สนับสนุนโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม Supported by Office of Contemporary Art And Culture ,Ministry Of Culture

หน้าแรก
ข่าว
วิจารณ์
สัมภาษณ์
บทความพิเศษ
รายงานหนังไทยในเทศกาลหนังต่างๆ
รายชื่อหนังสือและบทความเกี่ยวกับหนังไทย
รายชื่อ ที่อยู่ หน่วยงาน
 
รายชื่อหนังเก่า
 
 
 
 

   
ควันหลง 3 หนังไทยย่ำตระเวนเวนิส
  19 กันยายน 2554
  LINK : 3 หนังไทยไปเวนิสปีนี้    
  อภิชาติพงศ์ เป็นประธานกรรมการเทศกาลหนังเวนิสปีนี้  
  แบ่งปัน   Share this on Twitter   Print 
 

 

ภาพ : วรรจธนภูมิ ลายสุวรรณชัย

 

ขออภัยที่รายงานช้า พอดีรอรูปงานค่ะ   ดังที่ได้ทราบกันแล้วว่า ปีนี้มีหนังไทย 3 เรื่องที่ได้รับเชิญไปฉายและแข่งขันในสาย Orizonti ที่เทศกาลหนังเวนิส คือ Lung Neaw Visits His Neighbours  แต่เพียงผู้เดียว และ Passing Through the Night

Lung Neaw Visits His Neighbours ฉายก่อนเพื่อน ตั้งแต่ต้นเทศกาลคือวันที่ 3 กันยายน

 

 

 

คุณฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช เล่าว่าเขาสนใจในการเล่าเรื่องผ่านเวลา  ดูว่าแต่ละคนใช้ชีวิตในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ด้วยกันอย่างไร   งานของเขาส่วนใหญ่ก็จะออกมาในลักษณะนั้น เรื่องความสัมพันธ์ของคนกับเวลา กับการจัดการชีวิตของคนเหล่านั้นในช่วงหนึ่ง "งานของผมส่วนใหญ่มันก็เหมือนกับหนังเรื่องหนึ่ง แม้ว่าผมจะไม่เคยเปิดกล้องมาก่อน มันเป็นเรื่องธรรมดา ๆ ในชีวิต"

มีคนถามต่อว่าหนังมีความสัมพันธ์อย่างไรกับ ลุงบุญมีระลึกชาติ ฤกษ์ฤทธิ์ตอบว่า เราอยู่ในเมืองเดียวกัน (เชียงใหม่) อภิชาติพงศ์เป็นศิลปินที่อายุน้อยกว่า เรารู้จักกันมานานแล้วตั้งแต่อภิชาติพงศ์ยังเรียนอยู่ อภิชาติพงศ์เป็นศิลปินที่มีอิทธิพลในงานภาพยนตร์ค่อนข้างมาก  เขามักจะให้ความช่วยเหลือคนเสมอในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อย่างคนดูแลเสีัยงในหนังของเรา ก็ทำงานชิ้นหนึ่งให้เขาด้วย ถ้าเราต้องการความช่วยเหลืออะไร โทรหาเขา ก็มักจะได้คำตอบเสมอ

 

สำหรับลุงตัวจริงนั้น ฤกษ์ฤทธิ์บอกว่า รู้จักกันตั้งแต่ลุงมาทำงานก่อสร้างแถวบ้าน ลุงทำงานเหมือนคอยช่วยเหลือคนอื่น ช่วยเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ  ผมเฝ้ามองกิจวัตรประจำวันของเขา ฤกษ์ฤทธิ์เล่าต่อว่า ส่วนเรื่องจัดการไม่ให้นักแสดงรู้สึกว่ามีกล้องอยู่ตรงนั้น เขาบอกว่าปรกติคนเหล่านั้นก็จะสนใจในสิ่งอื่น ๆ รอบตัว เราก็แค่เฝ้าสังเกตุ เฝ้าตามเขา เขาจะทำให้เหมือนกับว่ากำลังเล่าเหตุการณ์หรือปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นต่อหน้ากล้อง ซึ่งเขาใช้เวลาถ่ายทำประมาณ 10 วัน ฟุตเทจประมาณ 9 ชั่วโมง "เราตัดส่วนที่ไม่จำเป็นออก ซึ่งพอเอาออกแล้ว มันก็เลยทำให้หนังดูเหมือนเรื่องแต่ง"

