สนับสนุนโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม Supported by Office of Contemporary Art And Culture ,Ministry Of Culture

หน้าแรก
ข่าว
วิจารณ์
สัมภาษณ์
บทความพิเศษ
รายงานหนังไทยในเทศกาลหนังต่างๆ
รายชื่อหนังสือและบทความเกี่ยวกับหนังไทย
รายชื่อ ที่อยู่ หน่วยงาน
 
รายชื่อหนังเก่า
 
 
 
 

   

ชัมบาลา

  LINK : แคแรกเตอร์ตัวละคร            เล็ก GREASY CAF?’ แต่งเพลง
  บทวิจารณ์ ชัมบาลา หนังการเดินทางของไทยที่ดีที่สุดในรอบหลายปี
 
Share |
Print   
       
 

 

เล็ก GREASY CAF?’ ในทิเบต ร่วมถ่ายภาพและแต่งเพลง

 

 

 

กำหนดฉาย 23 สิงหาคม 2555
แนวภาพยนตร์ โรแมนติค-ดราม่า
สร้างและจัดจำหน่าย สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล
อำนวยการสร้าง สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ
ควบคุมการสร้าง อัครพล เตชะรัตนประเสริฐ
ดำเนินงานสร้าง สุกุลยา สุจริตธนารักษ์
กำกับภาพยนตร์ ปัญจพงศ์ คงคาน้อย
เรื่อง/บทภาพยนตร์ ปัญจพงศ์ คงคาน้อย และ ณัฐ นวลแพง(นาคปรก)
ที่ปรึกษาด้านข้อมูล รศ.ดร.กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์
กำกับภาพ ณัฐวุฒิ กิตติคุณ (โหมโรง,องค์บาก1-3,ต้มยำกุ้ง,ตำนานสมเด็จพระนเรศวรฯ)
กำกับศิลป์ บรรพต งามขำ (ปืนใหญ่จอมสลัด,องค์บาก2-3)
ลำดับภาพ ศราวุธ นะคะจัด
เทคนิคพิเศษ บ.เซอร์เรียล สตูดิโอ
บันทึกเสียง ห้องบันทึกเสียงรามอินทรา
ฟิล์มแลบส์ สยามพัฒนาฟิล์ม
ดนตรีประกอบ บ.คณิศรสตูดิโอ
เพลงประกอบภาพยนตร์ “ประโยคบอกเล่า” ขับร้องโดย Greasy Caf?’
คำร้อง/ทำนอง GreasyCafe’
เรียบเรียง รุ่งโรจน์ อุปถัมภ์โพธิวัฒน์ และ Greasy Caf?’
ออกแบบเครื่องแต่งกาย พรทิพา แสงอุทัยวัฒนา
แต่งหน้า/ทำผม จิรวัฒน์ ทาสาย
ฝึกสอนการแสดง ณัฐ นวลแพง
นักแสดง อนันดา เอเวอริงแฮม, ซันนี่ ซี สุวรรณเมธานนท์, โอซา แวง, ฝน-นลินทิพย์ เพิ่มภัทรสกุล, ธนากรณ์ คุ้มภัย

แคแรกเตอร์ตัวละคร

เรื่องย่อ

วุฒิ(ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์) ชายหนุ่มสุดเซอร์ผู้ที่ยึดมั่นในความรักมากกว่าสิ่งใด และพร้อมจะทำทุกอย่างเพื่อให้ น้ำ(ฝน นลินทิพย์ เพิ่มภัทรสกุล) แฟนสาวผู้ที่ฝันว่าครั้งหนึ่งในชีวิต เธอจะเดินทางไปถึง ชัมบาลา ดินแดนที่ผู้คนเชื่อกันว่า เป็นประตูของโลกที่อยู่ในจุดที่ใกล้กับสวรรค์มากที่สุด

