สนับสนุนโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม Supported by Office of Contemporary Art And Culture ,Ministry Of Culture

หน้าแรก
ข่าว
วิจารณ์
สัมภาษณ์
บทความพิเศษ
รายงานหนังไทยในเทศกาลหนังต่างๆ
รายชื่อหนังสือและบทความเกี่ยวกับหนังไทย
รายชื่อ ที่อยู่ หน่วยงาน
 
รายชื่อหนังเก่า
 
 
 
 

   

“ ผีคนเป็น”

  29 มิถุนายน 2549
  เรื่องย่อ                               แรงบันดาลใจจากคดีดัง                       เบื้องหลังการถ่ายทำ
  3 โลเคชั่น                           แคแรคเตอร์นักแสดง                           ประวัติผู้กำกับ           
   
 

 

กำกับภาพยนตร์ มณฑล อารยางกูร

อำนวยการสร้างฝ่ายบริหาร เกรียงไกร เชษฐโชติศักดิ์, สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์

ควบคุมงานสร้าง จันทิมา เลียวศิริกุล, มณฑล อารยางกูร

โครงเรื่อง / บทภาพยนตร์ สมภพ เวชชพิพัฒน์, มณฑล อารยางกูร

กำกับภาพและถ่ายภาพ ไพบูลย์ ภู่ประดับ

ออกแบบงานสร้าง / กำกับภาพยนตร์กอง 2 วรวุฒิ เงินกอง

ผู้ฝึกสอนการแสดง ดำเกิง ฐิตะปิยะศักดิ์

ผู้ฝึกสอนท่ารำ สุรัตน์ จงดา, ภวัต จันทร์ดารักษ์, นัฐพงษ์ นุชนนทรี, ดาริกา คลองน้อย

กำกับศิลป์ สรฤทธิ์ อนุฤทธิ์, ธวัชชัย เติมสุข

ออกแบบและจัดทำเครื่องแต่งกาย วรธน กฤษณะกลิน, ปรารถนา จันทร์กล่ำ

ลำดับภาพ มณฑล อารยางกูร

ดนตรีประกอบ ผไท พ่วงจีน

ผู้ช่วยกำกับศิลป์ / จัดหาอุปกรณ์ประกอบฉาก อภิชิต คงปรีชา, วิชชา ทองศรี, ศัลย์ ประสิทธิ์เพียรชัย

แต่งหน้าเทคนิคพิเศษ อดิช เยี่ยมฉวี

แต่งหน้า วรธน กฤษณะกลิน

ทำผม เทิด ยอดทอง

ที่ปรึกษาส่วนโพสท์โพรดักชั่น ปิยะพันธุ์ ชูเพ็ชร์

ประสานงานส่วนโพสท์โพรดักชั่น ฉัตรชัย นครวงษ์, ธีระศักดิ์ เกตุแก้ว, ณัฐพร เรืองสุขอุดม, พุทธิดา เอี่ยมคง

ภาพนิ่ง ธนะพร อาคมานนท์

ถ่ายภาพสเตดี้แคม สมนึก นรชาญ, ธิตินันท์ เลิศกิจสกุล

FOCUS PULLER เจตนิพัทธ์ ศรีทอง

สตอรี่บอร์ด สุรฤทธิ์ จริยารังสีโรจน์

วิดีโอเบื้องหลัง ไกรรัตน์ คงเป็นสุข

ผู้ช่วยกำกับภาพยนตร์ พรรณพันธ์ ทรงขำ

ผู้ช่วยกำกับภาพยนตร์ / ควบคุมความต่อเนื่อง เรืองวิทย์ อยู่หมุ่ย

ผู้ช่วยควบคุมความต่อเนื่อง วรวัฒน์ ณ กาฬสินธุ์

ผู้ช่วยจัดทำเครื่องแต่งกาย ชนิกานต์ สมัครไร่

ผู้ช่วยควบคุมงานสร้าง นิทัตร์ คำดี

ผู้จัดการกองถ่าย ธีระศักดิ์ เกตุแก้ว

ผู้ช่วยผู้จัดการกองถ่าย รัตติกัลยา เฉลิมแสนยากร

สตั๊นท์ไดรเวอร์ วรวัฒน์ สุวรรณรัตน์

อุปกรณ์บันทึกเสียง ธรณ์ธันย์ โพล้งพลับ, กู้เกียรติ หิรัญศรีสุข

อุปกรณ์กล้อง บริษัท อาร์.เอส. สตูดิโอ จำกัด, บริษัท มุมกล้อง จำกัด, บริษัท ท็อปช้อต จำกัด

