สนับสนุนโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม Supported by Office of Contemporary Art And Culture ,Ministry Of Culture

หน้าแรก
ข่าว
วิจารณ์
สัมภาษณ์
บทความพิเศษ
รายงานหนังไทยในเทศกาลหนังต่างๆ
รายชื่อหนังสือและบทความเกี่ยวกับหนังไทย
รายชื่อ ที่อยู่ หน่วยงาน
 
รายชื่อหนังเก่า
 
 
 
 

 
ม้ง สงครามวีรบุรุษ
  LINK : ดูไปบ่นไป ม้ง สงครามวีรบุรุษ
 
Share |
Print   
 

 

 

 

 

 

บริหารงานสร้าง บริษัท ป้าเย้งเรซอัพ โปรดั๊กชั่น จำกัด
อำนวยการสร้าง มานิตย์ แซ่ว่าง , พรเทพ วัจน์นาถรุ่งโรจน์ ณัฐพงษ์ ชญาพิพรรธน์กุล
กำกับการแสดง เสรี พงศ์นิธิ , เจมมี่ ว่างลี
ดำเนินการสร้าง วิชัย แซ่อื้อ , เพ็ญจันทร์ วงศ์สมเพ็ชร
บทภาพยนตร์ เจมมี่ ว่างลี
้กำกับภาพ วิเชียร เรืองวิชญกุล
ผู้กำกับฝ่ายศิลปกรรม ณรงค์ เกิดเงิน , ถิรนันท์ จันทคัต
ผู้กำกับคิวบู๊ คมสันต์ บุญเสร็จ
ควบคุมเสียง บ.ซีอาลอต จก.
อุปกรณ์กล้อง /อุปกรณ์ไฟ สตูดิโอกรุงเทพ
Computer Graphic ภราดร วิริยะพิษฐาน
ดนตรีประกอบ ลิ้นจี่
เพลงประกอบภาพยนตร์ เป้ ไฮร็อค
ผู้ลำดับภาพ สุนิตย์ อัศวินิกุล
ออกแบบเสียง สุนิตย์ อัศวินิกุล
ฝึกสอนการแสดง เพ็ญจันทร์ วงศ์สมเพ็ชร
ฟิล์มแล็ป บ.เทคนิคคัลเลอร์

ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เปิดตัวครั้งแรกที่เทศกาลหนังมินเนียอาโปลิส สหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนเมษายน - พฤษภาคมทีี่่ผ่านมา โดยทีมงานได้เข้าร่วมปรากฎตัวในเทศกาลด้วย และ เจมมี่ ว่างลี ผู้กำกับชาวม้ง เคยเกิดที่เมืองนี้

เรื่องย่อ "ม้ง...สงครามวีรบุรุษ"

ผู้พันเกรียงไกร เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ปราบปรามคอมมิวนิสต์ ในหมู่บ้านของ เด็กชายเก๊ง เด็กชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง เมื่อกองทหารเข้าถล่มทำให้ ผู้พันเกรียงไกร รับรู้ว่าเกิดการผิดพลาดครั้งยิ่งใหญ่เพราะหมู่บ้านนี้มีแต่ชาวบ้านทั้งนั้น แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งอะไรได้แล้ว

ผู้พันเกรียงไกร พบว่าเด็กชายเก๊งตกอยู่ในอันตรายท่ามกลางกองเพลิง ผู้พันจึงฝ่ากองเพลิงเข้าไปช่วยเด็กออกมาได้โดยไม่คำนึงถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับตัวเอง ในที่สุดใบหน้าของผู้พันต้องเสียโฉมเพราะถูกไฟลวกไปข้างหนึ่ง บาดแผลที่ใบหน้าของผู้พันแสดงถึงความกล้าหาญของนักรบที่เต็มไปด้วยคุณธรรมและศีลธรรม แต่การไปรบครั้งนี้ทำให้ผู้พันต้องสูญเสีย ร้อยเอกสุพจน์ เพื่อนรุ่นน้อง ด้วยน้ำมือของเจ้อดัว พ่อเด็กชายเก๊ง ผู้พันเกรียงไกรจึงนำเด็กชายเก๊งที่กลายเป็นเด็กกำพร้ามาเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรมพร้อมกับ ชาติ ลูกชายของตัวเองที่คอยปกป้องน้องใหม่มาตั้งแต่เล็กจนโต และ อารียา ลูกสาวของร้อยเอกสุพจน์ เด็กทั้งสามจึงเติบโตมาด้วยกัน

