอบนี้เกิดขึ้นได้จากคนดูกลุ่มหนึ่งที่ชื่นชอบหนัง ไปตั้งกระทู้ที่เรียกกันว่า "กระทู้มโนแจ่ม" ในห้องพันทิปและหน้าเพจ M39 บรรยายความรู้สึกของตนที่มีต่อหนัง จนแพท แฟนเพจคนหนึ่งกล่าวว่าอยากให้จัดรอบพิเศษรวมแฟนคลับหนังพบกับผู้กำกับ ทางแอดมินของเพจ 39 เสนอแนะให้้รวบรวมคนจนครบ 200 คน จะนำเสนอกับทีมงานให้
อิฐ หนุ่มสุราษฏร์ที่เป็นแฟนเว็บไทยซีเนม่าด้วย จึงเริ่มจัดกลุ่ม แฟนพันธุ์พิเศษ บนหน้าเฟซบุ๊กของตน เพื่อรวบรวมคนให้ครบ อิฐซึ่งดิฉันรู้ว่าเป็นคนรักหนังที่ดูหนังทั้งอาร์ตไม่อาร์ต และเป็นคนตรงไปตรงมา คนที่ดิฉันมั่นใจว่าไม่เป็นหน้าม้าใคร
เอาเข้าจริงมีคนมาลงชื่อกว่า 300 คน จน M39 ตกลงจัดงานให้ในที่สุด โดยเน้นการดำเนินงานที่มาจากพลังของแฟนเป็นส่วนใหญ่ ให้การสนับสนุนทุกอย่าง โดยคุณอ๊อฟ มลฑล อารยางกูร ผู้กำกับ I Miss You และพีอาร์ มาร่วมประชุมกับตัวแทนของกลุ่ม ไม่ขอเก็บค่าตั๋วใด ๆ แม้ว่าทางกลุ่มจะเสนอให้ตั้งกล่องรับบริจาคไว้แล้วแต่ศรัทธาของแฟนคลับ
ผู้เขียนไม่ได้้อยู่ในกลุ่มนี้ตั้งแต่แรก แต่ได้ติดต่อขอดูหนังไปที่ M39 เพราะก่อนหน้านั้นเดินทางไปต่างประเทศ กลับมาก็แทบจะไม่เหลือรอบให้ดู |
เมื่อถึงวันงาน ก็ทึ่งกับสิ่งที่ได้เห็น คนมารอที่เอสพลานาดตั้งแต่ห้างยังไม่เปิด ทั้งที่รู้ว่าจะได้พบเฉพาะผู้กำกับและทีมงานเท่านั้น ไม่มีดารามา ไม่ว่าจะเป็นณเดชน์หรือริชชี่ โชคดีที่เป็นเช้าวันอาทิตย์ ยังไม่ค่อยมีคนมาดูหนังเรื่องอื่นๆ เพราะคนเยอะมาก ทางสต๊าฟเองก็พยายามแจกตั๋วตรงทางขึ้นโรงหนัง ไม่ให้ไปเกะกะคนอื่น ๆ คนที่ี่ลงทะเบียนก่อนหน้านั้น ได้คัดเหลือประมาณ 380 คน เพราะีที่นั่งในโรงมีเพียง 339 ที่นั่ง มีคนที่มารอข้างหน้าอีก 20 กว่าคน ส่วนหนึ่งเป็นคนที่ไม่ได้เล่นเฟซบุ๊ก ก็เลยไม่ได้เข้าไปจองที่ก่อนหน้านั้น
มีการนำของที่ระลึกมาขาย พร้อมกับมุมที่ให้ทุกคนได้แสดงความรู้สึกที่มีต่อหนังคู่กรรม ใครมีความในใจสั้น ๆ ก็เขียนลงบนโปสเตอร์ ใครอยากเขียนยาว ๆ ก็จารึกลงบนสมุดบันทึก เรารอกันจนถึงประมาณสิบเอ็ดโมงครึ่ง ช้ากว่าเวลาเดิมที่กำหนดไว้ไปครึ่งชั่วโมง เพราะคนเยอะจนการแจกตั๋วล่าช้าออกไป ที่นั่งเต็มหมด คนส่วนหนึ่งจะต้องมานั่งพื้น เรียวนำเวอร์ชั่นที่มีเสียงความคิดของริชชี่มาฉายให้ดู
