สนับสนุนโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม Supported by Office of Contemporary Art And Culture ,Ministry Of Culture

หน้าแรก
ข่าว
วิจารณ์
สัมภาษณ์
บทความพิเศษ
รายงานหนังไทยในเทศกาลหนังต่างๆ
รายชื่อหนังสือและบทความเกี่ยวกับหนังไทย
รายชื่อ ที่อยู่ หน่วยงาน
 
รายชื่อหนังเก่า
 
 
 
 

   

ตำนานสมเด็จพระนเรศวร ภาค 3 ตอน ยุทธนาวี

  LINK : หน้าหลัก ตำนานสมเด็จพระนเรศวร
  Review Naresuan 3 - under-delivers action
  แคแรกเตอร์นักแสดง   
   
 

 

 

เทรลเลอร์ตอนแถลงข่าวกับรัฐบาล

 

 

กำกับการแสดง         หม่อมเจ้า ชาตรีเฉลิม  ยุคล
อำนวยการสร้าง         หม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา และ คุณากร เศรษฐี
บทภาพยนตร์       หม่อมเจ้า ชาตรีเฉลิม ยุคล และดร. สุเนตร     ชุตินธรานนท์
ออกแบบงานสร้าง   กรัณย์พล ทัศพร, สุดเขตร ล้วนเจริญ, ประสพโชค      ธนะเศรษฐวิไล
กำกับภาพ                อานุภาพ บัวจันทร์
กำกับแสง                     Stanislav  Dorsic
ดนตรีประกอบ           Sandy McLelland
Visual Effect Supervisor วรภัณฑ์ ลีละชาต
ลำดับภาพ  หม่อมเจ้า ชาตรีเฉลิม  ยุคล และหม่อมราชวงศ์หญิง ปัทมนัดดา  ยุคล
กำกับศิลป์       นิวัฒน์ ทุมไช, สุดเขตร ล้วนเจริญ
คัดเลือกนักแสดง        เบญจพร ปัญญายิ่ง, เนติมา โพธิ์เงิน, พัชรินทร์ ปกทิม
บันทึกเสียง               ไชยเชษฐ์ เศรษฐี
ออกแบบเครื่องแต่งกาย         หม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา
เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ        สุกัญญา มะเรืองประดิษฐ์, สุมาลี จันก้อน, ฐิติกรณ์ ศรีชื่น
แต่งหน้า-ทำผม                    มนตรี วัดละเอียด
ผู้ช่วยผู้กำกับการแสดง        สุรศักดิ์ วงษ์ไทย, จารุพงศ์ อินทวงษ์, พยุงศักดิ์ นฤภัย, ณิชา ปัณณสิริชาติ, ภารดี ภูปรัสสานนทน์, ธนากร สกุลกนก, ปรมินทร์             ธนพรหมศิริกุล, ใหม่ เต่าพาลี, อรรถเดช กิจวาศน์  และ เบญจพร ปัญญายิ่ง
ผู้กำกับการแสดง หน่วยที่ 2   กิตติกร “เรียว” เลียวศิริกุล และ ไพโรจน์ ประสารทอง
ทุนสร้าง 940 ล้านบาท โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล 376 ล้านบาท ผ่าน กระทรวงพาณิชย์    330 ล้านบาท  และกระทรวงวัฒนธรรม   46 ล้านบาท
ระยะเวลาดำเนินการ (ภาค 3-4)         2548 – 2554
กำหนดฉาย ภาค 3                              31 มีนาคม 2554
กำหนดฉาย ภาค 4                         สิงหาคม 2554

นักแสดงดูได้ที่นี่   

 

 