อุปกรณ์สเตดี้แคม บริษัท มุมกล้อง จำกัด

อุปกรณ์ไฟและกริ๊ป บริษัท วีเอส สตูดิโอ จำกัด

เทคนิคพิเศษด้านภาพ บริษัท สวีท อายส์

ห้องตัดต่อ บริษัท อาร์.เอส.สตูดิโอ จำกัด

เทคนิคฟิล์มแลป เดอะโพสต์ บางกอก

ล้างและพิมพ์ฟิล์ม กันตนา ฟิล์ม แล็ป

ทคนิคเสียง กันตนา ฟิล์ม แล็ป

ออกแบบเสียง บริษัท ดัง จำกัด

ผู้ผสมเสียง วชิระ วงศาโรจน์

ผู้ช่วยผสมเสียง สมศักดิ์ พิมพาลัย

ดูแลการตลาดและจัดจำหน่าย พรชัย ว่องศรีอุดมพร

สร้างสรรค์งานโฆษณา ด็อกเตอร์ เฮด

 

“ ผีคนเป็น” ภาพยนตร์ที่ถ่ายทำจากสถานที่เกิดเหตุจริง

จำลองจากคดีฆาตกรรมจริง และความน่ากลัวที่เกิดขึ้นจริง ...

สิ่งที่คุณจะได้เห็นในภาพยนตร์เรื่องนี้

ไม่ได้เขียนไว้ในบทภาพยนตร์ และผู้กำกับฯไม่ได้กำกับฯ

เรื่องราว


          ในภาพยนตร์เรื่อง “ ผีคนเป็น” ... เมย์ พิชญ์นาฎ สาขากร รับบทแสดงเป็น ติ่ง หญิงสาวที่มีอาชีพนักแสดงตัวประกอบ เธอมีความฝันว่าสักวันจะต้องเป็นนักแสดงเด่นดังมีชื่อเสียง วันหนึ่ง ติ่งรับงานเป็นนักแสดงให้กับการทำแผนประกอบคำรับสารภาพให้ตำรวจ ด้วยการแสดงที่สมจริง มีอารมณ์ร่วม และดูไม่น่าเบื่อ ทำให้ติ่งเป็นที่สนใจ ชื่นชอบ จากนักข่าว และสิ่งที่ไม่อาจรู้ได้ว่ามันคืออะไร แต่จัดว่าติ่งเป็นนักแสดงการทำแผนประกอบคำรับสารภาพที่มีชื่อเสียงจากการที่ได้ลงหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์รายวันบ่อย ๆ ทำให้ติ่งปลาบปลื้มว่า ตัวเองได้เป็นนักแสดงนำเต็มตัว

          คดีล่าสุด ติ่งรับแสดงเป็น “ คุณมีน”(อาภาศิริ นิติพน) อดีตนางสาวไทยที่ถูกฆาตกรรมอำมหิต จนเป็นคดีสะเทือนขวัญ โดยมี หมอจรัล (โชคชัย เจริญสุข) สามีและคุณไฝ(ต่าย – เพ็ญพักตร์ ศิริกุล) ตกเป็นผู้ต้องสงสัย ระหว่างทำแผน ติ่งมีอาการแปลก ๆ และมีอารมณ์ร่วมระหว่างทำแผนมากขึ้น คล้ายติ่งจะควบคุมตัวเองไม่ได้

          นับจาก ติ่งแสดงเป็นคุณมีน เริ่มสัมผัสได้ถึงความรู้สึกของคุณมีน ในช่วงที่ถูกฆาตกรรม ติ่งเริ่มสงสัยว่า จะต้องเกี่ยวข้องกับการจับตัวฆาตกรผู้สังหารคุณมีน ติ่งจึงพยายามสืบคดีนี้ให้รู้เรื่องเพื่อหาทางแก้ไข แต่ยิ่งพยายามค้นหาคำตอบและเข้าใกล้เหตุการณ์ ณ วันเวลาที่เกิดเหตุฆาตกรรมเท่าไรก็ยิ่งมีเหตุอันตรายคุกคามเข้าใกล้ชีวิตติ่งมากขึ้นเรื่อยๆ ...