เมื่อฉายหนังจบ พิธีกรสองคนก็ขึ้นมาเชิญเรียว กิตติกร และคุณเอี๋ยม ชาญศักดิ์ ลีลาเกษมสันต์ ผู้ทำวิจัยให้กับหนังเรื่องนี้ ทั้งสองก็แอบอยู่ในกลุ่มคนดูนั่นล่ะค่ะ เรียวยังคงพูดจาติดตลกเหมือนเดิม กล่าวว่า ถ้าเป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ให้คุณเอี๋ยมเป็นคนตอบ ส่วนข้อมูลรัก ๆ ใคร่ ๆ ให้ถามที่เขา ถ้าใครไม่ได้นั่งในเหตุการณ์ ก็คงโควตข้อความนี้ไปปรามาสเขาอย่างเหตุการณ์ที่เคยเกิดก่อนหน้านั้น แต่ถ้าคุณไม่เคยคุยกับเขา จะไม่รู้ว่าเรียวเป็นคนสนุกสนานที่พยายามพูดให้คนฟังสนุกเท่านั้นเอง ในฐานะที่ทำสื่อมา การตัดตอนคำพูดนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก บางครั้งมันส่งผลอย่างที่เราคาดไม่ถึง

การพบปะพูดคุยยาวนานถึงชั่วโมงกว่า ซึ่งจะขอเล่าให้ฟังอย่างย่อ ๆ เพราะยังมีเรื่องที่ต้องการจะเขียนอีกมาก มีการถามตอบกันอย่างสนุกสนาน แจกของที่ระลึกทั้งจากริชชี่ วนัส ณเดชน์ คุณเอี๋ยมและเรียวเอง ทุกชิ้นเป็นที่ต้องการของคนดูยิ่งนัก หลังจากนั้นแล้ว ก็มีการถ่ายรูปร่วมกับคนดู และแฟนพันธุ์พิเศษมอบเค้กที่แต่งหน้าเป็นโลโก้คู่กรรมให้กับทางเรียวและทีมงานด้วย
ติดตามการรวมตัวกันและรายงานวันฉายหนังพร้อมภาพสวยงามโดยละเอียดได้ที่นี่ http://pantip.com/topic/30485168
ชื่อดิฉันก็เลยไปอยู่ในกลุ่มเฟซบุ๊ก แฟนพันธุ์พิเศษ อย่างไม่ได้ตั้งใจ เพราะตอนขอดูหนังกับ M39 นั้น ก็ต้องไปสมัครเป็นสมาชิกเหมือนกับคนอื่น ๆ จนได้ไปเห็นการเคลื่อนไหวของคนกลุ่มนี้ที่ทำให้ดิฉันนึกถึงเพื่อน ๆ สมัยไปเรียนหนัง หรือคนรักหนังทั่วไปตามเทศกาลหนังใหญ่ ๆ อย่างคานส์ เบอร์ลิน ที่เที่ยวมาขอตั๋ว ขอของที่ระลึกจากคนที่มีสิทธิ์เข้างาน ตัวเองไปในฐานะนักวิจารณ์มักจะได้รับสิทธิพิเศษเสมอ แต่ขี้เกียจขนกลับ ก็เอามาแจกคนเหล่านี้เป็นประจำ นึกถึงเทศกาลหนังฟาร์อีสต์ที่ี่ตนเองทำงานอยู่ ซึ่งเเน้นการฟังเสียงจากคนดูหรือประชาชน โดยกำหนดให้มีตัวแทนจากชุมชนเข้ามาเลือกหนังฉายในเทศกาลด้วย
ในวงการหนังไทยที่ผ่านมา เรายังไม่มีงานที่เกิดจากพลังเสียงจากประชาชนอย่างแท้จริง อาจจะมีบ้างก็กลุ่มหนังอาร์ตอย่างของเจ้ย อภิชาติพงศ์ งานของเป็นเอก มะเดี่ยว ซึ่งมักจะเป็นคนรักหนัง มีความรู้หนังในระดับหนึ่ง