เรื่องย่อ

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 3 ตอนยุทธนาวี

การประกาศเอกราชที่เมืองแครง และสังหารสุระกำมาเหนือยุทธภูมิฝั่งแม่น้ำสะโตงของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (หรือสมเด็จพระนเรศ) ในปีพุทธศักราช ๒๑๒๗   ได้สร้างความตระหนกแก่พระเจ้านันทบุเรงองค์ราชันหงสาวดีพระองค์ใหม่ ด้วยเกรงว่าการแข็งข้อของอยุธยาในครั้งนี้จะเป็นเยี่ยงอย่างให้เหล่าเจ้าประเทศราชที่ขึ้นกับหงสาวดีอาศัยลอกเลียนตั้งตัวกระด้างกระเดื่องตาม  แต่จนพระทัยด้วยติดพันศึกอังวะ จึงจำต้องส่งเพียงทัพพระยาพะสิมและพระเจ้าเชียงใหม่เข้าประชิดกรุงศรีอยุธยา  ทางหนึ่งนั้นพระเจ้านันทบุเรงทรงประมาทสมเด็จพระนเรศ ด้วยเห็นว่ายังอ่อนพระชันษา คงมิอาจรับมือจอมทัพผู้ชาญณรงค์ทั้งสองได้   ทางหนึ่งก็สำคัญว่ากรุงศรีอยุธยายังบอบช้ำแต่คราวสงครามเสียกรุง ไพร่พลเสบียงกรังยังมิบริบูรณ์คงยากจะรักษาพระนคร

ครั้งนั้นพม่ารามัญยกเข้ามาเป็นศึกกระหนาบถึง ๒ ทาง ทัพพระยาพะสิมยกเข้ามาทาง ด่านพระเจดีย์สามองค์ เลยล่วงเข้ามาถึงแดนสุพรรณบุรี  ส่วนพระเจ้าเชียงใหม่-นรธาเมงสอ      มาจากทางเหนือ นำทัพบุกลงมาตั้งค่ายถึงบ้านสระเกศ แขวงเมืองอ่างทอง

กิตติศัพท์การชนะศึกของสมเด็จพระนเรศหลายครั้งหลายคราระบือไกลถึงแผ่นดินละแวก เจ้ากรุงละแวกมิได้ทอดธุระ ได้ลอบส่งจารชนชาวจีนฝีมือกล้านามว่า พระยาจีนจันตุ  มาลอบ  สืบความที่กรุงศรีอยุธยาแต่ถูกจับพิรุธได้จนต้องลอบตีสำเภาหนีกลับกรุงละแวก  สมเด็จพระนเรศทรงนำทัพเรือออกตามจนเกิดยุทธนาวี แต่พระยาจีนจันตุหนีรอดได้ เมื่อเจ้ากรุงละแวกได้ทราบกิตติศัพท์การณรงค์ของพระนเรศจึงเปลี่ยนพระทัยหันมาสานไมตรีกับอยุธยา และส่งพระศรีสุพรรณราชาธิราชผู้อนุชามาช่วยอยุธยาทำศึกหงสา หากแต่พระศรีสุพรรณผู้นี้ต่างจากเจ้ากรุงละแวกเพราะหาใคร่พอใจผูกมิตรด้วยอยุธยา  การได้พระศรีสุพรรณฯ มาเป็นสหายศึกจึงประหนึ่งอยุธยาได้มาซึ่งหอกข้างแคร่

ข้างสมเด็จพระนเรศเมื่อทรงประกาศเอกราชแล้วก็จัดเตรียมการรับศึกหงสาวดี แต่เพราะกำลังรบข้างอยุธยาเป็นรอง จึงทรงวางยุทธศาสตร์รับศึกโดยมุ่งอาศัยกรุงศรีอยุธยาเป็นที่มั่นเพียงแห่งเดียว ครั้งนั้นได้โปรดให้เทครัวหัวเมืองเหนืออันเป็นแคว้นสุโขทัยเดิมลงมารวมกับครัวที่อยุธยา           การณ์ปรากฏว่าเจ้าเมืองพิชัยและสวรรคโลกข้าหลวงเดิมแข็งเมืองไม่เทครัวลงมาสมทบ จึงทรงยึดเมืองแล้วลงทัณฑ์มิให้เป็นเยี่ยงอย่าง