ผู้พันได้ปลูกฝังให้เด็กชายเก๊ง รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เก๊งได้ซึมซับพระกรุณามหาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงรัก และ ห่วงใยชาวเขาทุกชนเผ่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จไปเยี่ยมเยือนชาวไทยภูเขาทุกหมู่เหล่าในถิ่นทุรกันดาร โดยมิทราบว่าพระองค์เป็นใคร รู้แต่เพียงว่าพระองค์เป็นที่เคารพรักของพสกนิกรทุกหมู่เหล่าซึ่งเปรียบเสมือนเทพเจ้าที่ทรงมีคุณธรรมและปรีชาสามารถที่จะนำเขากลับไปยังบ้านเกิดได้ เขาจึงเกิดความศรัทธาและซาบซึ้งในคุณงามความดีและความมีน้ำพระทัยขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาโดยตลอด ด้วยเหตุนี้ทำให้เก๊งเติบโตขึ้นกลายเป็นนายทหารหนุ่มที่พร้อมจะทำงานเสียสละเลือดเพื่อชาติไทยอย่างเต็มภาคภูมิ

15 ปีต่อมา...เก๊ง หรือ ร้อยเอกทรงเกียรติ ได้ถูกส่งตัวไปรบที่เขาค้อ เพื่อทำสงครามจิตวิทยาเกลี้ยกล่อมให้ชาวม้งกลับมาเป็นคนไทยโดยสมบูรณ์ ส่วนอารียา เรียนจบหมอจากต่างประเทศ เธอจึงเข้าป่าไปพร้อมกับเหล่านักศึกษา เพื่อตามหาศพของพ่อที่ตกไปพร้อมเฮลิคอปเตอร์ในอดีต แต่ด้วยความเป็นหมอเมื่อเห็นคนเจ็บจำนวนมากทำให้ อารียา ไม่อาจละทิ้งสมรภูมิเขาค้อไปได้ แต่ด้วยที่ เก๊งมีสายเลือดม้ง ทำให้เกิดความแคลงใจกลัวว่าเขาจะเกิดเปลี่ยนใจ ทางกองทัพจึงจำต้องส่ง ชาติ พี่ชายต่างสายเลือดไปประกบเพื่อตามดูพฤติกรรม หากแม้ เก๊ง คิดทรยศต่อประเทศชาติให้สังหารได้ทันทีโดยไม่ต้องคำนึกถึงความเป็นพี่น้อง.......

“ม้ง...สงครามวีรบุรุษ” ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรดู เตรียมเข้าฉายแล้ว ปลายเดือนสิงหาคมทุกโรงภาพยนตร์

 


 

ที่มาของหนัง

สงครามการเมืองระหว่างรัฐบาลกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ( พคท. ) ระหว่างปี พ.. 2511-2525 ก่อให้เกิดสมรภูมิเลือดแทบทุกพื้นที่ของประเทศไทย เขาค้อเป็นอีกสมรภูมิหนึ่งที่คร่าชีวิตของพลเรือน ตำรวจ ทหาร และประชาชน มากกว่าที่ใดๆ พคท.ปลุกระดมชาวม้งเป็นกำลังหลักเพื่อต่อสู้กับรัฐบาล เพราะชาวม้งมีความเฉลียวฉลาดในการรบแบบกองโจร

และด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อีกทั้งมีเจ้าหน้าที่บางกลุ่มใช้อิทธิพลและอำนาจของรัฐ ร่วมกับผู้นำม้งนอกรีตบางคนไปข่มเหงรังแกชาวบ้านตามหมู่บ้านต่างๆ ทำให้เกิดเป็นช่องโหว่จนมีชาวม้งส่วนหนึ่งหลงผิดและเข้าร่วมขบวนการของพคท.

รัฐบาลไทยถือว่าเขาค้อเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ต้องเผด็จศึก เพื่อความมั่นคงของประเทศชาติ รัฐบาลต้องตัดตอนการขยายตัวของพรรคคอมมิวนิสต์ เขาค้อจึงกลายเป็นสมรภูมิเลือดที่รุนแรงอีกสมรภูมิหนึ่งในประวัติศาสตร์ของไทย

แคแรกเตอร์นักแสดง

 