แต่คนกลุ่มนี้เขามีแต่หัวใจ น้อง ๆ ที่มาร่วมงานในวันนั้นหลายคนมากันไกลมาก ไม่ใช่อิฐคนเดียวที่มาจากสุราษฎร์ แต่ยังมีคนที่มาจากเชียงใหม่ อุดรธานี ระยอง สุโขทัย คนที่มาร่วมงานวันนั้นก็มีทั้งเด็ก ๆ ที่กำลังเรียนอยู่ หลายคนเลิกดูหนังไทยในโรงหรือละครมานานกว่า 5 ปี รวมทั้งรุ่นเดอะ ป้า ๆ อย่างทีมของดิฉัน ซึ่งมีเพื่อนอาจารย์จากมหิดลไปดููรอบที่ 9 และหมอ มาดูรอบที่ 10 ทั้งคู่เป็นแฟนคู่กรรมมาตั้งแต่ยุคหนังนาถ ภูวนัยกับดวงนภา อรรถพรพิศาล ส่วนดิฉันดูครั้งแรกกับเวอร์ชั่นละครของนิรุตติ์ - ศันสนีย์
หลังจากงานวันนั้น ทางกลุ่มแฟนพันธุ์พิเศษก็ยังคงติดต่อกันทางเฟซบุ๊กอยู่เป็นประจำ หลายคนยังคงไปดูหนังในสองโรงที่เหลือ คือ อีจีวีลาดพร้าว และเมเจอร์สำโรงอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเมื่อคืนวันพุธที่ 22 พค.ที่ผ่านมา ทั้งหมดก็รวมตัวกันอีกครั้งสำหรับรอบ ซาโยนาระ ตอนสองทุ่มที่เมเจอร์สำโรง
มีคนมาดูอยู่ 40 คนได้ แต่ละคนบ้านจะอยูู่่กันไกล ๆ แทบทั้งสิ้น ลาดพร้าวบ้าง หนองแขมบ้าง มหาชัยก็มี บางคนมาจากอุดรธานี แม้ว่ากว่าจะดูหนังเสร็จก็สี่ทุ่มครึ่งเข้าไปแล้ว

มีการจัดงานอำลาคู่กรรมเล็ก ๆ น้องชลซึ่งเป็นบรรณารักษ์ยังคงหอบเค้กมาจากมหิดล และคุณแพ็ทกับทีมสต๊าฟนำของที่ระลึกจากทั้งเมเจอร์สำโรงและที่หอบหิ้วมากันเอง แจกเพื่อน ๆ อีกครั้ง
จากรอบสุดท้ายนั้น ทำให้ดิฉันพบว่า 7 รอบของดิฉัน ซึ่งเป็นการดูหนังไทยในโรงมากที่สุดนั้น มันดูจิ๊บจ๊อยไปเลย น้อง ๆ แต่ละคนดูกันสิบกว่ารอบขึ้นไป โดยตัวเลขสูงสุดอยู่ที่ 25 อันดับสองอยู่ที่ 20 ต้น ๆ และอันดับสามอยู่ที่ 19 รอบ โดยสองอันดับแรกนั้นเป็นชายหนุ่มที่ทำงานแล้วทั้งสิ้น
แถมขากลับ ก็ยังช่วยกันหอบสแตนดี้โกโบริณเดชน์และอังศุมาลินริชชี่ที่เหลือเพียงชุดเดียวกลับบ้านด้วย อันที่จริงแล้ว พวกเขาพยายามไปขอของที่ี่เหลือตามโรงหนังต่าง ๆ แต่ส่วนใหญ่จะทิ้งกันหมดแล้ว เหลือที่นี่เพียงแห่งเดียว สแตนดี้ใหญ่โตจนต้องช่วยกันหอบเอาขึ้นรถไฟฟ้ากลับบ้านกัน

ทีมแฟนพันธุ์แท้ช่วยกันแบกคัทเอ้าท์ที่เหลือขึ้นรถไฟฟ้าหลังจากรอบซาโยนาระ
