สนับสนุนโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม Supported by Office of Contemporary Art And Culture ,Ministry Of Culture

หน้าแรก
ข่าว
วิจารณ์
สัมภาษณ์
บทความพิเศษ
รายงานหนังไทยในเทศกาลหนังต่างๆ
รายชื่อหนังสือและบทความเกี่ยวกับหนังไทย
รายชื่อ ที่อยู่ หน่วยงาน
 
รายชื่อหนังเก่า
 
 
 
 

   

ก้านกล้วย

   
 

 

กำหนดการเข้าฉาย 18 พฤษภาคม 2549

รูปแบบ ภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่น 3 มิติ

แนวภาพยนตร์ ดราม่า – คอเมดี้

จัดจำหน่ายโดย บริษัทสหมงคลฟิล์มอินเตอร์เนชั่นแนลจำกัด

บริษัทดำเนินงานสร้าง บริษัท กันตนาแอนนิเมชั่น จำกัด

กำกับภาพยนตร์ คมภิญญ์ เข็มกำเนิด

บทภาพยนตร์ คมภิญญ์ เข็มกำเนิด และ จรูญพร ปรปักษ์ประลัย

ดนตรีประกอบ ชาติชาย พงษ์ประภาพันธ์

ควบคุมงานสร้างแอนิเมชั่น ศิริพร เมฆอโนทัย และ ชญานิน เลี่ยวไพโรจน์

กำกับศิลป์ ทวีลาภ ศรีวุฒิวงศ์

 

 

เรื่องย่อ

 

วีรบุรุษผู้มี 4 ขา 2 งา และ 1 งวง ช้างศึกผู้สร้างเกียรติประวัติสูงสุดให้แก่ช้างไทย ในฐานะช้างคู่พระบารมีแห่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อครั้งสงครามยุทธหัตถี

ชื่อของเขาคือ “ เจ้าพระยาปราบหงสาวดี” หรืออีกนามหนึ่งว่า... “ ก้านกล้วย”

          นี่คือเรื่องราวการเติบโตของช้างเชือกหนึ่ง จากลูกช้างซุกซน ใช้ชีวิตอิสระอยู่ท่ามกลาง ป่าลึก แต่แล้ว ... ด้วยความอยากรู้เรื่องของพ่อที่หายไป ได้นำเขาออกเดินทาง สู่การผจญภัยครั้งยิ่งใหญ่ ผ่านหลากหลายเหตุการณ์ซึ่งให้บทเรียนใหม่ๆ เปลี่ยนให้เขากลายเป็นช้างที่กล้าแกร่ง เต็มไปด้วยพละ กำลัง ในขณะที่จิตใจกลับอ่อนโยน

          บรรดาตัวละครต่างๆ ที่เขาได้พบระหว่างการเดินทาง อาทิเช่น จิ๊ดริด – นกพิราบสื่อสาร ขี้โม้, ชบาแก้ว – ช้างสาวผู้น่ารักและแสนงอน, ติ่งรูและรถถัง – ช้างรุ่นพี่และรุ่นอาซึ่งเขา ได้พบในหมู่บ้าน, บุญเรือง – ช้างศึกแห่งเมืองหลวง และที่สำคัญ แสงดา - แม่ซึ่งเขาจากมา ล้วนเป็นส่วนที่เข้ามาเติม เต็ม สร้างสีสัน และความสนุกสนาน พร้อมกันนั้น ก็ให้บทเรียนต่างๆ ซึ่งเป็นเสมือนการเตรียมความ พร้อม ให้เขาก้าวสู่การเป็นช้างศึกเชือกสำคัญในประวัติศาสตร์

          นอกจากนี้ การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับมนุษย์ และการได้พบกับผู้คนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสมเด็จ พระนเรศวร - มหาราชผู้เกรียงไกรของชาติไทย, ลุงมะหูด - หัวหน้าครูฝึกช้าง, มังคุด - เด็กมนุษย์ ตัวน้อยผู้บริสุทธิ์สดใส และ ฯลฯ ยังทำให้ก้านกล้วยได้เรียนรู้ถึงมิตรภาพระหว่างคนและช้าง อันนำไป สู่การเสียสละตัวเอง โดยเดินหน้าเข้าสู่สงครามอย่างนักรบผู้กล้า เช่นเดียวกับที่พ่อของเขา เคยทำมา เมื่อครั้งอดีต