สมเด็จพระนเรศทรงเห็นว่ากำลังข้างอยุธยายังเป็นรองพม่ารามัญ จึงทรงปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การรบเสียใหม่ โดยมิปล่อยให้ทัพพระยาพะสิมและนรธาเมงสอเจ้าเมืองเชียงใหม่เข้ามารวมกำลังผนึกล้อมร่วมกันตีกรุงศรีอยุธยา  ครั้งนั้นทรงจัดทัพออกรับศึกในแขวงหัวเมือง แลด้วยทัพพม่ารามัญแยกสายเข้าตีเป็นสองทางเดินทัพช้าเร็วไม่เสมอกัน จึงทรงเทกำลังเข้ารับศึกพระยาพะสิมที่เมืองสุพรรณบุรี ตั้งพระทัยจะตีทัพเบื้องประจิมทิศก่อน  แล้วจึงเทกำลังเข้าตีทัพพระเจ้าเชียงใหม่เบื้องอุดรทิศภายหลัง  การทั้งหมดทั้งสิ้นต้องทำแข่งกับเวลา หากพลาดท่าแม้เพียงก้าวอยุธยาก็ไม่พ้นพินาศ ถึงแม้ครั้งนั้นทัพพม่ารามัญจะมิได้ยกมาดั่งทัพกษัตริย์เช่นศึกพระเจ้าช้างเผือกบุเรงนอง  แต่ไพร่พลก็มากเหลือประมาณ เพียงพอจะสร้างความย่อยยับให้เหล่าอาณาประชาราษฎร์เกินคาดเดา 

ภายใต้บรรยากาศกลิ่นอายสงครามนับแต่ศึกจีนจันตุ ตลอดถึงศึกพระยาพะสิมและศึกพระเจ้าเชียงใหม่  ในพระนครก็เกิดไฟรักโชติขึ้นท่ามกลางไฟสงคราม กลายเป็นเรื่องรักระหว่างรบ  ด้วย เลอขิ่น ธิดาเจ้าเมืองคัง มีอันมาพบ เสือหาญฟ้า คนรักเก่าที่รอดชีวิตมาแต่ศึกเมืองคังโดยบังเอิญ เกิดขัดข้องเป็นรักสามเส้ากับ พระราชมนู คนรักใหม่ทหารเสือพระนเรศ  ไฟรักยิ่งลุกลามเมื่อ รัตนาวดี ธิดาผู้ทรงเสน่ห์ของเจ้าจอมมารดาสาย มาทอดไมตรีให้พระราชมนู  เกิดเป็นปมรักซ้อนปมรบ

ทางฝ่ายหงสาวดีนั้น พระเจ้านันทบุเรงกษัตริย์พม่ารามัญพระองค์ใหม่มีใจพิศวาสพระสุพรรณกัลยา-พระพี่นางในสมเด็จพระนเรศ หมายจะได้มาแนบข้าง ซ้ำพระนเรศอนุชามาประกาศเอกราชท้าทายอำนาจของพระองค์  ทำให้สถานะของพระสุพรรณกัลยาในฐานะองค์ประกันต้องสุ่มเสี่ยงต่อราชภัย  พระสุพรรณกัลยาซึ่งขณะนั้นมีพระราชโอรสด้วยพระเจ้าบุเรงนองแล้ว ทรงถูกพระเจ้านันทบุเรงข่มขู่ บีบบังคับให้ต้องเลือกระหว่างการยอมพลีกายถวายตัวเป็นบาทบริจาริกา  หรือยอมจบชีวิตด้วยการถูกย่างสดตามโทษานุโทษของพระอนุชา ชะตากรรมของพระพี่นางสุพรรณกัลยานั้นสุดรันทด

เมื่อพระเจ้าหงสาวดีทรงเสร็จศึกอังวะก็เตรียมการเปิดศึกกับอยุธยา  ทรงระดมไพร่พล แต่งเป็นทัพกษัตริย์ กองทัพใหญ่โตเหลือคณากว่าทัพบุเรงนองช้างเผือก เฉพาะไพร่ราบมีกำลัง รวมแล้วไม่ต่ำกว่า ๒๔๐,๐๐๐ คน  ทัพนี้หมายมุ่งบดขยี้อยุธยาลงเป็นผุยผงหากทัพพระยาพะสิมและทัพพระเจ้าเชียงใหม่ตีกรุงไม่สำเร็จ แต่สมเด็จพระนเรศก็สู้ศึกนันทบุเรงและนำพากรุงศรีอยุธยาให้รอดจากภัยสงคราม กู้บ้านเมืองมิให้ต้องตกเป็นประเทศราชหงสาซ้ำสองได้ด้วยกุศโล-บายการศึกที่เหนือชั้นด้วยพระอัจฉริยภาพ

 

 