 แต่เมื่อร่างกายที่ไม่อำนวยเธอจึงยกความฝันนั้นให้แก่วุฒิ ไปเยือนชัมบาลาแทนเธอ วุฒิแบกความหวังของน้ำโดยหวังที่จะเติมเต็มความฝันครั้งสุดท้ายก่อนที่เธอจะจากโลกนี้ไป เดินทางสู่ชัมบาลา พร้อมกับ ทิน(อนันดา เอเวอริงแฮม) พี่ชายสุดกาก แถม ไม่กินเส้น ที่อาสาเดินทางไปเป็นเพื่อนถ่ายภาพ ช่วยเก็บหลักฐานการเยือนธิเบตของวุฒิ และ สักครั้งที่เขาทั้งคู่จะไปถึงชัมบาลา

ทินเดินทางสู่ชัมบาลา พร้อมการแบกความหลังของความผิดหวังจากเจน(โอซา แวง)หญิงสาวที่เขารัก ฉากหน้าเขาเลือกที่จะเดินทางไปเยือนดินแดนแห่งนี้ เพียงเพื่อเป็นตัวป่วนน้องชาย แต่ส่วนลึกในใจ เขาไปเพื่อลืมบางอย่างในก้นบึ้งหัวใจของเขา

อาการหนาว ความเหนื่อย แรงกดอากาศสูง และ ออกซิเจนที่น้อยเกินไป กลายเป็นคำถามในใจของพี่น้องคู่นี้ ว่า เส้นทางที่พวกเขาเดินไป จะใช่เส้นทางสู่สวรรค์อย่าง ชัมบาลา แน่หรือ หาคำตอบได้ 23 สิงหาคมนี้ 

 

 

ปัญจพงษ์ คงคาน้อย ผู้กำกับเปิดเผย

“ในระหว่าง 10 ปีก่อนที่จะมาทำชัมบาลา ผมเขียนบทและส่งบทหนังทุกปี จำได้ว่าเขียนมาจนถึงปีที่ 8 ก็มีสตูดิโอๆ หนึ่งเขาเริ่มสนใจให้เราเขียนบทไปเสนอ ตอนนั้นรู้สึกว่า 7 ปี 7 เรื่องหรือเยอะกว่านั้น เราเอาเรื่องที่มันมีความประทับใจติดอยู่ในใจดีกว่า ซึ่งเราพยายามย้อนถามว่าชีวิตเราผ่านมา ประสบการณ์ช่วงไหนที่เรารู้สึกอยากจะเขียน ก็จำได้ว่าเฮ้ยตอนไปทิเบต (ทำรายการแดนบีมเดอะซีรี่ส์รายการท่องเที่ยวที่ไปยังทุกทวีปที่มีอยู่บนโลกใบนี้) ก็เลยกลับมาคิดถึงเรื่องทิเบต หลังจากที่ได้เขียนและปรับเปลี่ยนแก้ไขอยู่หลายครั้ง ก็มีช่วงที่ท้อ แต่ก็รวบรวมกำลังใจอยู่เกือบปีเหมือนกัน เริ่มต้นใหม่เปลี่ยนมุมมองทัศนคติง แต่ก็ไม่ลืมความเป็นตัวของตัวเอง ในระหว่างนั้นเพื่อนที่ทำงานอยู่ที่สหมงคลฟิล์มแนะนำว่าลองเสนอที่นี้ด้วยมั้ย จำได้ว่าวันแรกที่เรามาที่นี่ คนที่นี่ก็ให้โอกาสเราแล้ว เราก็รู้สึกว่าเราทำกับที่นี่ดีกว่า เพราะว่าตอนที่คุยกันทีแรกกับที่นี่เหมือนกับไม่ค่อยมีใครบังคับเราเลย เหมือนกับอิสระมาก แล้วแต่เราจะคิดเราทำ แล้วก็ได้ไอเดียต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจากคุณเสี่ย (เสี่ยเจียง สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐประธาน บ.สหมงคลฟิล์มอินเตอร์เนชั่นแนล) คุณหนึ่ง (อัครพล เตชะรัตนประเสริฐโปรดิวเซอร์ภาพยนตร์เรื่องชัมบาลา) หรือทีมงานที่นี่ บอกว่าหนังที่ควรจะเป็น จะเป็นอย่างไร ก็เลยปรับๆๆๆ ออกมาก็เลยกลายเป็นชัมบาลาในปัจจุบัน จากเดิมที่เคยเป็น knocking on a heaven’s door ในเวอร์ชั่นดราฟท์แรก”