ดิฉันไม่เคยเห็นปรากฎการณ์แบบนี้เกิดขึ้นกับหนังไทยมาก่อน สมัยเด็ก ๆ เวลาที่ตัวเองชอบหนังไทยเรื่องไหน อย่างมากก็จะโทรไปขอโชว์การ์ดกับโรงหนังหรือบริษัท ซึ่งบางเจ้าก็ใจดี ส่งไปรษณีย์มาให้ที่บ้าน
ความจริงแล้ว คู่กรรม ถ้าทำออกมาดี ๆ มักจะสร้างปรากฏการณ์กับคนดูอยู่เรื่อย ๆ แตกต่างกันไปตามความเจริญก้าวหน้าในแต่ละยุคแต่ละสมัย เท่าที่จำได้ เวอร์ชั่นวรุต จินตหรา จะได้ยินเสียงลั่นกล้องแชะแชะดังอยูู่ตลอดเวลา เพราะการเก็บภาพที่ระลึกสมัยนั้นหายาก อีกครั้งหนึ่งก็สมัยละครพี่เบิร์ด-กวาง ซึ่งคนเฝ้าหน้าจอตั้งแต่วันแรก ถนนโล่งทุกครั้งที่ละครฉาย จนคู่กรรมติดเรตติ้งสูงสุดตลอดกาลถึง 40 สื่อทุกเล่มต่างเขียนถึง แม้แต่เพื่อนที่เป็นนักข่าวฐานเศรษฐกิจ ก็ี่พยายามรายงานข่าวเชิงธุรกิจ เพื่อจะได้ไปสัมภาษณ์กวาง กมลชนก
แม้แต่งานวิจารณ์เล็ก ๆ ของตนเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ ก็เจอปรากฎการณ์นี้กับเขาด้วย บทวิจารณ์คู่กรรมของตนนัั้นถูกแชร์ทางเฟซบุ๊กถึง 5,000 รายในวันเดียว มีผู้กำกับบางท่านส่งข้อความมาบอกว่าชอบมาก ได้เรีัยนรู้อะไรมากมายจากบทวิจารณ์นั้น ต่อมาเมื่อมีคนเอาไปโพสที่ห้องเฉลิมไทย ก็มีแฟนคลับดาราตามมาระรานที่หน้าแฟนเพจ อันเนื่องมาจากการเปรียบเทียบ 4 เวอร์ชั่น คือ เวอร์ชั่นละครพี่เบิร์ด-กวาง เวอร์ชั่นพี่หง่าวยุทธนา และเวอร์ชั่นละครล่าสุด เพียง 2-3 บรรทัด เป็นปรากฎการณ์ที่ไม่เคยเจอเช่นกัน
ดิฉันชอบหนังล่ะ ยอมรับ บางตอนก็เบื่อ ง่วงนอน แต่ระหว่างที่เกิดความรู้สึกเช่นนั้น ดิฉันรู้ว่าเดี๋ยวจะมีฉากที่ตัวเองชอบที่สุด เรียวได้คิดฉากที่ถือว่าใหม่มากสำหรับหนังไทย ซึ่งไม่ขอบอกว่ามีอะไรบ้างล่ัะ่ะ วิจารณ์ไปหมดแล้ว
 |
หลังจากดูหนัง 4 รอบ ดิฉันต้องเดินทางไปต่างประเทศ ตัดสินใจเขียนจดหมายถึงเรียวส่งจากสุวรรณภูมิ ก่อนขึ้นเครื่อง ให้กำลังใจเขาว่า
"ในฐานะที่ดูคู่กรรมตั้งแต่เวอร์ชั่น นิรุตติ์ - ณเดชน์ แล้วคู่กรรมฉบับล่าสุดก็มาอยู่ในใจของเรา ขอขอบคุณสำหรับหนังดี ๆ"
มีบางคนเตือนว่า ระวังจะถูกหาว่ารับเงิน ถ้าเป็นเมื่อก่อน คงเฉ่ง ตอนนี้้หัวเราะใส่ ย้อนไปว่าสู้ค่าตัวของดิฉันได้หรือ ฝรั่งจ่ายค่าจ้างดิฉันเป็นคำนะคะ แล้วก็มาดูบ้านของดิฉันแทนล่ะกัน |