แรงบันดาลใจจากคดีดัง


          “ผีคนเป็น” จุดประกายเรื่องราวมาจากอาชีพนักแสดงทำแผนประกอบคำรับสารภาพ โดยผู้กำกับฯ อ๊อฟ-มณฑล อารยางกูร และ ผู้อำนวยการผลิต จันทิมา เลียวศิริกุล จุดประกายพล็อตหนัง “ ผีคนเป็น ” จากอาชีพนักแสดงการทำแผนประกอบคำรับสารภาพคดีฆาตกรรม จึงเริ่มงานสืบค้นจากแฟ้มคดีดัง ก่อเกิดเป็นแนวคิดของภาพยนตร์ที่จะบันทึกความน่ากลัวของบรรยากาศจริง ถ่ายทำจากสถานที่เกิดเหตุฆาตกรรมจริง จำลองรูปแบบคดีจริง ถ่ายทอดบรรยากาศสมจริง เหตุการณ์ อารมณ์ ตรงตามแนวคิดหลักของภาพยนตร์ที่ว่า “ บรรยากาศ...เซ็ทถ่ายไม่ได้ ”

          ผู้กำกับภาพยนตร์ อ๊อฟ- มณฑล อารยางกูร ผู้สร้างพล็อตเรื่อง “ ผีคนเป็น ” เล่าว่า “ ผีคนเป็น ” เป็นหนังที่แนวทางการถ่ายทำมาพร้อมกับพล็อตเรื่องเลย เริ่มจากผมดูตำรวจทำแผนคดีเพื่อประกอบคำรับสารภาพ อย่างคดีโหดๆ นักแสดงทำแผน เขาไม่กลัวหรือไง คิดยังไงถึงมาแสดง อย่างคดีข่มขืน ทำไมต้องเอาผู้หญิงมาเล่นจริงๆ มาทำแผน แล้วคนที่แสดงเป็นคนตาย ไม่รู้สึกอะไรบ้างเลยหรือ ?

          เราผูกเรื่องให้ มีนักแสดงคนหนึ่ง แสดงเป็นคนตายแล้ว ตายเล่าอยู่นั่น ผูกเรื่องตามคดีฆาตกรรมดังๆ สะเทือนขวัญ อย่างคดีดังๆ ที่เราเคยได้ยินข่าวว่ามีวิญญาณช่วยให้จับคนร้ายได้ และพร้อมๆ กับพล็อตเรื่อง เราก็ได้แนวทางการถ่ายทำมาด้วยเลยว่า ถ่ายทำแบบจำลองคดีฆาตกรรมจริง ใช้โลเคชั่นเกิดเหตุจริง เหมือนแสดงทำแผนตามรูปคดีนั้นจริงๆ เลย …

          ทุกคดีเราขออนุญาตก่อน จากตำรวจเจ้าของคดี เราเลือกแต่คดีที่เกิดขึ้นนานมากแล้ว สถานที่เกิดเหตุบางแห่ง กลายเป็นบ้านที่ถูกปล่อยร้างประมาณ 10 ปีขึ้นไป เราศึกษารูปคดีเพื่อใช้เป็นไกด์ในการถ่ายทำ เหมือนการทำแผนจริงๆ อย่างที่เกิดเหตุ คดีเหยื่อถูกยิงตายบนรถแท็กซี่ แล้วเอาศพมาซ่อนที่ใต้บันไดบ้าน เราก็เอานักแสดงไปทำแผนตามรูปคดีเลย ใส่เข้าไปใต้บันไดจริง ถ่ายทำจำลองเหตุการณ์จริง ที่เลือกถ่ายทำสถานที่เกิดเหตุจริง เพราะอยากให้คนดูได้ร่วมสัมผัสบรรยากาศจริงๆ ของวินาทีนั้นด้วยกัน ไม่ได้มีเจตนาจะลบหลู่ ดูหมิ่น ไม่ได้ไปสืบสาว ว่า คดีเป็นไงมาไง แต่เพื่อย้ำเตือนว่า ความตายอยู่ใกล้ตัวคุณ

          แล้วถ่ายทำสถานที่เกิดเหตุจริง ๆ เลย รู้สึกว่า ดี การทำงานก็ตื่นเต้นไปด้วย แล้วนักแสดงก็ไม่รู้ ทั้งที่จริงๆ อยากให้รู้ แต่บอกไม่ได้ เพราะมันน่ากลัวมาก ๆ ซึ่งนักแสดงเราเป็นคนกลัวผีมาก อย่าง เมย์ และอุ๋ม เป็นคนกลัวผีมาก ถ้าเขารู้ เขาก็จะไม่มีสมาธิ อาจกลัวมาก จนทำอะไรไม่ได้ จึงต้องปิดไว้ก่อน พอถ่ายทำไปประมาณกลางๆ เรื่องก็เริ่มพอจะรู้กันแล้วบ้าง แต่ตกกระไดพลอยโจนแล้ว ก็ต้องเล่นต่อไป