 

 


ทีมงานระดับแถวหน้าของเมืองไทย

“อีกอย่างที่ผมรู้สึกว่าโชคดีคือได้ร่วมงานกับทีมงานที่บอกได้เลยว่าโคตรคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นน้ากล้วย (ณัฐวุฒิ กิตติคุณ) 1 ในผกก.ภาพ 5 คนในชีวิตที่เราอยากร่วมงานด้วย น้ากล้วยเป็นผกก.ภาพที่เป็นคนดูหนังแล้วพัฒนาตลอดจริงๆ ถึงได้อยู่ยงคงกระพันมาจนถึงวันนี้ แล้วก็เป็นวัยรุ่นเสมอ จากผลงานที่ผ่านๆ มาของน้ากล้วยจะเห็นได้ว่าหลากหลายรูปแบบมาก ซึ่งบางเรื่องผมไม่รู้อย่างเช่นเรื่องโกลคลับ เฮ้ย น้ากล้วยถ่ายเหรอบ้ารึเปล่า โอ้โหโคตรวัยรุ่นเลย พอๆ กับนางนาก เฮ้ยคลาสสิควะ หรือองค์บากเองก็ตาม หรือโหมโรง มันคนละแนว เช่นเดียวกับ

พี่กุ้ง (บรรพต งามขำผกก. ศิลป์ปืนใหญ่จอมสลัด, องค์บาก2) ที่เป็นอาร์ทไดเร็คเตอร์มือฉมังได้รางวัลมาเยอะ แล้วก็ให้เกียรติผมมาก พอทำงานด้วยกันมีปัญหาก็แก้ไปด้วยกัน เพราะว่าเราไปทิเบตมันก็ไม่เหมือนเมืองไทย เมืองไทยพี่กุ้งอาจจะเนรมิตทุกอย่างได้ แต่ที่นั่นต้องไปเดินหา ต้องไปเสาะแสวงหา ภาษาเขาก็พูดไม่ได้ เพราะเขาก็ไม่พูดภาษาอังกฤษ แต่พี่กุ้งก็ไปหาๆ ทุกอย่างมาจนหนังเรื่องนี้เสร็จสมบูรณ์ได้

พี่ณัฐ นวลแพง ซึ่งเป็นคนเขียนบทภาพยนตร์เรื่องนาคปรกคือผมเป็นคนชอบงานของพี่ณัฐอยู่แล้ว แล้วนาคปรกกับชัมบาลามีความคล้ายคลึงกันอยู่อย่างหนึ่งคือเรามีความจริงใจในการเล่าเรื่อง เราสนใจจากโจทย์ที่จะเล่าก่อน ประเด็นของเราคือทำยังไงให้มันป็อบขึ้น ทำยังไงให้คนสนุกมากขึ้น ทำยังไงให้คนซึมซับหรือรับมันได้มากขึ้น ซึ่งพี่ณัฐก็มาช่วยเติมเต็มในส่วนของบทนี้จนพัฒนามาเป็นชัมบาลาในดราฟท์ที่ถ่ายทำได้ดีมาก รวมถึงทีมงานคนอื่นทุกๆคนไม่ว่าจะเป็นผู้ช่วย โปรดิวซ์ แม้แต่สวัสดิการที่เราไปร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาในที่ทิเบต ผมยอมรับว่าคนเหล่านี้ไม่ได้ทำงานเพื่อผลประโยชน์ในด้านเงินอย่างเดียว เขาเป็นคนทำหนัง เป็นคนที่มีใจรักในงานภาพยนตร์ เพราะไม่งั้นคงหนีตำรวจกับผมตั้งแต่ที่จีนไปจนถึงทิเบตตลอดไม่ได้ ค่ำไหนนอนนั้น อุณหภูมิลบ15องศา ไม่มีข้าวกินเพราะอยู่ในป่าลึก ต้องกินเนื้อดิบๆ นี่คือเรื่องจริง ทุกคนต้องลำบาก เพราะต้องนอนในรถบัส อากาศมันโหดร้ายมาก คือผมโชคดีที่ได้เจอกับทีมงานที่ดี และเป็นความประทับใจมากกว่าสิ่งอื่นใดที่ได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนความคิดความสามารถกันกับคนเหล่านี้ครับผม"