          สุดท้าย ขณะอยู่ท่ามกลางสมรภูมิรบ และต้องเผชิญหน้ากับศัตรูผู้น่าเกรงขาม เขาก็ได้รับ บทเรียนครั้งสำคัญที่สุด นั่นก็คือ การเอาชนะความกลัวในจิตใจตัวเอง

          เมื่อมีชัยเหนือตัวเอง ก็ไม่มีสิ่งใดในโลกที่จะทำให้เขาพรั่นพรึงได้อีกต่อไป และจุดนี้เองที่ทำให้ เขากลายเป็นช้างผู้ยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง

          แม้จุดหมายแรกคือการตามหาพ่อ แต่ในที่สุด ก้านกล้วยกลับได้พบสิ่งที่มีความหมาย ยิ่งกว่า นั่นก็คือ มิตรภาพ ความกล้าหาญ และความเสียสละ ซึ่งอยู่ในตัวเขาเอง เป็นจิตวิญญาณ ของพ่อที่อยู่ กับเขามายาวนาน และนี่คือบทสรุปที่ล้ำค่ายิ่ง สำหรับการเดินทางของเขาในครั้งนี้

 

คาแรกเตอร์

ก้านกล้วย - พลายภูเขาทอง - พระยาไชยานุภาพ - เจ้าพระยาปราบหงสาวดี

          ก้านกล้วยเป็นช้างรูปงาม มีหลังโค้งแปแบบก้านกล้วย อันเป็นที่มาของชื่อ “ ก้านกล้วย” สำหรับช้างแล้ว นี่ถือเป็นคชลักษณ์หรือลักษณะของช้างอันดียิ่ง จนพังนวลย่าของเขาทำนายว่า โตขึ้น เขาจะต้องเป็นช้างที่กล้าหาญเหมือนพ่อ ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่แม่ของเขาไม่ยินดีด้วยเลย เพราะกลัว ว่าถ้าเขาโตขึ้นและเป็นเหมือนพ่อจริงๆ นางจะต้องเสียเขาไป เหมือนที่เคยเสียพ่อของเขามาแล้ว ด้วยความกล้าหาญบวกกับคุณสมบัติที่ดีพร้อม ทำให้ “ ก้านกล้วย” ได้รับเลือกเป็น พระคชาธารของพระนเรศวร โดยมีชื่อใหม่ว่า “ พระยาไชยานุภาพ” เขานี่เองที่เป็นกำลังสำคัญในการทำยุทธหัตถีครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดระหว่างพระนเรศวรกับพระมหาอุปราชา อันนำมาซึ่งชัยชนะและความร่มเย็นแห่งกรุงศรีอยุธยา และความเก่งกล้าของก้านกล้วยทำให้เขาได้รับพระราชทานนามว่า “ เจ้าพระยาปราบหงสาวดี”

 

จิ๊ดริด

          นกพิราบ คู่หูตัวป่วนของก้านกล้วย เป็นนกช่างพูด ตลก ชอบโวยวาย และหลงตัวเอง เป็นที่สุด โดยตำแหน่งเขาเป็นพิราบสื่อสารแห่งกองทัพอยุธยา แต่ถึงแม้จะมีข้อเสียหลายๆ อย่าง เขาก็เป็นนกที่มีจิตใจดีงาม กล้าหาญ และรักความยุติธรรม เมื่อได้รู้จักกับการก้านกล้วยและเห็นแววของช้างตัวนี้ เขาก็ให้การสนุบสนุน ทุกวิถีทาง โดยทำตัวไม่ต่างจากพี่เลี้ยงที่คอยให้คำปรึกษาและให้กำลังใจก้านกล้วยเสมอมา

 