          ชื่อ “ ผีคนเป็น ” มีความหมายก่ำกึ่งระหว่าง คนที่แสดงเป็นคนตายกับคนที่ตายแล้ว แต่ไม่ได้ไปไหน ขณะที่ “ ผีคนเป็น ” ไม่ได้เป็นหนังผี 100 % แต่เหลื่อมกันระหว่างการเป็นหนังผีกับหนังสืบสวนฆาตกรรม  ที่จริง “ ผีคนเป็น ” เป็นหนังผีที่ถ่ายทำกลางวันด้วยซ้ำ เพราะเราอยากทำเป็นผีกลางวัน ที่ออกมาน่ากลัวได้ อีกอย่างคนถ่ายจะได้ไม่กลัวด้วย (หัวเราะ) ที่ทำหนังเรื่องนี้ต้องไม่คิดมาก ต้องไม่บิ้วท์ …” ผู้กำกับฯ กล่าวหัวเราะกลบเกลื่อนเล็กน้อย เมื่อเจอคำถามเกี่ยวกับความน่ากลัวระหว่างการถ่ายทำ

          “ ผมเป็นคนไม่ค่อยเชื่อเรื่องผีอยู่แล้ว ” ผู้กำกับฯหนัง “ ผีคนเป็น ” ...ผู้ซึ่งไม่เชื่อเรื่องผี แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้เต็มปากกับหลาย ๆ เหตุการณ์ แปลก ๆ ที่เกิดขึ้นกับทีมงาน หลังจากปิดกล้องถ่ายทำแล้ว จนเกิดคำพูด ว่า “ ผีคนเป็น ” คือ ภาพยนตร์ที่กำกับฯไม่ได้จริงๆ ...

          “ ที่ไม่เชื่อ เพราะผมไม่เคยเจอ แต่ไม่ลบหลู่เลยนะ เชื่อว่า เขาคงมี แต่คงไม่สามารถมาทำอะไรเรา หนัง “ ผีคนเป็น ” ทำให้เปลี่ยนความคิดนิดหน่อย แต่ก็ยังเชื่อว่า เขาไม่มาทำอะไรเรา

          ผีในมุมมองของผม เป็นเรื่องของความกลัวมากกว่า พลังจิตของคนตายมารวมๆ กัน ทำให้มีคลื่นไฟฟ้าแรงพอทำให้คนอื่นเห็นได้ การที่เราไปถ่ายทำสถานที่ที่ขึ้นชื่อว่าเฮี้ยน ความรู้สึกพาไปก่อนแล้ว 50 % บรรยากาศโดยรวม พร้อมจะหลอนอยู่ตลอดเวลา ขอให้มีอะไรขึ้นมานิดเดียว ก็จะขยายความรู้สึกเป็น 100 % ความเชื่อนี้ มันอาจจะเป็นกระแสจากคนหลายๆ คนในกองถ่าย มาพร้อมๆ กัน มันเลยรู้สึกว่า ต้องมีอะไร แต่ตัวเราเชื่อว่า เราทำดี แล้ว เราบวงสรวงแล้ว เราไม่ได้ลบหลู่ใคร ก็เลยอาจจะเรียกว่า ไม่เชื่อก็ได้ หรือฉากที่บอกว่าถ่ายติดรูปหน้าคน... คนที่มีจิตใจเชื่อว่า มีผี เขาก็มองว่า เห็น แต่ผมไม่เห็น จนมีคนอื่นมาเห็น ก็เหมือนมาบอกเราอีกที ”

          นอกจากถ่ายติดรูปหน้าคน เครื่องคอมพิวเตอร์ตัดต่อเสีย ทีมงานเห็นผู้หญิงแปลกหน้าอยู่ในบ้าน ตัวผู้กำกับฯ เองก็เจอเหตุการณ์แปลกประหลาด อธิบายไม่ได้ระหว่างการตัดต่อหนัง