 

ฝีมือถ่ายภาพจากน้ากล้วย ณัฐวุฒิ กิตติคุณ ผู้กำกับภาพระดับแถวหน้าของเมืองไทยที่อยู่เบื้องหลังงานกำกับภาพของนางนาก, ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช, องค์บาก, โหมโรง ฯลฯ ถ่ายทอดความงามของหุบเขา ผืนฟ้า สีสันของทิเบตได้อย่างมหัศจรรย์

ปัญจพงศ์กล่าวว่า : “ก็สำหรับภาพในหลายๆ ฉากหลายๆ ซีนที่เราเห็นสวยๆ ในหนัง อย่างแรกต้องขอบคุณน้ากล้วยครับ แล้วก็ต้องขอบคุณในความอดทนยากลำบากด้วย เพราะบางทีที่เราไปดูเนื่องจากว่ามันเป็นสถานที่ที่มันธรรมชาติมาก ทำให้การที่เราจะวางเฟรม การที่เราจะตั้งกล้อง หรือความสะดวกในการถ่ายทำมันไม่มี ไม่ได้บอกว่ามันมีน้อยนะ แต่มันไม่มี เราก็เลยต้องอาศัยประสบการณ์ของน้ากลัวยนี่แหละในการที่จะมองผ่านเลนส์ซะยังไงให้มันสวย เพราะฉะนั้นแล้วอะไรที่มันสวยๆ ทั้งหมดของหนัง อะไรที่มันมหัศจรรย์ก็ขอให้ยกความดีให้น้ากล้วยเลย เพราะฉะนั้นมุมภาพต่างๆ ที่ถูกดีไซน์มา มันจะถูกดีไซน์ในเชิงเรียลลิสติค มหัศจรรย์มันมีอยู่แล้ว แต่มันอาจจะไม่ใช่แบบ โอ้โหสวยทั้งหมด มันไม่ใช่โจทย์ของเรา เราไม่ได้ต้องการอย่างนั้น เราต้องการให้คนดูตามตัวละครซันนี่และอนันดาไป แล้วค่อยๆ อิ่มเอมเรื่อยๆ ไปกับความสวยงามของทิเบตนะครับผม ถ้าถามว่ายากมั้ย ผมโชคดีที่ได้ทำงานกับน้ากล้วย น้ากล้วยทำให้เรื่องยากกลายเป็นเรื่องง่าย ซึ่งถ้าไปดูในหนังจะเห็นหลายๆ ฉากที่จะเกิดความรู้สึกที่ว่า ถ่ายจากตรงไหนเหรอ ถ่ายมาได้ไง ที่ทิเบตมันมีด้วยเหรอ ซึ่งบอกได้เลยว่าผมรู้สึกว่าโชคดีมากที่ได้ร่วมงานกับทีมงานที่บอกได้เลยว่าโคตรคุณภาพ แล้วน้ากล้วยคือ 1 ผกก. ภาพ 5 ที่ชีวิตนี้เราฝันอยากร่วมงานด้วย”