อัฐมา ชีวนิชพันธ์ ( โบวี่) : รับบท อารียา
"ทองแท้ไม่ว่ามันจะไปตกอยู่ที่ไหนมันก็ยังเป็นทองวันยังค่ำ ยาเชื่อมั่นในตัวพี่เก๊งนะค่ะแต่...พี่ต้องสัญญานะค่ะ ว่าจะไม่ทำอะไรที่เสี่ยงเกินไป อย่าลืมว่ามีคนที่รักและห่วงใยพี่อยู่ข้างหลัง"

 

 

อัครัฐ นิมิตชัย ; รับบท ร้อยโททรงเกียรติ หรือ เก๊ง
"คราวนี้ทุกคนจะได้รู้ว่า ไอ้ม้งคนนี้ ไม่เคยเอาเรื่องส่วนตัวมาก่อนหน้าทีเลย ถึงตายผมก็ไม่เสียดายชีวิต แต่ที่เสียใจที่สุด ผมเป็นม้ง กลับพูดม้งไม่ได้"

พีระพันธุ์ อารยาพันธุ์ (โอ้ต) : รับบท ชาติ
"การพิสูจน์เลือด มันเป็นวิธีที่ล้าสมัย และมันอาจจะเป็นวิธีที่จะชักช่วยให้แกเขาร่วมขบวนการคอมมิวนิสต์ ซึ่งพี่ไม่มีวันยอมให้เป็นเช่นนั้น"

สรพงษ์ ชาตรี : รับบท ผู้พันเกียงไกร
"สงครามครั้งนี้ แค่คนไทยเข่นฆ่ากันเองมันก็แย่พออยู่แล้ว พ่อไม่อยากให้ลูกรู้สึกผิด ว่าคนที่ลูกต่อสู้อยู่นั้น เคยเป็นเพื่อนบ้านกับลูกหรือเปล่า หรือเคยกินข้าวร่วมวงเดียวกัน"

ธนายง ว่องตระกูล : รับบท ผู้พันองอาจ
"เมื่อทุกคนมอบตัว เราจะถือว่าพวกท่านเป็นพลเมืองของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เราจะอยู่ร่วมกันอย่างสันติตลอดไป"

โชคชัย เจริญสุข : รับบท ร้อยเอกสีวะ
"เราจะปกป้อง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ จวบจนชีวิตจะหาไม่ ลูกเมียต้องทำใจ เมื่อเขามีพ่อ มีสามีเป็นทหารไทย"

สุเอจ พูลสวน : รับบท ร้อยโทเดชา
"ทหารไทยทุกนาย มีหน้าที่ต้อง เสียสละเลือดทุกหยดในร่าง เพื่อปกป้องผื่นแผ่นดินไทย ทุกตารางนิ้ว"

บุญรัตน์ แซ่หยาง : รับบท ละเอียด
"พี่ทำถูกต้องแล้วใช่ไหม..ที่เลือกเสียสละชีวิตปกป้องชนเผ่า พี่หวังว่าน้องคงไม่ใช่คนที่นำกำลังทหาร มาเข่นฆ่าพวกเรา"

นัฐพงษ์ สืบศักดิ์วงศ์ : รับบท เจ้อดัว
"ที่พวกเราต้องรบ ก็เพื่อความอยู่รอด เพราะฉะนั้น ที่นี่คือที่สุดท้าย ที่นี่คือลมหายใจของเรา เราจะสู้จนลมหายใจสุดท้าย"

ศาต สันติ ; รับบท สหายแดง
"อำนาจมันอยู่ที่ปากกระบอกปืน ถ้าเรายอมจำนน พี่น้องม้งที่ต้องตายไปในสนามรบตั้งมากมายล่ะ เราจะเอาหน้าที่ไหนไปสู้กับพวกเขา"

ดารารับเชิญ

สุเชาว์ พงษ์วิไล : รับบท ผ.บ กองทัพบก

นาท ภูวนัย : รับบท เสธ.ทหารกองทัพบก

เอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์ : รับบท สุพจน์

นาตยา จันทร์รุ่ง ; รับบท มณี

อิทธิกร สาธุธรรม : รับบท จ่าวสันต์

ฤทธิ์ ลือชา ; รับบท กำนันเส็ง

 

   
   

Everything you want to know about Thai film, Thai cinema
edited by Anchalee Chaiworaporn อัญชลี ชัยวรพร   designed by Nat  
COPYRIGHT 2004 http://www.thaicinema.org. All Rights Reserved. contact: ancha999 at gmail.com
By accessing and browsing the Site, you accept, without limitation or qualification, these copyrights.
If you do not agree to these copyrights, please do not use the Site.