          “ ผมเคยอธิษฐานไว้ว่า จะทำบุญให้ ถ่ายหนังมาจนเสร็จปิดกล้อง ขั้นตอนการตัดต่อก็เริ่มติดขัด เครื่องคอมพิวเตอร์มันเสียก็เฉย ๆ จนมีหมอดูมาทักว่า อ๊อฟไปอธิษฐานอะไร เขาเล่นเสร็จแล้วเราต้องให้ค่าตัว พูดแล้วขนลุก พอมีเรื่องเครื่องตัดต่อเสีย ทีมงานหลายๆคนมาคุยกัน คนโน้นเจอนั่น เจอนี่ แต่ที่ผ่านมาไม่ได้คุยกัน

          กระทั่งบ้านผมเอง ตากล้องก็เห็นมีผู้หญิง วัยรุ่น ตัดผมสั้นยืนอยู่ ซึ่งที่บ้านไม่มีใครอยู่เลย เราก็เลยทำพิธีบวงสรวงขึ้น ถือว่า เราสัญญากับเขาแล้ว ถือว่าทำไปแล้วสบายใจ เพราะฉะนั้น จะบอกว่าไม่เชื่อ ก็เชื่อประมาณหนึ่ง ผมจะรู้สึกว่ามันเป็นบรรยากาศของกองถ่าย ห้องตัดต่อ ผมเจอแค่เครื่องตัดต่อมีปัญหา

          แต่เครื่องตัดต่อเสียแล้ว หนังเรียงซีนมาใหม่เองนี่ ไม่รู้จะอธิบายยังไง... เราก็ขอว่า ไม่ต้องเรียงใหม่ให้ผมก็ได้ บางซีนเรายังไม่ได้ตัดต่อแต่ก็เหมือนมีใครตัดหนังมาให้แล้ว ... ” ผู้กำกับฯ อ๊อฟ- มณฑล ตบท้ายด้วยปริศนาที่ตัวผู้กำกับภาพยนตร์เองก็ตอบไม่ได้ ทิ้งให้คนดูไปค้นหากันเอาเอง .....

เบื้องหลังการถ่ายทำภาพยนตร์ “ ผีคนเป็น ”ความกลัว...ที่กำกับไม่ได้

 

          เพื่อให้ได้อารมณ์สมจริง ทีมงานเริ่มถ่ายทำ โดยไม่ให้นักแสดงรู้มาก่อนว่า ถ่ายทำจากสถานที่เกิดเหตุจริง และจำลองรูปแบบคดีจริง โดยเฉพาะ เมย์-พิชญ์นาฎ ที่เป็นสาวขี้กลัวอยู่แล้ว แต่หลังจากถ่ายทำไปกว่าครึ่งเรื่อง ในที่สุด เมย์ก็รู้ความจริง ที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังการถ่ายทำ “ ผีคนเป็น ”

“           เรื่องโลเคชั่นนี่ เมย์โกรธทีมงานไปพักหนึ่ง ก่อนมาเล่นก็ไม่รู้เลย ทีมงานปิดปากกันเงียบ ไม่มีใครบอกเลย เมย์มารู้จากนักข่าว แต่ยังดีที่ว่าช่วงที่เมย์รู้แล้ว ไม่มีการถ่ายทำซีนที่เกี่ยวกับทำแผนคดีแล้ว ปกติเมย์เป็นคนกลัวมาก ทุกวันนี้ เวลานอนยังเปิดไฟอยู่เลย ซึ่งทุกครั้งที่มาโลเคชั่นที่ถ่ายหนังเรื่องนี้ เมย์ไม่ชอบเลย ไม่ชอบซักที่ๆ ไปถ่ายหนังด้วย เพราะบรรยากาศ ไม่ชอบโรงพยาบาล ก็ต้องไปถ่าย ฉากโกดังร้าง ฉากที่เก็บศพ ก็กลัว โชคดีตอนที่รู้เรื่องนั้นคือเราไปถ่ายมาเสร็จหมดแล้ว ” คำพูดของ เมย์ - พิชญ์นาฎ หลังจากทราบเรื่องเบื้องหลังการถ่ายทำจากสถานที่เกิดเหตุการณ์จริง

          ผู้กำกับฯ อ๊อฟ- มณฑล อารยางกูร ให้คำอธิบายแนวคิดที่จำเป็นต้องไปถ่ายทำสถานที่จริง “ ทีี่ตั้งใจไปถ่ายทำสถานที่จริง เพราะอยากให้คนดูได้ความรู้สึกตรงนั้นด้วย บรรยากาศที่จริงที่เซ็ทขึ้นไม่ได้ เราเป็นหนังผีที่ถ่ายทำกลางวันด้วยซ้ำ ไม่ใช่หนังผีกลางคืน หนังเราถ่ายกลางวัน เพราะเรามีคอนเซปต์ว่า ไม่จำเป็นต้องกลางคืน เพราะเหตุการณ์จริงก็เกิดขึ้นโดยไม่เลือกกลางวันหรือกลางคืนเหมือนกัน