ชัมบาลา ไม่ใช่ Road Movie แต่เป็นหนังฟีลกู้ดที่เน้นความสัมพันธ์ของตัวละคร

พอบอกว่าหนังเรื่อง “ชัมบาลา” เป็นเรื่องราวของพี่น้อง 2 คนที่นิสัยต่างกันสุดขั้วแต่ต้องออกเดินทางไปด้วยกันยังดินแดนบนหลังคาโลกอย่างทิเบตเพื่อค้นหาสิ่งที่เรียกว่า “ชัมบาลา” ทำให้หลายคนอดไม่ได้ที่คาดคิดไปว่า “ชัมบาลา” ก็น่าจะเป็นหนังในแนวทางเดียวกันที่หลายคนคุ้นเคยก่อนหน้าว่า คงจะเห็น อนันดา กับซันนี่เดินทางไปเรื่อยๆ โชว์สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นสัญลักษณ์หรือแลนด์มาร์กสำคัญของทิเบตแวะเวียนไปตลอดทางตามสไตล์หนังแนว road movie ทั่วไป แต่จริงๆ แล้วคงต้องขอบอกว่านั่นเป็นแค่องค์ประกอบเพียงเสี้ยวเดียวจากทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นในภาพยนตร์ เพราะเนื้อแท้ของเรื่องราวที่จะถูกถ่ายทอดและดำเนินไปของภาพยนตร์โรแมนติค-ดราม่าเรื่องนี้หลอมหลวมเอาความสนุกสนานของเรื่องราวที่ผูกโยงความสัมพันธ์ของแต่ละตัวละครที่คลุกเคล้าไปด้วยอารมณ์ที่หลากหลายทั้งคอมมิดี้, ดราม่า, โรแมนติค, แอดเวนเจอร์, ที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ ซาบซึ้ง และความประทับใจซึ่งคนดูอาจเสียน้ำตาได้โดยไม่รู้ตัวในแนวทางของภาพยนตร์ฟีลกู้ดตามความตั้งใจของผกก.ปี๊ดปัญจพงศ์ที่เน้นอารมณ์สนุกสนานภายใต้สถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นคละเคล้ากันไปตลอดการเดินทางของ 2 พี่น้องในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย

“ถ้าถามผมว่าเสน่ห์ความน่าสนใจของภาพยนตร์เรื่องชัมบาลาคืออะไร ผมว่าคือความสนุก เป็นหนังฟีลกู้ด เพียงแต่ว่าหนังฟีลกู้ดของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ผมก็เลยคิดว่าอย่างแรกที่คนดูจะรับได้มากที่สุดก็คือความสนุก หนังต้องสนุกแต่จะสนุกแบบไหนเท่านั้นเอง โดยวิธีการเล่าเรื่องผมพยายามที่จะให้มันเป็นความสนุกที่เป็นธรรมชาติที่สุด หนังเรื่องนี้ถึงแม้ว่าเราจะไปถ่ายทำต่างประเทศ บางคนอาจคิดว่ามันเป็นหนังสารคดีรึเปล่าหรือหนัง ROAD MOVIE ผมอยากจะบอกว่า ผมไม่ได้ให้ความสำคัญกับการมุ่งเน้นที่จะถ่ายทอด SIGNATURE SHOT ที่จะต้องผ่านตรงนี้ที่เห็นวิวสวยๆ แบบตั้งใจขายฉากขายทิวทัศน์โต้งๆ ถามว่ามันมีรึเปล่า มันมีอยู่แล้ว แต่ตรงนั้นมันเป็นแค่แบคกราวด์ เรื่องจริงๆ คือผมอยากให้ทุกคนไปทัวร์กับไอ้ตัวละครบ้าๆ 2 ตัวนี้ ค่อยๆ ตามหาความจริงไป แล้วคุณจะรู้ว่าจริงๆ แล้วคุณเองอาจจะเคยเป็นตัวละครตัวไหนในแต่ละช่วงโมเมนต์ในหนังเรื่องนี้มากกว่า”