งวงแดง – พลายพัทกอ

          ช้างร่างยักษ์ ผู้มีงวงสีแดงและมีดวงตาอันดุดัน เขาคือขุนศึกแห่งหงสาวดี เคยผ่านศึก สงครามมาแล้วหลายครั้ง ด้วยความโหดเหี้ยม ไร้ความปราณี ทำให้เขาเป็นเหมือนเพชฌฆาตบน สมรภูมิรบ เพราะสิ่งที่อยู่ในใจช้างศึกผู้นี้ก็คือ เขาจะต้องเป็นช้างอันดับหนึ่งเสมอ และตลอดมา ก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ ไม่เคยมีช้างเชือกไหนขึ้นมาเทียบกับเขาได้ ทั้งในแง่ของพละกำลังและชั้นเชิงการต่อสู้ ช้างเชือกใดที่หาญมาต่อกรกับเขาจะต้องพ่ายแพ้อย่างหมดรูป เพราะเช่นนี้เอง แม้อายุ จะมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เขาก็ยังคงเชื่อมั่นว่าไม่เป็นรองใคร รวมทั้ง ก้านกล้วย ช้างศึกนำทัพแห่งกรุงศรีอยุธยาด้วย

 

แสงดา

          แม่ของก้านกล้วย นางเป็นผู้ที่ก้านกล้วยรักมากที่สุด เพราะตลอดมา ก้านกล้วยมีแต่แม่ ที่คอยให้ความรัก ความเอาใจใส่ และทะนุถนอมดูแล นางต้องเลี้ยงลูกตามลำพัง เนื่องจากพ่อของ ก้านกล้วยจากไปในสงคราม และไม่ได้กลับมาอีกเลย แสงดามีความรู้สึกไม่ดีต่อมนุษย์ เพราะ คิดว่ามนุษย์ชอบจับช้างป่าไปทำงาน โดยเฉพาะนำไปฝึกเป็นช้างรบแบบพ่อของก้านกล้วย ดังนั้น แสงดาจึงมักสอนลูก ให้เกลียดกลัวมนุษย์ และก้านกล้วยก็เชื่อตามที่แม่สอน แต่เมื่อเขาได้เข้าไป อยู่กับคน เขากลับพบสิ่งที่ตรงกันข้ามนั่นก็คือ จริงๆ แล้วมนุษย์กับช้างอยู่ร่วมกันด้วยความรักและความผูกพัน

 

พังนวล

          ย่าของก้านกล้วย ช้างพังสูงอายุ ผู้มีตำแหน่งเป็นช้างแม่ปรก หรือช้างผู้นำโขลงออกหา อาหาร เนื่องจากมีอายุมากกว่าช้างตัวอื่นๆ ใช้ชีวิตอยู่ในป่ามายาวนาน ทำให้รู้ดีว่าในแต่ละ ฤดูกาลควรนำโขลงไปทางใด จึงจะได้พบแหล่งอาหาร พังนวลเป็นผู้ตั้งชื่อให้กับก้านกล้วย โดยดูจากลักษณะของเขา ว่าเป็นช้างที่มี หลังโค้งสวยแบบแปก้านกล้วย ถูกต้องตามตำรา นางรักและภาคภูมิใจในก้านกล้วยมาก นอกจากนี้ยังมั่นใจด้วยว่าโตขึ้นเขาจะต้องกลายเป็นช้างที่ยิ่งใหญ่อย่างแน่นอน

 

ชบาแก้ว

          ช้างสาวผู้ร่าเริง น่ารัก และมีจิตใจอันดีงาม ชบาแก้วเป็นช้างที่เกิดในหมู่บ้าน เธอจึง คุ้นเคยกับการอยู่กับมนุษย์ และมีความรู้สึกที่ดีต่อพวกเขา เธอคอยช่วยงานมนุษย์เสมอ หน้าที่หลักของเธอคือการดูแลเด็กๆ ในหมู่บ้าน และเข้าไปเก็บผลหมาก รากไม้ในป่า ชบาแก้วเป็นช้างที่มี น้ำใจ เมื่อเห็นใครเดือดร้อน ก็จะเข้าไปช่วยเสมอ ด้วยนิสัยเช่นนี้เอง ทำให้เธอได้รู้จักกับก้านกล้วย และหลังจากที่ได้รู้จักกันและเติบโตมาด้วยกัน ความรักของทั้งคู่ก็งอกงามขึ้น ในขณะเดียวกัน ชบาแก้วก็ค่อยๆ สอนให้ก้านกล้วยไว้ใจมนุษย์ จนกระทั่งเขายอมพลีชีพต่อสู้เคียงคู่กับมนุษย์