          การถ่ายทำของเรา เราเลือกเอาคดีดังๆ มาประมาณ 5-6 คดี โดยไปขอคดีเก่าๆ ตำรวจมา แล้วเราก็มาก็อปปี้รูปคดี ถ่ายทำขึ้นมา แต่ไม่ได้ลงลึกในรายละเอียด ว่า ใครเป็นอย่างไรมาอย่างไร ชื่ออะไร ค่อนข้างเป็นงานที่ท้าทายความรู้สึกคนทำงาน เพราะบรรยากาศมันพาไป ”

          กับคำถามที่ว่า เท่าที่ถ่ายทำมา ทีมงานเจออะไรแปลกๆ บ้างหรือไม่ ? ผู้กำกับภาพยนตร์ “ ผีคนเป็น ” ให้คำตอบ ว่า ...

          “ มีแต่คิดไปเอง เพราะบรรยากาศมันให้นะ อย่างที่ๆ หนึ่งเราไปถ่ายฉากห้องเก็บศพ ไม่ใช่ที่เกิดเหตุ แต่เรารู้สึกทำไมวันนี้มันเหมือนมอนิเตอร์แปลกๆ ชอบกล ก็เหมือนกับคิดไปเอง แต่ยังไม่เจอ ถ้าเจอก็เผ่นแล้ว วันนั้นเหมือนมอนิเตอร์ ดูภาพจะล้มอยู่ตลอดเวลา แต่พอเช็คภาพก็ไม่มีอะไร แต่มันแค่ล้ม อาจจะสายไฟฟ้าก็ได้นะ วันนั้นพอเอามอนิเตอร์ออกมาห่างๆ มันก็ไม่มีอะไร ต้องบอกตัวเอง บอกกับทีมงานว่า ไม่มีอะไร ไม่มีอะไร อย่าคิดมาก...

          แต่ทุกครั้งที่ไปถ่ายทำ เราขอขมาก่อนทุกสถานที่เลย เวลาถ่ายทำทีมงานกองถ่ายเราจะเป็นคนดูที่ทางให้ว่า เราทำอะไรผิดหรือเปล่า ดูให้เรานิดหนึ่ง เพราะสถานที่ที่เราไปถ่าย เป็นที่ที่คนเขาพูดกันว่าแรง.. .”

3 โลเกชั่น สุดสยอง ของ “ ผีคนเป็น”

บ้านร้าง บางเลน

ประวัติ สถานที่เกิดเหตุฆาตกรรมจริงในอดีต เป็นบ้านไม้ 2 ชั้นของคนมีฐานะ คดีเกิดขึ้นเมื่อ 10 ปีก่อน เมื่อลูกสาวของเจ้าของบ้าน เกิดไปหลงรักอยู่กับแฟนหนุ่มซึ่งฐานะไม่ร่ำรวยนัก แต่หนุ่มคนนี้มีความขยันขันแข็ง ทำงานหาทุนส่งตัวเองเรียนต่อยังต่างประเทศ แต่ฝ่ายพ่อของผู้หญิงไม่ชอบว่าที่ลูกเขยคนนี้เท่าไหร่นัก เพราะอยากให้ลูกสาวแต่งงานกับผู้ชายที่ฐานะร่ำรวยกว่า แต่ไม่ว่าจะอ้อนวอนอย่างไรลูกสาวก็ไม่ยอมตัดใจจากแฟนหนุ่ม พ่อฝ่ายหญิงจึงออกอุบายเรียกให้แฟนหนุ่มของลูกสาวกลับมาเมืองไทย เมื่อฝ่ายชายกลับมาถึง พ่อของฝ่ายหญิงก็สั่งให้ลูกน้องยิงตายคาบ้าน และนำศพไปอำพรางคดีไว้บริเวณบ่อหน้าหลังบ้าน ที่เคยเป็นคดีเขย่าขวัญพาดหัวหนังสือพิมพ์หน้าหนึ่งหลายฉบับมาแล้ว ซึ่งคราบเลือดจากเหตุการณ์ครั้งนั้นกระเซ็นเลอะข้างฝาบ้านจวบจนทุกวันนี้ ต่อมาพ่อแม่ฝ่ายชายทราบเรื่อง จึงว่าจ้างมือปืนให้มาฆ่าพ่อของฝ่ายหญิงให้ตายตกตามกันไป บ้านหลังนี้จึงถูกปล่อยให้รกร้างตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และไม่มีใครกล่าวถึงฝ่ายหญิงว่าหายไปอยู่ที่ไหน แต่ยามดึกมักมีคนเห็นชายหนุ่มผมเปียกน้ำ มายืนรอแฟนสาวอยู่เสมอ ๆ จนกระทั่งมีผู้หญิงมาผูกคอตายที่นี่เป็นคดีรายล่าสุด