นี่คือสิ่งที่เขาได้เรียนรู้จากการทำหนังเรื่องนี้ ฤกษ์ฤทธิ์ตอบว่า เดิมทีนั้นเขาวางแผนที่จะถ่ายหนังเรื่องนี้ช่วงหน้าฝน แต่ด้วยความเป็นมือใหม่ ก็เลยลองไปทดสอบช่วงหน้าร้อนก่อน  ซึ่งพอทำแล้ว หนังส่วนใหญ่จะเอามาจากตรงนั้น เพราะเขาได้เรียนรู้อะไรมากมายจากการลองถ่ายในช่วงนั้น ซึ่งต่อมา

 

มันก็คือหนังทั้งหมด ก็เลยต้องมาคิดใหม่ มาศึกษาในรายละเอียดตรงนั้นดีกว่า พอคิดแบบนั้นแล้ว มันก็กลายเป็นเรื่องแต่ง "มันไม่มีอะไรในโลกที่เป็นจริง ไม่เป็นคำพูดจริง ๆ ทุกอย่างเป็นเรื่องแต่ง ซึ่งเป็นแนวที่ผมถนัด ผมเป็นคนชอบงานแนวโครงสร้าง เฝ้าสังเกตุการณ์ 8 ชั่วโมงได้อย่างสบายใจ"

หนังเรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การเมืองที่เกิดขึ้นในสองสามปีนั้น  ซึ่งผู้กำกับบอกว่าเขาคิดว่าการเล่าชีวิตของลุงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เรามีการเลือกตั้ง มีนายกคนใหม่ แต่ผมอยากให้แสดงว่า มันมี "สิ่งอื่น" ตรงนั้น เราต้องถ่ายทอดออกมา

สำหรับเรื่องการฉายหนังในเมืองไทยนั้น ผู้กำกับตอบว่าการมาเวนิสก็ทำให้หนังได้ฉายในเมืองไทยอยู่แล้ว ซึ่งมันอาจจะตลกที่ต้องให้คนอื่นยอมรับก่อนที่เราจะยอมรับตัวเอง "แต่สำหรับผมในฐานะศิลปิน ผมไม่จำเป็นต้องเข้าไปอยู่ในระบบตรงนั้น ผมแค่เอาหนังกลับบ้าน แล้วก็ฉายให้คนในหมู่บ้านดู ซึ่งผมสามารถทำได้ในหลาย ๆ ที่"

สำหรับงานแถลงข่าวของ "แต่เพียงผู้เดียว" และคงเดช ดูได้จากที่นี่ เป็นภาษาไทย

 

 

 

สำหรับหนังสั้น Passing through the night ก็จะถูกซักถามตั้งแต่ชื่อเรื่องมา ซึ่งวรรธนภูมิกล่าวว่า ชื่อนี้ตั้งขึ้นมาเนื่องจาก ไอเดียหลักของภาพยนตร์ที่เดินทางเข้าไปในจิตใต้สำนึกของแม่ในยามเวลาเธอหลับ เพราะในความรู้สึกส่วนตัวของเขา แม่มีอาการเจ็บป่วยในตอนกลางคืนเสมอ “ทำให้เราเกิดอาการนอนไม่หลับ จึงเป็นช่วงเวลาของวันที่รู้สึกทรมาณมาก ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นการเฝ้ามองช่วงเวลากลางคืนที่ความเจ็บปวดของแม่ส่งผลต่อเราเป็นตัวผลักดันหลัก 

หนัง Passing through the night มีการใช้ สิ่งของ ร่างกาย และผิวหนัง ในการดำเนินเรื่อง ซึ่งเริ่มจากความสนใจของเราต่อพื้นที่ในจิตใจของแม่มาก่อน ว่าจะมีลักษณะเป็นยังไง ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็อย่างที่บอกไป คือ เดินทางเข้าไปในจิตใต้สำนึก ซึ่งเราคิดว่าเป็นพื้นที่ที่ไม่มีเวลาประสบการณ์และความทรงจำต่างๆ มันลอยอยู่ เราจะพาคนดูเข้าไปในพื้นที่ต่างๆ เป็นการใช้ space โดยมีผิวหนังในส่วนต่างๆ ของร่างกายและสิ่งของเป็น visual