ประวัติผู้กำกับ :ปัญจพงษ์ คงคาน้อย

การศึกษา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (Visual Communication Art)

เริ่มต้นจากงานแสดงละครเวทีให้กับคณะอักษรจุฬา ตามด้วยเป็น back stage ให้กับนาคร ศิลาชัย ร่วมสร้างคณะละคร “ศิษย์ครูช่าง” กับชลประคัลภ์ จันทร์เรือง ก่อนที่จะผันตัวเองไปทำรายการโทรทัศน์นานนับสิบปีในตำแหน่งครีเอทีฟ, โปรดิวเซอร์ (ข่าวบันเทิงอินไซด์เอนเตอร์เทนเมนท์, คู่คนละขั้ว, พลอยล้อมเพชร, แดนบีมเดอะซีรี่ส์, เปิดโลกวัยมันส์ไปกับฟิล์ม) ตามด้วยงานโฆษณาและมิวสิควิดีโอให้กับศิลปินอินดี้อย่างดีเจสุหฤท สยามวาลา, สครัปป์ ก่อนที่จะตัดสินใจสานฝันในการเขียนบทและเป็นผู้กำกับภาพยนตร์จนมีภาพยนตร์เรื่องแรกในชีวิตคือชัมบาลา

ผลงานต่างๆ อาทิ ละครเวที ในฐานะ นักแสดงจากละครเวทีเรื่อง Le marriage Fore and Les Preciousness Ridicules คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย Michel A.Denison กำกับ

หนังสั้น

Shot 1 Shot การประกวดภาพยนตร์สั้น โครงการช้างเผือก ครั้งที่ 1

Am I Director? การประกวดภาพยนตร์สั้น โครงการช้างเผือก ครั้งที่ 2

Funky shit การประกวดภาพยนตร์สั้น โครงการช้างเผือก ครั้งที่ 3

3M Mone Men Mad การประกวดภาพยนตร์สั้นโครงการช้างเผือก ครั้งที่ 5 รอบสุดท้ายBangkok Films Festival

เสี้ยวเวลาและสายน้ำ รองชนะเลิศอันดับ 2 Asian Film Festival

ภาพยนตร์สั้น เรื่อง ศิลปินเอก บทประพันธ์ หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ทางรายการสิบปากกาหน้าเลนส์ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ Thai PBS

ภาพยนตร์สั้น เรื่อง หน้าที่ บทประพันธ์ คุณฑิวา สาระจูฑะ ทางรายการสิบปากกาหน้าเลนส์ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ Thai PBS

ผู้เขียนบทภาพยนตร์

คนจรฯ (เรย์ แมคโดนัล), ละคร Exact ตาลีบุหงา, ละครโครงการ คนเขียนบทซีรีย์ทีวีไทย ครั้งที่ 1

เรื่อง แผ่นดินเดียวกัน ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ Thai PBS

กำกับภาพยนตร์

ภาพยนตร์ เรื่อง ชัมบาลา (เข้าฉายในปี2555) บริษัท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

ภาพยนตร์ เรื่อง เส้นทางแห่งเส้นชัย ตัวแทน1ใน9 ผู้กำกับ โครงการเทิดเกล้า 9ค่าย9เรื่อง

ภาพยนตร์ เรื่อง Land of Wonder ภาพยนตร์สั้นแสดงถึงความมหัศจรรย์ของการทำงานของ มูลนิธิชัยพัฒนาผ่านสายตาของพ่อและลูก

 

   

Everything you want to know about Thai film, Thai cinema
edited by Anchalee Chaiworaporn อัญชลี ชัยวรพร   designed by Nat  
COPYRIGHT 2004 http://www.thaicinema.org. All Rights Reserved. contact: ancha999 at gmail.com
By accessing and browsing the Site, you accept, without limitation or qualification, these copyrights.
If you do not agree to these copyrights, please do not use the Site.