ฉาก จำลองคดีหญิงสาวผูกคอตาย โดยใช้เชือกผูกไว้บนขื่อในห้องเกิดเหตุจริง

เจอดี ระหว่างถ่ายทำ ทีมงานมองลอดจากช่องขึ้นไปจากบริเวณพื้นไม้ข้างบนชั้น 2 ตรงช่องหน้าต่างเห็นคนยืนอยู่บริเวณนั้น ทั้งที่บ้านหลังนี้ไม่มีบันไดหรือทางขึ้นชั้นสองเลย

เขาเล่าว่า ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น ยามค่ำคืนไม่มีใครกล้าผ่านบ้านหลังนี้โดยเด็ดขาด เนื่องจากว่าบางครั้งมีเสียงเขย่าขวัญดังมาจากบ้านหลังนี้บ้าง บางครั้งหน้าต่างก็เปิด-ปิดเอง บางครั้งก็มีผู้พบเจอวิญญาณซึ่งมีลักษณะเป็นผู้ชายผมเปียกน้ำยาวประบ่า เดินวนเวียนอยู่ในบ้าน

 

บ้านร้าง หนองจอก ( บ้านผีตายโหงหนองจอก )

ประวัติ สถานที่เกิดเหตุฆาตกรรมจริง อยู่ในหมู่บ้านร้างที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จ สภาพบ้านก่อสร้างไปได้ประมาณ 70 % เพราะตกเย็นหลังเลิกงาน คนงานก่อสร้างชาย มักตั้งวงกินเหล้ากันในบริเวณตัวบ้านหลังนี้ และด้วยฤทธิ์ของสุรา จึงเกิดเหตุทะเลาะวิวาทขึ้น และฆ่ากันตายในที่สุด หลังจากที่มีคดีฆ่ากันตาย คนงานก็เริ่มไม่กล้าทำงานกันต่อ เนื่องจากว่าตกดึกทีไร มักจะได้ยินเสียงคนทะเลาะวิวาทกันมาจากบ้านหลังนี้ประจำ และด้วยเสียงลือเสียงอ้างต่าง ๆ นานา ทำให้โครงการหมู่บ้านจัดสรรนี้ได้ยุติลง กลายเป็นหมู่บ้านร้างไป โดยพนักงานก่อสร้างกินเหล้า และฆ่ากันตายในบ้านหลังนั้นอีกครั้งเป็นซ้ำสอง ทุก ๆ คนจึงพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าบ้านหลังนี้เฮี้ยนสุดๆ ใครเข้าใกล้อาจจะถูกผีเข้า หมู่บ้านนี้จึงถูกปล่อยทิ้งร้างจวบจนทุกวันนี้ หลังจากนั้นมาอีกไม่กี่ปี ก็มีคนพบศพหญิงสาวมาผูกคอตายที่บ้านหลังนี้ โดยไม่มีใครทราบประวัติของผู้หญิงคนนี้มาก่อน ว่าทำไมเธอถึงได้เลือกบ้านหลังนี้เป็นที่จบชีวิต แต่ด้วยความเฮี้ยนที่คนบอกกันปากต่อปาก ใครที่กล้าแวะเข้าไปแถวนั้นก็จะได้ยินเสียงคนทะเลาะกัน ได้เห็นภาพคนทะเลาะกัน แทงกันตายต่อหน้าต่อตา เหมือนเป็นการฆ่าซ้ำๆ โชว์ให้คนดูต่อมาทุกยุคทุกสมัย ทำให้บริเวณนั้นยากที่จะมีใครกล้าย่างกรายเข้าไป นอกจากมิจฉาชีพ ที่อาศัยความกลัวของผู้คน ใช้บ้านหลังนั้นเป็นที่ทิ้งศพซึ่งถูกฆาตกรรมมาจากที่อื่นๆ โดยทางตำรวจได้พบศพชายหนุ่มถูกของแข็งทุบบริเวณศีรษะจนกระทั่งเสียชีวิต และนำศพมายัดไว้ใต้บันไดที่บ้านร้างแห่งนี้ ปัจจุบัน บ้านร้างหลังนี้จึงกลายเป็นสถานที่รำลือกันในอินเตอร์เน็ต เรียกขานกันในชื่อ บ้านผีตายโหง หนองจอก

