สนับสนุนโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม Supported by Office of Contemporary Art And Culture ,Ministry Of Culture

หน้าแรก
ข่าว
วิจารณ์
สัมภาษณ์
บทความพิเศษ
รายงานหนังไทยในเทศกาลหนังต่างๆ
รายชื่อหนังสือและบทความเกี่ยวกับหนังไทย
รายชื่อ ที่อยู่ หน่วยงาน
 
รายชื่อหนังเก่า
 
 
 
 

   

การทำฉากในหนังนเรศวร 1 - 2

  ์์NARESUAN HOME
   LINK:   บทวิจารณ์หนัง ภาค 1 และ ภาค 2
   LINK: "นเรศวรก็เป็นคนตัวเล็กเหมือนกัน": สัมภาษณ์ท่านมุ้ย
   สารบัญของหน้านี้ : การออกแบบฉากต่าง ๆ และการถ่ายทำ
   

 

 

 



ฉากเผาเมือง


ฉากเมืองหงสา


ฉากจริง

 


ฉากเรือรบ


ฉากจริง


ฉากบุเรงนองเสด็จกลับพม่า (King Burannong - Burma and his return)

 


ฉากสงครามเมืองแครง (Kang War)


ฉากในพม่า Mandalay Scene

เลือกสถานที่ก่อสร้างฉากเพื่อใช้ในการถ่ายทำ  บนพื้นที่ประมาณ 1500 ไร่ ในบริเวณกองพลทหารราบที่ 9 (ค่ายสุรสีห์) ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี   เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยมีหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในจังหวัดกาญจนบุรี   ตามประวัติศาสตร์ในยุคสมัยของพระองค์   ประกอบกับทำเลที่ตั้งที่มีความเหมาะสม   และที่สำคัญคือได้รับการสนับสนุนจากกองทัพบกเป็นอย่างดียิ่ง  ด้วยความพร้อมและศักยภาพ ทุกด้าน ทั้งพื้นที่ กำลังพล   ตลอดจนอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ที่เอื้ออำนวยให้การดำเนินงาน ก่อสร้างสำเร็จลุล่วงด้วยดี

  • เริ่มดำเนินการปรับพื้นที่และก่อสร้างฉากตั้งแต่ปี 2546
  • เป็นสถานที่ถ่ายทำที่มีอาณาบริเวณกว้างใหญ่   ซึ่งคาดว่ายังไม่มีภาพยนตร์เรื่องใดมีพื้นที่ในการก่อสร้างฉากได้มากเท่านี้
  • จัดสร้างแบบกึ่งถาวร   ที่สามารถพัฒนาพื้นที่ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวได้ในอนาคต  โดยรองรับได้หลากหลายรูปแบบ
  • ฉากและอุปกรณ์ประกอบฉาก จัดสร้างขึ้นอย่างพิถีพิถัน   ทั้งงานสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของฝ่ายไทยและฝ่ายพม่า โดยได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลอย่างละเอียด  เพื่อการออกแบบจัดทำและสร้างอย่างสมบูรณ์แบบที่สุด   รวมถึงมีความมั่นคงแข็งแรง ทั้งนี้งานศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมบางส่วน   จัดหามาจากพม่าโดยตรง
  • สามารถจัดให้เป็นพื้นที่เช่าเพื่อใช้เป็นฉากในการถ่ายทำภาพยนตร์หรือละคร   ทั้งจากผู้สร้างภายในประเทศและต่างประเทศ ด้วยระบบการจัดการที่มีมาตรฐาน   แสดงถึงศักยภาพและความพร้อมในการเป็นเมืองภาพยนตร์ หรือ Hollywood ของเมืองไทย   เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้ประชาชนในประเทศ ตลอดจนส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของไทย   เช่นเดียวกับที่ประเทศอินเดียจัดทำ Bollywood   ซึ่งได้รับการกล่าวถึงทั่วโลก
  •    เทคนิคในการสร้างฉากและอุปกรณ์ประกอบฉาก   มีการนำเทคโนโลยีและวิธีการใหม่ ๆ มาใช้   โดยได้รับความร่วมมือจาก Weta   ซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์และผลิตชิ้นงานชั้นนำระดับโลกเช่น ผลงานในภาพยนตร์เรื่อง The Lord of the Ring นอกจากจัดให้ทีมงานของภาพยนตร์ “ นเรศวร” ได้ไปฝึกงานที่ประเทศนิวซีแลนด์แล้ว ยังส่งผู้เชี่ยวชาญมาฝึกสอนให้ในประเทศไทยอีกด้วย

สัมภาษณ์คุณ ประสพโชค ธนเศรษฐวิไล โปรดักชั่นดีไซน์เนอร์ (Production Designer )

  • เป็นภาพยนตร์ของรัฐบาล ที่ต้องการทำถวายสมเด็จฯ จึงเลือกพื้นที่ ค่ายสุรสีห์ จ.กาญจนบุรี เพราะเป็นส่วนราชการ และมีพื้นที่กว้างขวางถึง 30,000 ไร่
  • สร้างฉากบนพื้นที่จริง สร้างเมืองจริงๆ อย่างเมืองหงสาวดีต้องเข้าใจประเพณีและสถาปัตยกรรมของพม่า เพราะเป็นภาพยนตร์จึงอยากให้มีอะไรพิเศษมากขึ้น   ขยายสเกลใหญ่กว่าของจริงที่พม่า   มีรายละเอียดเพิ่มขึ้น ต้องปรับสีสันให้เข้ากับรูปแบบ บางอย่างต้องใช้จินตนาการ เพราะของจริงไม่มีให้เห็นแล้วแต่จะจินตนาการ   ให้สอดคล้องกับข้อมูลทางประวัติศาสตร์เพื่อให้เกิดอรรถรสในการชมภาพยนตร์