์ประกอบเป็นตัวแทนในการพูดถึงความรู้สึกเพื่อจะเล่าเรื่องราวในแต่ละห้วงความทรงจำ ซึ่งทั้งหมดอยู่ในรูปแบบของความเจ็บปวดที่ต่างกัน 

มีผู้ตั้งคำถามว่าหนังพูดถึงเรื่องแม่ แต่ทำไมไม่มีเรื่องของแม่ชัดเจนนัก วรรธนภูมิไขกระจ่างว่า “จุดเริ่มต้นและแกนหลักของมันมาจากเรื่องของแม่ เรื่องราวจริงๆที่เกิดขึ้นกับตัวเองก็เป็นเรื่องจริง เป็นเรื่องส่วนตัวมาก ๆ แต่ตอนเขียนบท เราเขียนในแบบที่ตัวเองถนัด คือ พูดถึงความรู้สึกกับประสบการณ์ต่างๆ ผ่านพื้นที่ในแต่ละห้วง ตอนตัดต่อเมื่อเปิดเรื่องแล้ว ก็ปล่อยให้เรื่องทำหน้าที่เชื่อมโยงกับคนดูเอง

 

 

การออกแบบเสียงเป็นจุดเด่นอีกเรื่อง ซึ่งวรรธนภูมิกล่าวว่า “เสียงในหนังเรื่องนี้มีความสำคัญมาก งานนี้มีคนออกแบบเสียง แต่เราจะคุยกันตลอดเรื่องไอเดีย ว่าภาพแบบนี้ เรารู้สึกยังไง และลองให้เขายื่นและลองทำเสียงที่พูดถึงความรู้สึกแบบนั้นขึ้นมา ว่าสามารถเป็นเสียงแบบไหนได้บ้าง เช่น เสียงที่ใช้มีความหนักทุ้มและเสียงที่แหลมสูงมากหรือบางช่วงเสียงมันแทบจะดับหรือไม่มีเลย ซึ่งเสียงจะพูดถึงเนื้อหาหรืออารมณ์ในแต่ละช่วงของหนัง

เหตุผลที่เราเลือกเล่าเรื่องนี้เพราะว่า มันเป็นสิ่งที่เราพบเจอมาตลอด มันเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยและมีอยู่ในมือ แต่น่าแปลกที่เราไม่เคยจะมานั่งพิจารณาเรื่องนี้อย่างละเอียดถี่ถ้วน ซึ่งตั้งแต่เริ่มโปรเจคจนจบ มันต้องผ่านกระบวนการในการหาข้อมูลหลายอย่าง ทำให้เราค่อยๆเรียนรู้ที่มาที่ไปของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง รู้เหตุผลและต้นตอ ตอนถ่ายทำพวกเขาเอนจอยกันมาก เหมือนเราได้สร้างโมเมนต์ใหม่ๆให้กับพวกเขา และหลังจากที่หนังเสร็จ พ่อแม่ก็แฮปปี้ดีกับการที่ได้ดูหนังที่เขาเล่นเอง ถึงแม้ว่าจะยังงงๆ กับผลที่ออกมา ก็เลยคิดว่าเรื่องหน้าก็อยากให้เขามาเป็นตัวละครหรือซับเจคให้เราถ่ายอีก


 

ภาพ : วรรจธนภูมิ ลายสุวรรณชัย

 

   

Everything you want to know about Thai film, Thai cinema
edited by Anchalee Chaiworaporn อัญชลี ชัยวรพร   designed by Nat  
COPYRIGHT 2004 http://www.thaicinema.org. All Rights Reserved. contact: ancha999 at gmail.com
By accessing and browsing the Site, you accept, without limitation or qualification, these copyrights.
If you do not agree to these copyrights, please do not use the Site.