ฉาก จำลองคดีแท็กซี่ลวงผู้หญิงมาฆ่าข่มขืน จากนั้นอำพรางศพฝังไว้ใต้บันได

เจอดี ระหว่างถ่ายทำบริเวณชั้นล่างสุดใต้บันไดของบ้าน มีลมพัดแรง ภายหลังทีมงานนำภาพมาตัดต่อ พบหน้าคนยื่นหน้าออกมาในเฟรมซ้อนกันมากกว่า 1 หน้า และได้เห็นว่ามีภาพสเก็ตหน้าผู้ชายที่มีลักษณะคล้ายๆ กับที่เห็นในเฟรมของภาพยนตร์ โดยได้ภาพจากทีมถ่ายทำเบื้องหลัง

เขาเล่าว่า เนื่องจากบ้านหลังนี้มักจะมีผู้ร่วมรายการจากรายการโทรทัศน์และวิทยุ มาพิสูจน์ความกล้ากับสิ่งเร้นรับ ณ สถานที่นี้บ่อย ๆ บางครั้งก็มีคนเห็นเป็นดวงไฟลอยอยู่บริเวณรอบ ๆ ห้องที่เกิดเหตุ หรือบางครั้งขณะนั่งร่วมรายการอยู่ก็รู้สึก ว่ามีคนมาเหยียบชายเสื้อบริเวณด้านหลัง

โรงพยาบาลร้าง บางเลน

ประวัติ สถานที่เกิดเหตุฆาตกรรมจริง เป็นโรงพยาบาลร้างที่ยังสร้างไม่เสร็จ สูง 4 ชั้น ลักลอบเปิดเป็นสถานที่รับทำแท้ง ภายหลังเกิดเหตุหญิงตั้งครรภ์ 7 เดือน โดนล่อลวงมาข่มขืนแล้วแทงตายคาที่ เมื่อญาตินำศพไปตั้งบำเพ็ญกุศลและสวดพระอภิธรรมที่วัดใกล้บ้าน คนที่มาร่วมงานพบว่าผู้หญิงคนนี้ตามมาที่วัดด้วย หลังจากนั้นที่นี่ก็ถูกปล่อยรกร้าง ไม่มีใครเข้ามาดูแล

ฉาก จำลองคดีเด็กนักเรียนหญิง โดนฆ่าข่มขืนบริเวณถ่ายทำชั้นล่าง ห้องใกล้บันได

เจอดี ก่อนเปิดกล้องทีมงานเดินทางมาสำรวจโลเกชั่นแห่งนี้ เพื่อมาถ่ายภาพยนตร์ได้ถ่ายภาพติดรูปคน ยืนอยู่บริเวณชั้นล่างสุดมา ทั้ง ๆ ที่ในขณะนั้นไม่มีคนอยู่ในโรงพยาบาลร้างแห่งนี้เลย และวันแรกที่ทีมงานและนักแสดงยกกองไปถ่ายกันที่โรงพยาบาลร้าง เป็นฉากเมย์โดนข่มขืน ขณะถ่ายกลางวัน เมย์เล่าให้ฟังว่ายังรู้สึกกลัว บรรยากาศบอกไม่ถูก ใจไม่ค่อยดี ทำสมาธิยาก

เขาเล่าว่า ชาวบ้านละแวกใกล้เคียง มักได้ยินเสียงผู้หญิงร้อง และพบเห็นผู้ชายเดินไป - มาอยู่ในโรงพยาบาลร้างแห่งนี้

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 

 

 

 

Everything you want to know about Thai film, Thai cinema
edited by Anchalee Chaiworaporn อัญชลี ชัยวรพร   designed by Nat  
COPYRIGHT 2004 http://www.thaicinema.org. All Rights Reserved. contact: ancha999 at gmail.com
By accessing and browsing the Site, you accept, without limitation or qualification, these copyrights.
If you do not agree to these copyrights, please do not use the Site.