 

ภูผา

          ช้างศึกผู้เกรียงไกรแห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นตำนานที่ยังคงได้รับการเล่าขานในฐานะวีรชน ผู้ยอมสละชีพในสงคราม เขาคือพ่อของก้านกล้วย แม้ก้านกล้วยจะไม่เคยพบพ่อ เพราะพ่อออก จากโขลงไปตั้งแต่ก่อนเขาเกิด แต่เขาก็มีภาพพ่อที่ชัดเจนอยู่ในใจ ทั้งความสง่า เด็ดเดี่ยว กล้าหาญ เสียสละ และจิตใจอันอ่อนโยน ซึ่งทั้งหมดเป็นแบบฉบับที่ก้านกล้วยก้าวเดินตาม

 

มะโรง

          ช้างหัวหน้าพวกเด็กเกเรในโขลง เป็นช้างรุ่นพี่ของก้านกล้วย มักอาศัยความที่โตกว่าและมี พวกมากรังแกก้านกล้วยอยู่เป็นประจำ แรกๆ ก้านกล้วยก็พยายามข่มใจ แต่พอมะโรงกับพวก แกล้งหนักเข้า โดยเฉพาะล้อเลียนเรื่องพ่อ ก้านกล้วยก็ทนต่อไปไม่ได้ เมื่อเจอช้างที่เอาจริงอย่าง ก้านกล้วย ก็ทำให้เห็นว่ามะโรงเก่งแต่ปาก นักเลงแต่ท่าทางท่าดีทีเหลว เป็นผู้ร้ายตลกๆ ไม่น่ากลัว อะไรเลย

 

พลายบุญเรือง – เจ้าพระยาปราบไตรจักร

           ช้างศึกผู้มีรูปลักษณ์ดีไม่แพ้ก้านกล้วย เป็นคู่แข่งที่สำคัญในการคัดเลือกเป็นพระคชาธาร แต่ในที่สุดทั้งคู่ก็ได้ตำแหน่งสำคัญ คือ ก้านกล้วยขึ้นระวางสะพัดชื่อพระยาไชยานุภาพ เป็นพระ คชาธารของพระนเรศวร ส่วนพลายบุญเรืองขึ้นระวางสะพัดชื่อพระยาปราบไตรจักร เป็นช้างทรง ของพระอนุชาคือพระเอกาทศรถ

 

สิงขร

          ช้างนำทัพในสงครามครั้งเสียกรุงฯ แม้การรบในครั้งนั้นไม่ได้ทำให้เขาบาดเจ็บ แต่เขาก็มี โรคร้ายติดตัวมายาวนาน ซึ่งเขาเชื่อว่าเป็นกรรมอันเกิดจากการที่ทำให้เพื่อนช้างต้องตายใน สงคราม ความสำคัญของสิงขรอยู่ตรงที่การเป็นผู้กุมความลับที่ก้านกล้วยอยากรู้มาตลอดชีวิต นั่นก็คือพ่อของเขาเป็นใคร

 

พระนเรศวรมหาราช

          พระมหากษัตริย์ผู้เป็นมหาราชแห่งชาติไทย ผู้ประกาศอิสรภาพให้แก่กรุงศรีอยุธยา นอกจากพระปรีชาสามารถทางการรบ และความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญของพระองค์แล้ว พระองค์ยัง ทรงเป็นผู้นำที่มีกลยุทธอันชาญฉลาด ในขณะเดียวกันก็ทรงมีพระทัยที่อ่อนโยน ทุกครั้งที่นำทัพ พระหัตถ์จะทรงพระแสงเข้าสู้กับข้าศึกด้วยพระองค์เองเสมอ