สัมภาษณ์ คุณกสิ แฟงรอด อาร์ตไดเรกเตอร์ (Art Director)


ทีมแกะสลัก

  • มีทีมงานฝ่ายศิลป์และงานสร้างกว่า 60 ชีวิต ประกอบด้วย ช่างไม้ ช่างสี ช่างเหล็ก คนเซตพร็อพ ช่างปั้น ช่างแกะโฟม และงานที่เกี่ยวข้องกับฉากและสิ่งของประกอบฉากทั้งหมด
  • ต้องการสร้างฉากแบบกึ่งถาวร มีความมั่นคง แข็งแรง ไม่ใช่แค่สถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์  แต่เป็นเสมือนอนุสรณ์สถานที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวได้ในอนาคต   รูปลักษณ์ของฉากจึงใกล้เคียงกับสิ่งก่อสร้างจริงมากที่สุด
  • งานฉากและพร็อพ ต้องใช้ทีมงานเยอะมาก   หน้าที่คือ   ทำโครงสร้างบ้าน วัด ท้องพระโรง กำแพง ทีมโฟมแกะลวดลาย ที่ทีมออกแบบส่งมาให้   ทีมติดตั้งจัดการกับงานปะ ติด ต่อ ก่อสร้างงานต่างๆ   ทีมสี ลงสี ทำม็อก และทาทอง ทำงานอย่างเป็นระบบ
  • ส่วนใหญ่การสร้างฉาก จะได้ข้อมูลจากการออกแบบศิลปะสมัยอยุธยาตอนกลาง   เป็นข้อมูลเดิมในงานภาพยนตร์ “ สุริโยทัย” บวกข้อมูลใหม่ในส่วนของพม่าที่เพิ่มเข้ามา   และยังมีส่วนของเขมรมาเกี่ยวข้องด้วย
  • โลเกชั่นหลักทั้งหมดประกอบด้วย ปราสาทพระศรีสรรเพชญ,   พระราชวังเมืองหงสาวดี สิงหาสนบัลลังก์ (จำลองขนาดและองค์ประกอบต่างๆ มาจากพิพิธภัณฑ์ของพม่า,  หมู่บ้านและวิถีชีวิตของชาวไทยสมัยอยุธยา, หมู่บ้านและวิถีชีวิตของชาวหงสาวดี,   กำแพงเมือง-ซุ้มประตูเมืองหงสาวดี,   ท่าเรือในสมัยอยุธยา,   วัดของพระมหาเถรคันฉ่อง หน้าเมืองหงสาวดี   ซึ่งเป็นสถานที่ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชประทับ,   ฉากโรงซ้อมอาวุธ, สถานที่ชนไก่ ฯลฯ
  • วัสดุหลักที่ใช้สร้างฉากบ้านเรือน ประกอบด้วย ไม้อัด ไม้ไผ่   บ้านของชาวบ้านธรรมดาจะเป็นเรือนฝาขัดแตะ ส่วนบ้านคนมีฐานะจะเป็นเรือนฝาปะกน
  • ส่วนของวัดยึดโครงสร้างสมัยอยุธยา   ส่วนของเจดีย์จะสร้างแบบกลวงด้วยโครงเหล็กถอดพิมพ์ออกมาจากแบบ ทำผิวด้วยโฟมและเคลือบให้แข็งแรง
  • สิ่งก่อสร้างบางแห่งสร้างยังไม่เต็มโครงร่างทั้งหมด   เพราะผู้สร้างเน้นใช้ส่วนใดสำหรับถ่ายทำ   ก็จำต้องเร่งสร้างส่วนนั้นก่อน ส่วนที่เหลือเป็นหน้าที่ของคอมพิวเตอร์กราฟิก  ส่วนใหญ่ใช้วัสดุสมัยใหม่แล้วทำให้เหมือนของเก่ามากที่สุด
  • สิงห์ใหญ่คู่สูง 10 เมตร สัญลักษณ์ของกรุงหงสาวดี ข้างในเป็นโครงเหล็กฉีดโฟมเคลือบ
  • ศิลปะการสร้างกำแพงเมือง ของฝั่งพม่านั้นได้รับอิทธิพลจากอินเดีย   มีความแปลกแตกต่างจากของอยุธยา   ของพม่าจะเป็นลักษณะหลังคาซ้อน ขณะที่ของไทยจะเป็นหน้าจั่วธรรมดา
  • วัดโยเดีย ที่พระมหาเถรจำวัดอยู่   จะเน้นโทนสีให้ออกมาเป็นน้ำตาลเข้มตามแบบสถาปัตยกรรมพม่า   ศิลปะฝั่งพม่าโดยรวมดูหนักแน่น ขณะที่ของไทยดูอ่อนละมุน พลิ้วไหวและเบาบาง

  • ฉากอลังการท้องพระโรงในวังบุเรงนอง   ลวดลายสีทองภายในท้องพระโรง   ทำให้จัดแสงได้แวววาว สวยงาม และดูมั่งคั่ง
   
   

Everything you want to know about Thai film, Thai cinema
edited by Anchalee Chaiworaporn อัญชลี ชัยวรพร   designed by Nat  
COPYRIGHT 2004 http://www.thaicinema.org. All Rights Reserved. contact: ancha999 at gmail.com
By accessing and browsing the Site, you accept, without limitation or qualification, these copyrights.
If you do not agree to these copyrights, please do not use the Site.