จุดเด่นภาค 3

- มุ่งเน้นการนำเสนอประวัติศาสตร์ในศึกสงครามที่สำคัญ อาทิ
“สงครามยุทธหัตถี” ยุทธนาวี กับพระยาจีนจันตุ ศึกยุทธหัตถี ศึกพระยาละแวก เป็นต้น อันเป็นฉากรบที่ยิ่งใหญ่ตระการตา แตกต่างจากภาค 1 และ 2 พร้อมทั้งฉากกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคที่อลังการ

เฉพาะฉากการเคลื่อนทัพของพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงจากกรุง หงสาวดีสู่กรุงศรีอยุธยาก็ตระการตาเกินบรรยาย ทิ้งท้ายให้ผู้ชมต้องตามไขปริศนาว่าสมเด็จพระนเรศจะสู้ศึกนันทบุเรงและนำพากรุงศรีอยุธยาให้รอดจากภัยสงคราม กู้บ้านเมืองมิให้ต้องตกเป็นประเทศราชหงสาซ้ำสองได้ด้วยกุศโลบายศึกใด

ถึงแม้ภาพยนตร์จะดำเนินเรื่องผ่านวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศ ในศึกน้อยใหญ่ แต่ฉากรบของเรื่องแต่ละบทแต่ละตอนต่างแฝงลักษณะเด่นเฉพาะตัวไม่ซ้ำแบบ ไม่ว่าจะเป็นศึกปล้นค่ายชิงเมืองหรือศึกพยุหยุทธ ทั้งหมดยังถูกนำเสนอให้กลืนกลายไปกับฉากที่แทรกอรรถรสบันเทิงเชิงอื่นอีกหลากหลาย ซึ่งเรียกได้ทั้งเสียงหัวเราะและคราบน้ำตา และนำพาให้ผู้ชมตั้งตาตามไปจนถึงตอนสำคัญของเรื่องอันเป็นนาทีแห่งการรอคอย......สงครามยุทธหัตถี

ภาพยนตร์ภาคอวสานนี้ เป็นมากกว่า “หนังสงครามกู้ชาติ” ซ้อนอยู่ในเพลิงสงครามคือเพลิงอารมณ์ของมนุษย์ปุถุชนที่ไม่เลือกเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์และชั้นวรรณะ ตีแผ่วิบากกรรมของตัวละครผ่านความ ขัดแย้งแรงกระพือในรักหลากรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นรักในรอยแค้นของ นันทบุเรง หรือรักในรอยเลือดของพระมหาอุปราชา ผู้ใช้ชีวิตสังเวยรักที่ทรงมีให้พระราชบิดา หรือรักรันทดด้วยรักซ้อนรักระหว่าง แม่นางเลอขิ่นกับพระราชมนู ซึ่งเป็นคู่ชูเรื่องสืบมาจากภาคก่อน

อีกแง่มุมหนึ่งที่น่าสนใจ คือการ “ฟื้นอดีต” ทุกบททุกตอนตามตำนานที่ถูกเล่าขานผ่านหน้าประวัติศาสตร์ให้ปรากฏเป็นภาพของเลือดเนื้อและวิญญาณที่โลดแล่นได้บนแผ่นฟิล์ม ไม่ว่าจะเป็นฉากที่ สมเด็จพระนเรศทรงสุบินว่าได้ฝ่าสายธารไปสังหารพญากุมภีล์ หรือฉากพระคชาธารตกมันแล่นฝ่าทัพพม่า ไปถึงหน้าช้างพระมหาอุปราชา และฉากยุทธหัตถีที่น่าตื่นตาตื่นใจ เมื่อสมเด็จพระนเรศทรง ไสเจ้าพระยาไชยานุภาพเข้าต่อรบด้วยพลายพัทธกอของยุพราชพม่าที่มีขนาดและพละกำลังเขื่องกว่า

   

Everything you want to know about Thai film, Thai cinema
edited by Anchalee Chaiworaporn อัญชลี ชัยวรพร   designed by Nat  
COPYRIGHT 2004 http://www.thaicinema.org. All Rights Reserved. contact: ancha999 at gmail.com
By accessing and browsing the Site, you accept, without limitation or qualification, these copyrights.
If you do not agree to these copyrights, please do not use the Site.