          วีรกรรมอันยิ่งใหญ่ที่ประวัติศาสตร์ต้องจารึกคือการทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา ที่หนองสาหร่าย สุพรรณบุรี เมื่อปีพุทธศักราช 2135 หลังจากชัยชนะในครั้งนี้ กรุงศรีอยุธยาก็ไม่ถูกพม่ารุกรานอีกเป็นเวลากว่าร้อยห้าสิบปี

 

พระมหาอุปราชา

          แม่ทัพใหญ่แห่งหงสาวดี ผู้ซึ่งในวัยเด็กเคยเติบโตมากับพระนเรศวร โดยฝ่ายหนึ่งเป็นลูก กษัตริย์ อีกฝ่ายหนึ่งเป็นลูกเชลย ดังนั้นแม้จะโตมาด้วยกัน แต่พระมหาอุปราชาก็มักดูหมิ่นดูแคลน พระนเรศวรเสมอ เมื่อเล่นกันแล้วแพ้ แทนที่จะยอมรับ กลับใช้คำพูดเหน็บแนมต่างๆนานา

การนำทัพจำนวนสองแสนมายังกรุงศรีอยุธยาในครั้งนี้ ก็เพื่อทรงพิสูจน์ให้พระเจ้านันท บุเรง ผู้ทรงเป็นพระบิดา ได้ทรงเห็นว่าพระองค์ทรงเหมาะสมที่จะขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์ ต่อไปได้ แต่การทำยุทธหัตถีกับพระนเรศวร กลับทำให้พระองค์ต้องสิ้นพระชนม์บนพระคชาธารกลางสนามรบ

 

ลุงทะเรียน- ควาญมะหูด

          ชายชราผู้เป็นหัวหน้าควาญช้าง และผู้ฝึกสอนช้างป่าประจำหมู่บ้าน มะหูดได้รับความ เคารพจากทุกคนในหมู่บ้าน ในฐานะผู้ที่รอบรู้เรื่องช้าง สามารถฝึกช้างที่ดุร้ายให้เชื่องได้ภายใน เจ็ดวัน และนอกจากวิชาฝึกช้างที่สืบทอดมาจากรุ่นปู่รุ่นพ่อแล้ว เขายังเป็นผู้เชี่ยวชาญทาง คาถาอาคม มีมนต์สะกดช้างที่ร่ำเรียนมาจากพราหมณ์ผู้เฒ่าอีกด้วย ทว่าหลักสำคัญที่เขาใช้ เวลาฝึกช้าง กลับไม่เกี่ยวกับเวทย์มนตร์คาถาใดๆ แต่เป็นเรื่องของการให้ความรัก การดูแล เอาใจใส่ และการใช้คำพูดที่นุ่มนวล ซึ่งทำให้ช้างเชื่อฟังได้ในที่สุด

 

เจ้ามังคุด

          เด็กน้อย หลานชายของลุงทุเรียน มนุษย์คนแรกที่เอาชนะใจก้านกล้วยได้ ด้วยความ บริสุทธิ์ ร่าเริง สดใส น่ารัก แม้ยังพูดเป็นคำไม่ได้ แต่เสียงอ้อแอ้ที่ออกมาจากปาก ก็แสดงถึงความ เป็นมิตรที่ให้กับก้านกล้วย จนในที่สุดก็สามารถเปลี่ยนเขาจากช้างป่าที่เกลียดชังมนุษย์ มาเป็นให้ ความรัก และความห่วงใยต่อมนุษย์ ถึงขนาดยอมไปรบเพื่อมนุษย์ได้

 

 

 

 

 

Everything you want to know about Thai film, Thai cinema
edited by Anchalee Chaiworaporn อัญชลี ชัยวรพร   designed by Nat  
COPYRIGHT 2004 http://www.thaicinema.org. All Rights Reserved. contact: ancha999 at gmail.com
By accessing and browsing the Site, you accept, without limitation or qualification, these copyrights.
If you do not agree to these copyrights, please do not use the Site.