แต่ที่ออกมาช่วยหนังมาก ก็เพราะเห็นว่าหนังไม่สมควรจะโดนกระแสของผู้ไม่หวังดีและดูหนังไม่เป็น ทำลายซะขนาดนั้น
สิ่งที่ดิฉันดีใจมากกว่า ก็คือความคิดเชิงบวกของคนกลุ่มนี้ พวกเขาให้ความสำคัญกับทุกคนที่เกี่ยวข้องกับหนังเรื่องนี้ ทั้งทีมงานเบื้องหลังอย่างคุณเอี๋ยม ไม่ใช่เฉพาะดาราอย่างณเดชน์หรือริชชี่เพียงอย่างเดียว พวกเขาอาจจะไม่ใช่คอหนังตัวยงที่รอบรู้ภาษาหนังมากนัก แต่เขาก็รักหนังเรื่องนี้ รักอย่างมีความคิด
ดิฉันเข้าใจนะคะว่า แฟนคลับนั้นมีความรักบริสุทธิ์ แต่ถ้าถึงกับลุ่มหลงจนเสียสติ ใครมาวิจารณ์งานศิลปินของตนทีไร ก็ไปตามคนในกลุ่มมารุมประชาทัณฑ์ มันไม่ดีกับใคร แม้แต่ตัวศิลปินเอง เท่าที่ตามดูการเคลื่อนไหวของกลุ่มนี้ เขาไม่ได้ใส่ใจกับกระทู้ที่หน้าพันทิปมากนัก มีการบอกกล่าวถึงคนตามด่าหนังแค่ 2 ครั้ง ครั้งแรกเป็นผู้ไม่ประสงค์ดีที่ตามด่าคู่กรรมตั้งแต่หนังรอบเพรสยังฉายไม่จบ แล้วก็ยังไม่เลิกจนบัดนี้ อีกครั้งก็ตอนณเดชน์ได้รางวัล แต่แฟนพันธุ์พิเศษไม่ได้เข้าไปโต้ตอบอะไร หลังจากนั้นแล้ว ก็ไม่มีใครมาโพสต์อะไรแบบนี้อีก ยังวนเวียนรักหนังคู่กรรมต่อไป บางคนยังเสนอแนะด้วยว่าไม่ต้องไปให้ความสำคัญกับตัวป่วนนั้น บ้างบอกว่าให้โต้ตอบด้วยการนำเสนอกิจกรรมของเราในกระทู้ป่วนนั้นแทน บางทีก็แนะนำว่าให้เฉย ๆ ไปเสีัย
ตรงนี้ต่างหากที่ดิฉันคิดว่าสำคัญกว่า เพราะมันเป็นความคิดสร้างสรรค์ ไม่ใช่เฉพาะในวงการหนัง แต่สังคมโดยรวม สิ่งที่เกิดขึ้นกับคู่กรรมนั้น เราจะไม่ขอมาสรุปล่ะนะว่าเกิดจากอะไร แต่ที่ตัดสินใจเขียนรายงานนี้ เพียงเพื่อจะบอกว่าเราสามารถสร้างแฟนคลับสร้างสรรค์ในวงการหนังและสังคมไทยได้ ซึ่งกลุ่มแฟนพันธุ์พิเศษคู่กรรมหนังได้พิสูจน์ให้เห็นแล้ว อาจจะเป็นเพระว่าพวกเขาเป็นเพียงกลุ่มคนตัวเล็กๆ ที่ถูกผลักดันไม่ให้ใช้พื้นที่สังคมใหญ่ พวกเขาจึงเข้าใจความรู้สึกของการเป็นคนตัวเล็กได้ดี และดิฉันหวังว่าน้อง ๆ จะรักษาการรวมกลุ่มที่สร้างสรรค์แบบนี้อีกต่อไป มิิใช่เพียงความหลงจนนำไปสู่ทางลบในที่สุด


ภาพทั้งหมดเป็นของกลุ่มแฟนพันธุ์แท้ คู่กรรมหนัง ถ้าใครนำไปใช้ โปรดให้เครดิตกับเขาด้วยค่ะ |